การวางแผนโครงการด้วย PERT/CPM

           

            โครงการ (project) มีลักษณะแตกต่างจากงานประจำในแง่ของเวลาและการดำเนินการ โครงการจะประกอบด้วยกิจกรรมซึ่งมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งโครงการ คือ งานที่มีเวลาแล้วเสร็จ  แตกต่างกับงานประจำซึ่งไม่มีเวลาสิ้นสุดของการทำงาน การวางแผนโครงการก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับ      การวางแผนงานอื่นๆ คือ การกำหนดแนวทางปฏิบัติว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

            เช่นเดียวกับการวางแผนโดยทั่วไป การวางแผนโครงการก็มีขั้นตอนต่างๆ โดยเริ่มจากการกำหนด   เป้าหมาย ของโครงการ  ซึ่งประกอบด้วยทรัพยากรที่ต้องการ เวลาแล้วเสร็จของโครงการและผลลัพธ์ที่จะได้ การกำหนดและมอบหมายงานให้แก่ผู้มีส่วนร่วมในโครงการ การประมาณการเวลาที่ต้องใช้และทรัพยากรที่ต้องการในการทำกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ โดยอาศัย วิธีการพยากรณ์ การวางแผนการใช้เงินตลอดจนการควบคุมงบประมาณให้อยู่ภายในปริมาณที่กำหนด และประการสุดท้ายผู้บริหารโครงการจะต้องกำหนดนโยบายเพื่อการทำกิจกรรมว่า กิจกรรมจะมีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการมากที่สุดในแง่ของเวลาที่แล้วเสร็จของโครงการ และในกรณีที่ต้องเร่งโครงการให้เสร็จเร็วขึ้นกว่าที่วางแผนไว้ ผู้บริหารโครงการจะต้องกำหนดว่าควรจะใช้ทรัพยากรในกิจกรรมใดเพื่อเร่งรัดให้โครงการเสร็จเร็วขึ้นได้ตามที่ต้องการ นอกจากนี้        ผู้บริหารโครงการยังจะต้องกำหนดลำดับการทำงานก่อนหลังของกิจกรรมต่างๆ ในโครงการว่า จะต้องทำ      กิจกรรมใดก่อนหลังกันอย่างไร

            ในด้านของการควบคุมและติดตามผลของโครงการ ผู้บริหารโครงการจะต้องติดตามผลของโครงการ โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินการกับสิ่งที่ได้วางแผนไว้ สิ่งที่จำเป็นจะต้องควบคุมและติดตามผลคือ ค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรม ระยะเวลาของการทำกิจกรรม และผลงานที่ได้ การควบคุมโครงการจำเป็นต้องอาศัยการวางแผนอย่างละเอียดและถูกต้อง การกำหนดมาตรฐานเพื่อใช้ในการควบคุมอย่างรัดกุม และการมีข้อมูลและสารสนเทศอย่างเพียงพอ

            กล่าวโดยสรุปสำหรับผู้บริหารโครงการ สิ่งซึ่งจำเป็นจะต้องรู้เพื่อการวางแผนและควบคุมโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ

1.    ในโครงการมีกิจกรรมหรืองานย่อยอะไรบ้างที่จะต้องทำ แต่ละกิจกรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร กิจกรรมใดต้องทำก่อน กิจกรรมใดต้องทำหลังจากกิจกรรมใด และเวลาที่ต้องใช้ในการทำแต่ละกิจกรรมเป็นเท่าใด

2.      โครงการที่ทำมีเวลาแล้วเสร็จเป็นเท่าไร

3.    ในบรรดากิจกรรมต่างๆ มีกิจกรรมใดบ้างที่ถือว่าเป็นกิจกรรมวิกฤต (critical activity) ซึ่งหมายถึงกิจกรรมที่เมื่อเกิดล่าช้าไปกว่าที่กำหนด จะมีผลกระทบต่อเวลาแล้วเสร็จทั้งหมดของโครงการ

4.    ในบรรดากิจกรรมต่างๆ มีกิจกรรมใดบ้างที่เมื่อเกิดการล่าช้า จะไม่มีผลกระทบต่อเวลาแล้วเสร็จของโครงการ และกิจกรรมเหล่านี้อาจล่าช้าได้นานมากที่สุดเท่าใด จึงจะไม่มีผลต่อเวลาแล้วเสร็จของโครงการ

5.    ในกรณีที่ต้องการเร่งให้โครงการเสร็จเร็วขึ้นกว่าที่กำหนด จะต้องทำการเร่งรัดกิจกรรมใดบ้าง และจะทำอย่างไรจึงทำให้ต้นทุนการเร่งรัดกิจกรรมถูกที่สุด

 

การวิเคราะห์ข่ายงาน PERT/CPM

            การวิเคราะห์ข่ายงาน PERT/CPM มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิถีวิกฤตของโครงการ ขั้นตอนการวิเคราะห์ข่ายงานประกอบด้วย

            การแยกแยะงาน (job berakdown) เป็นขั้นตอนการแจกแจงของกิจกรรมต่างๆ ที่จำเป็นต้องทำในโครงการทั้งหมดว่า มีกิจกรรมอะไรบ้างที่ต้องทำ กิจกรรมต่างๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร กิจกรรมใดต้องทำก่อน กิจกรรมใดต้องทำหลัง

            การประมาณการเวลาของกิจกรรม (activity time estimation) เป็นการประมาณการเวลาที่ต้องใช้ทำแต่ละกิจกรรมโดยอาศัยผู้ชำนาญงานในแต่ละกิจกรรม สำหรับข่ายงาน CPM การประมาณการจะทำโดยประมาณการเพียงค่าเดียว โดยถือว่าค่านี้มีความเป็นไปได้มากที่สุด มีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดความคลาดเคลื่อน

            ในกรณีของ PERT การประมาณการเวลาแล้วเสร็จของกิจกรรมจะถือว่าเวลาการทำกิจกรรมมีลักษณะการแจกแจงแบบเบตา ดังแสดงในรูป  การประมาณการเวลาสำหรับกิจกรมจะต้องประมาณการ 3 จุด คือ a m  และ b โดยที่

 

 

 

 

 

 

 


            a          หมายถึงเวลาที่คาดว่าจะทำกิจกรรมแล้วเสร็จได้เร็วที่สุด (optimistic time)

            b          หมายถึงเวลาที่คาดว่าจะทำกิจกรรมแล้วเสร็จได้ช้าที่สุด (pessimistic time)

            m         หมายถึงเวลาที่เป็นไปได้มากที่สุดที่จะทำกิจกรรมแล้วเสร็จ (most pikely time)

            จากทฤษฎีของการแจกแจงแบบเบตา ทำการคำนวณหาค่าคาดหมายของเวลาแล้วเสร็จของกิจกรรมจากสูตร

จากนั้นจึงค่าคาดหมาย t แทนเวลาแล้วเสร็จของกิจกรรม เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข่ายงานต่อไป

 

            เนื่องจากเวลาแล้วเสร็จของกิจกรรมสำหรับข่ายงาน PERT มีการแจกแจงแบบเบตา ดังนั้นเวลาแล้วเสร็จของแต่ละกิจกรรมจึงมีค่าความแปรปรวนซึ่งคำนวณได้จากสูตร

ค่าความแปรปรวนนี้จะใช้เพื่อหาค่าความน่าจะเป็น ที่โครงการจะเสร็จภายในเวลาที่กำหนด

 

            เขียนข่ายงาน (draw network) เมื่อได้แยกแยะกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องทำตลอดจนความสัมพันธ์ของ กิจกรรมต่างๆ ในโครงการ และประมาณการเวลาในการทำกิจกรรมแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเขียนข่ายงานโดยอาศัยหลักการที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

            วิเคราะห์หาวิถีวิกฤต (critical path analysis) หลังจากเขียนข่ายงานเสร็จแล้วขั้นตอนสุดท้ายคือการหาวิถีวิกฤตของข่ายงาน จากวิถีวิกฤตนี้จะทำให้ทราบถึงเวลาแล้วเสร็จของโครงการว่าเป็นเท่าใด และกิจกรรมใดบ้างที่อยู่ในวิถีวิกฤต ซึ่งจะทำไปสู่การวางแผนตัดสินใจเพื่อควบคุมโครงการ หรือเร่งรัดโครงการต่อไป

 

พื้นฐานการวิเคราะห์ข่ายงาน

            ในการคำนวณหาวิถีวิกฤตจำเป็นต้องทราบถึงนิยามต่างๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ดังต่อไปนี้คือ

            เวลาเริ่มต้นเร็วที่สุด (earliest start, ES) หมายถึง เวลาเร็วที่สุดที่กิจกรรมจะสามารถเริ่มต้นทำได้

            เวลาแล้วเสร็จเร็วที่สุด (earliest finish, EF) หมายถึง เวลาเร็วที่สุดที่กิจกรรมสามารถทำเสร็จได้

            เวลาเริ่มต้นช้าที่สุด (Latest start, LS) หมายถึง เวลาช้าที่สุดที่กิจกรรมจะสามารถเริ่มต้นได้ โดยไม่ทำให้เวลาแล้วเสร็จของโครงการล่าช้าไปกว่าที่วางแผนไว้

                เวลาแล้วเสร็จช้าที่สุด (Latest finish, LF) หมายถึง เวลาช้าที่สุดที่กิจกรรมจะสามารถทำเสร็จได้ โดยไม่ทำให้เวลาแล้วเสร็จของโครงการล่าช้าไปกว่าที่วางแผนไว้ 

            เวลาลอยตัวอิสระ (free float, FF) หมายถึง เวลาที่กิจกรรมสามารถเลื่อนเวลาเริ่มต้นหรือทำล่าช้าออกไปจากที่กำหนด โดยไม่มีผลกระทบที่จะทำให้เวลาแล้วเสร็จของโครงการเสร็จล่าช้ากว่ากำหนด และไม่มีผลทำให้กำหนดเวลาเริ่มต้นของกิจกรรมอื่นที่ตามหลังต้องเลื่อนตามไปด้วย

            เวลาลอยตัวรวม (total float, TF)  หมายถึง เวลาที่กิจกรรมสามารถเลื่อนเวลาเริ่มต้นหรือทำล่าช้าออกไปจากที่กำหนด โดยไม่มีผลกระทบที่จะทำให้เวลาแล้วเสร็จของโครงการเสร็จล่าช้ากว่าที่กำหนด แต่อาจทำให้เวลาเริ่มต้นเร็วที่สุดของกิจกรรมที่ตามหลังเลื่อนตามไปด้วย

            วิถีวิกฤต (critical path)  เป็นวิถีที่ประกอบด้วยกิจกรรมที่มีเวลาลอยตัวเป็นศูนย์

            การคำนวณเวลาเริ่มต้นเร็วที่สุด (ES) และเวลาแล้วเสร็จเร็วที่สุด (EF) ทำโดยอาศัยหลักเกณฑ์สำคัญ 2 ประการ คือ

1.    เวลาแล้วเสร็จเร็วที่สุดของกิจกรรมมีค่าเท่ากับเวลาเริ่มต้นเร็วที่สุดของกิจกรรมบวกกับเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมนั้น ซึ่งสามารถเขียนเป็นความสัมพันธ์ คือ

EF = ES + t

เมื่อ t เป็นเวลาในการทำกิจกรรม

2.    สำหรับวงกลมที่มีกิจกรรมเข้าเพียงกิจกรรมเดียว ES ของกิจกรรมต่างๆ ที่ออกจากวงกลมนั้น จะมีค่าเท่ากับ EF ของกิจกรรมที่เข้าสู่วงกลม แต่ถ้ามีกิจกรรมหลายกิจกรรมเข้าที่วงกลม ES ของกิจกรรมที่ออกจากวงกลมมีค่าเท่ากับค่า EF ที่มากที่สุดของกิจกรรมที่เข้าวงกลม ดังแสดงในรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ตัวอย่างที่ 1        จงคำนวณเวลาเริ่มต้นเร็วที่สุด และเวลาแล้วเสร็จเร็วที่สุดของแต่ละกิจกรรมของข่ายงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 


วิธีทำ                สมมติให้เวลาเริ่มต้นเร็วที่สุดของกิจกรรมที่ไม่มีกิจกรรมใดนำหน้ามีค่าเป็น 0 ดังนั้นเวลา

เริ่มต้นเร็วที่สุดของกิจกรรม A และ B มีค่าเป็นศูนย์ จากหลักเกณฑ์ที่ได้กล่าวมาแล้ว

เวลาแล้วเสร็จเร็วที่สุดของกิจกรรม A และ  คำนวณได้ ดังนี้ คือ

                                    กิจกรรม  A  :  EF  =  0 + 8  =  8

                                    กิจกรรม  B  :  EF  =  0 + 4  =  4

            เวลาเริ่มต้นเร็วที่สุดของกิจกรรม C และ D มีค่าเท่ากับเวลาแล้วเสร็จเร็วที่สุดของกิจกรรม A ส่วนเวลาเริ่มต้นเร็วที่สุดของกิจกรรม E มีค่าเท่ากับเวลาแล้วเสร็จที่สุดของกิจกรรม B การคำนวณเวลาแล้วเสร็จเร็วที่สุดของกิจกรรม C, D และ E ก็ทำได้เช่นเดียวกับของกิจกรรม A และ B คือ

                                    กิจกรรม  C  :  ES  =  8;      EF  =  8 + 6  =  14

                                    กิจกรรม  D  :  ES  =  8;       EF  =  8 + 11  =  19

                                    กิจกรรม  E  :  ES  =  8;        EF  =  4 + 9  =  13 

            สำหรับกิจกรรมสุดท้าย F เวลาเริ่มต้นเร็วที่สุด คือ เวลาแล้วเสร็จเร็วที่สุดของกิจกรรม C และเวลาแล้วเสร็จเร็วที่สุดของกิจกรรม F ก็สามารถคำนวณได้คือ

                                    กิจกรรม  F  :  ES  =  14;      EF  =  14 + 3  =  17 

            กิจกรรมสุดท้าย คือ G เวลาเริ่มต้นเร็วที่สุดเลือกจากเวลาแล้วเสร็จเร็วที่สุดของกิจกรรม D, E และ F โดยเลือกค่าที่มากที่สุด คือของกิจกรรม D ดังนั้น

                                    กิจกรรม  G  :  ES  =  19;     EF  =  19 + 1  =  20

           

 

            สรุปเวลาเริ่มต้นและแล้วเสร็จเร็วที่สุดของแต่ละกิจกรรมเป็นดังนี้ คือ

กิจกรรม

เวลาที่ใช้ทำกิจกรรม

ES

EF

A

8

0

8

B

4

0

4

C

6

8

14

D

11

8

19

E

9

4

13

F

3

14

17

G

1

19

20

 

            สำหรับการคำนวณเวลาเริ่มต้นช้าที่สุด (LS) และเวลาแล้วเสร็จช้าที่สุด (LF) จะคำนวณย้อนกลับจากกิจกรรมสุดท้ายไปยังกิจกรรมแรก และทำได้โดยอาศัยหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ

1.    เวลาเริ่มต้นช้าที่สุดของกิจกรรมมีค่าเท่ากับเวลาแล้วเสร็จช้าที่สุดของกิจกรรม ลบด้วยเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมนั้น ซึ่งสามารถเขียนเป็นความสัมพันธ์ คือ

2.    สำหรับวงกลมที่มีกิจกรรมออกจากวงกลมเพียงกิจกรรมเดียว LF ของกิจกรรมที่เข้าสู่วงกลมมีค่าเท่ากับ LS ของกิจกรรมที่ออกจากวงกลมนั้น แต่ถ้ามีกิจกรรมออกจากวงกลมหลายกิจกรรม LF ของกิจกรรมที่เข้าวงกลมจะมีค่าเท่ากับ LS ที่น้อยที่สุดของกิจกรรมที่ออกจากวงกลม ดังแสดงในรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ตัวอย่างที่ 2        จงคำนวณเวลาเริ่มต้นช้าที่สุด (LS) และเวลาเริ่มต้นเร็วที่สุดของแต่ละกิจกรรมของข่ายงานใน

ตัวอย่างที่ 1

วิธีทำ                กำหนดให้เวลาแล้วเสร็จช้าที่สุด (LF) ของกิจกรรมสุดท้ายคือ G มีค่าเท่ากับเวลาแล้วเสร็จเร็วที่สุด (EF) ของกิจกรรม และการคำนวณหาเวลาเริ่มต้นเร็วที่สุด (LS) ของกิจกรรม G ทำได้โดยอาศัยสมการ ดังนั้น

                                    กิจกรรม  G  :  LF  =  EF  =  20;     LS  =  LF – t  =  20 – 1  =  19

                                    กิจกรรม  D, E และ F มีค่า LF เท่ากับค่า LS ของกิจกรรม G คือ 19 การคำนวณ LS

ของกิจกรรม D,E และ F  จะได้ผลลัพธ์คือ

กิจกรรม  D  :  LF  =  19;     LS  =  19 - 11  =  8

                                    กิจกรรม  E  :  LF  =  19;     LS  =  19 - 9  =  10

                                    กิจกรรม  F  :  LF  =  19;     LS  =  19 - 3  =  16

                        ในทำนองเดียวกัน ค่า LS และ LF ของกิจกรรม B และ C คำนวณได้ดังนี้คือ

                                    กิจกรรม  B  :  LF  =  10;     LS  =  10 - 4  =  6

                                    กิจกรรม  C  :  LF  =  16;     LS  =  16 - 6  =  10

 

                        สำหรับกิจกรรม A ค่า LF ของกิจกรรมเลือกจาก LS ของกิจกรรม C และ D โดยเลือกกิจกรรมที่มี LS น้อยที่สุด ในที่นี้คือของกิจกรรม D ซึ่งมีค่าเท่ากับ 8 และค่า LS คำนวณได้ดังแสดงคือ

                                    กิจกรรม  A  :  LF  =  8;     LS  =  8 - 8  =  0

 

            สรุปเวลาเริ่มต้นและแล้วเสร็จช้าที่สุดของกิจกรรมได้ดังนี้ คือ

กิจกรรม

เวลาที่ใช้ทำกิจกรรม

LF

LS

A

8

8

0

B

4

10

6

C

6

16

10

D

11

19

8

E

9

19

10

F

3

19

16

G

1

20

19


การวิเคราะห์หาวิถีวิกฤต

 

            ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าวิถีวิกฤตประกอบด้วยกิจกรรมที่มีค่าเวลาลอยตัวเป็นศูนย์ กิจกรรมที่อยู่ในวิถีวิกฤตคือ กิจกรรมวิกฤต กิจกรรมวิกฤตถ้าเกิดการล่าช้าจะมีผลกระทบต่อเวลาแล้วเสร็จของโครงการทั้งหมด กิจกรรมวิกฤตจึงต้องได้รับการควบคุมอย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเวลาการวิเคราะห์หาวิถีวิกฤตทำได้โดยการคำนวณหาเวลาลอยตัวรวม (TF) ซึ่งคำนวณได้จากสมการ

                        TF  =  LS – ES

            หรือ      TF  =  LF – EF

กิจกรรมใดที่มีค่าเวลาลอยตัวรวมเป็นศูนย์ ก็คือกิจกรรมในวิถีวิกฤต

            นอกจากนี้การวิเคราะห์ข่ายงานยังต้องการรู้ถึงเวลาลอยตัวอิสระของแต่ละกิจกรรม ซึ่งคำนวณได้จากสมการ คือ

                        FF  =  ES ของกิจกรรมถัดไป – EF ของกิจกรรมที่พิจารณาอยู่

ตัวอย่างที่ 4        จงวิเคราะห์หาวิถีวิกฤตของข่ายงานในตัวอย่างที่ 1 และคำนวณหาเวลาลอยตัว

อิสระของแต่ละกิจกรรม อธิบายความหมายของเวลาลอยตัวอิสระและเวลาลอยตัวรวม โดยยกตัวอย่างประกอบ

วิธีทำ                จากตัวอย่างที่ 2 และ 3 สามารถคำนวณหาเวลาลอยตัวรวม (TF) และเวลาลอย

ตัวอิสระ (EF) ได้ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

กิจกรรม

เวลาในการทำกิจกรรม

ES

EF

LS

LF

กิจกรรม     ถัดไป

ES ของ        กิจกรรมถัดไป

FF

TF

A

8

0

8

0

8

C,D

8

0

0

B

4

0

4

6

10

E

4

0

6

C

6

8

14

10

16

F

14

0

2

D

11

8

19

8

19

G

19

0

0

E

9

4

13

10

19

G

19

6

6

F

3

14

17

16

19

G

19

2

2

G

1

19

20

19

20

 

20

0

0

 

            ดังนั้นวิถีวิกฤตประกอบด้วยกิจกรรม A, D และ G ดังแสดงในรูป

 

            ดังนั้นสรุปได้ว่าโครงการตามข่ายงานต้องใช้เวลาในการทำโครงการทั้งสิ้นรวม 20 หน่วยเวลา โดยมีกิจกรรมวิกฤตคือ A, D และ G

 

 

 

 

 

 

 

 

 


            เวลาลอยตัวอิสระหมายถึง เวลาที่กิจกรรมสามารถล่าช้าได้โดยไม่ทำให้กิจกรรมอื่นที่ตามมาต้องเลื่อนตามไปด้วย และเวลาแล้วเสร็จของโครงการก็ไม่ล่าช้าออกไป ส่วนเวลาลอยตัวรวมหมายถึง เวลาที่กิจกรรมสามารถล่าช้าได้โดยไม่มีผลกระทบต่อเวลาแล้วเสร็จของโครงการ แต่อาจมีผลทำให้กิจกรรมที่ตามมาต้องเลื่อนตามออกไป ตัวอย่างเช่น กิจกรรม B มี FF = 0 หมายความว่าถ้ากิจกรรม B เลื่อนช้าออกไปแม้แต่ 1 หน่วย ก็จะทำให้กิจกรรมที่ตามมาคือ E ต้องเริ่มต้นล่าช้าตามไปด้วย แต่กิจกรรม B มี TF = 6 หมายความว่า กิจกรรม B อาจล่าช้าไปได้อีก 6 หน่วยเวลา โดยไม่ทำให้เวลาแล้วเสร็จของโครงการล่าช้าออกไปเลย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างที่ 5        โครงการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ท้องตลาด มีกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องทำดัง

แสดงในตารางต่อไปนี้ จงเขียนข่ายงาน PERT/CPM และวิเคราะห์หาเวลาที่ต้องใช้ในการทำโครงการและกิจกรรมที่เป็นกิจกรรมวิกฤตของโครงการ

รหัส    กิจกรรม

รายละเอียด

กิจกรรมที่ต้องทำก่อน

เวลาในการทำกิจกรรม (สัปดาห์)

A

จัดองค์การเพื่อการขาย

-

6

B

ว่าจ้างพนักงานขาย

A

4

C

ฝึกอบรมพนักงานขาย

B

4

D

เลือกตัวแทนโฆษณา

A

2

E

วางแผนโฆษณา

D

2

F

ทำการโฆษณา

E

10

G

ออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์

-

2

H

ติดตั้งเครื่องบรรจุผลิตภัณฑ์

G

10

I

บรรจุผลิตภัณฑ์ที่มีในสต็อก

H, J

6

J

สั่งผลิตภัณฑ์จากบริษัทผู้ผลิต

-

13

K

เลือกตัวแทนจำหน่าย

A

9

L

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้ตัวแทนจำหน่าย

C, K

3

M

ขนส่งผลิตภัณฑ์ให้ตัวแทนจำหน่าย

I, L

5

 


วิธีทำ                ข่ายงานของโครงการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ท้องตลาดแสดงอยู่ในรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


            การวิเคราะห์วิถีวิกฤตของข่ายงานดังแสดงอยู่ในตารางต่อไปนี้ ซึ่งเป็นการคำนวณเพื่อหาวิถีวิกฤตของโครงการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ท้องตลาด

 

กิจกรรม

เวลาในการทำกิจกรรม

ES

EF

LS

LE

กิจกรรม     ถัดไป

ES ของ        กิจกรรมถัดไป

FF

TF

A

6

0

6

0

6

B, D, K

6

0

0

B

4

6

10

6

10

C

10

0

0

C

7

10

17

10

17

L

17

0

0

D

2

6

8

9

11

E

8

0

3

E

4

8

12

11

15

F

12

0

3

F

10

12

22

15

25

-

25

3

3

G

2

0

2

2

4

H

2

0

2

H

10

2

12

4

14

I

13

1

2

I

6

13

19

14

20

M

20

1

1

J

13

0

13

1

14

I

13

0

1

K

9

6

15

8

17

L

17

2

2

L

3

17

20

17

20

M

20

0

0

M

5

20

25

20

25

-

25

0

0

                จากตารางข้างต้น จะได้ว่าวิถีวิกฤตประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ  คือ A, B, C, L และ M โดยมีเวลาแล้วเสร็จของโครงการ 25 สัปดาห์

 

การเร่งรัดกิจกรรม

            การประมาณการเวลาแล้วเสร็จของกิจกรรม โดยทั่วไปจะประมาณการโดยพิจารณาถึงทรัพยากรที่ใช้ในการทำกิจกรรมซึ่งประกอบด้วยแรงงาน และเงินทุน ในกรณีที่ต้องการเร่งรัดโครงการให้เสร็จเร็วขึ้นกว่าที่คาดหมายก็สามารถทำได้โดยการระดมทรัพยากรเพิ่มขึ้น การเร่งรัดโครงการให้เสร็จเร็วขึ้น อาจทำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการทำโครงการล่าช้ากว่าที่กำหนด เช่น ถูกปรับ หรือเพื่อประโยชน์ในการลดค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินการ ถ้าสามารถเร่งโครงการให้เสร็จเร็วขึ้นกว่าที่กำหนด ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนเพื่อการดำเนินการกิจกรรมมีความสัมพันธ์กับเวลาแล้วเสร็จของกิจกรรม ดังแสดงในรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 


            จากรูปจะเห็นได้ว่าถ้าต้องการเร่งรัดกิจกรรมให้เสร็จเร็วขึ้นกว่าปกติจะต้องเพิ่มต้นทุนการดำเนินกิจกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและต้นทุนของการดำเนินกิจกรรมนี้อาจมีลักษณะเชิงเส้น คือเมื่อยิ่งเร่งรัดเวลามากขึ้นเท่าใด ต้นทุนการเร่งรัดกิจกรรมก็จะสูงขึ้นมาก ในการบริหารโครงการ ผู้บริหารโครงการอาจเลือกตัดสินใจเร่งรัดกิจกรรมในโครงการเพื่อเร่งรัดโครงการให้เสร็จเร็วขึ้น เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพว่าจะเลือกเร่งรัดกิจกรรมใด ผู้บริหารจะต้องมีข้อมูลในด้านต่อไปนี้ คือ

1.      ความสัมพันธ์ของเวลาแล้วเสร็จ และต้นทุนของการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรม

2.      กิจกรรมใดบ้างที่เป็นกิจกรรมวิกฤต

การเร่งรัดกิจกรรมเพื่อทำให้เวลาแล้วเสร็จของโครงการเสร็จเร็วขึ้น จะต้องทำกับกิจกรรมที่อยู่ในวิกฤต หรือเร่งรัดกิจกรรมวิกฤตเท่านั้น ทั้งนี้เพราะการเร่งรัดกิจกรรมที่ไม่ใช่กิจกรรมวิกฤตจะไม่มีผลทำให้เวลาแล้วเสร็จของโครงการเสร็จเร็วขึ้นแต่อย่างใด และการเลือกเร่งรัดกิจกรรมวิกฤตก็จะต้องเลือกเร่งรัดกิจกรรมที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเร่งรัดต่ำที่สุดก่อน นอกจากนี้การเร่งรัดกิจกรรมเพื่อทำให้โครงการแล้วเสร็จเร็วขึ้น ก็ควรทำเฉพาะเท่าที่ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการเร่งรัดโครงการ มีค่าสูงกว่าต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อการเร่งรัดกิจกรรม ผลประโยชน์จากการเร่งรัดโครงการให้เสร็จเร็วขึ้น อาจอยู่ในลักษณะของเงินชดเชยหรือรางวัลที่ได้ ถ้าสามารถทำให้โครงการเสร็จเร็วกว่ากำหนด หรือการที่ไม่ต้องเสียค่าปรับเนื่องจากสามารถเร่งรัดโครงการให้แล้วเสร็จตามกำหนด  หรือการลดค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินการโครงการเนื่องจากโครงการเสร็จเร็วขึ้น เป็นต้น ดังรูป แสดงความสัมพันธ์ของต้นทุนการดำเนินการ ต้นทุนการเร่งรัดโครงการ และต้นทุนรวม ของการเร่งรัดกิจกรรมในโครงการ

ขั้นตอนในการเร่งรัดกิจกรรมเพื่อทำให้โครงการเสร็จเร็วขึ้น ประกอบด้วย

1.      รวบรวมข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างเวลาแล้วเสร็จ และต้นทุนของการดำเนินกิจกรรมของทุกกิจกรรมในโครงการ

2.      วิเคราะห์หาวิถีวิกฤต

3.      เร่งรัดกิจกรรมวิกฤต โดยเลือกเร่งรัดกิจกรรมที่มีต้นทุนการเร่งรัดงานต่ำที่สุดก่อน การเร่งรัดให้ทำทีละหน่วยเวลา และทำการเร่งรัดจนกว่าจะได้เวลาแล้วเสร็จของโครงการตามที่ต้องการ หรือจนกว่าต้นทุนการเร่งรัดกิจกรรมจะมีค่าสูงกว่าผลประโยชน์ที่ได้จากการเร่งรัดโครงการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ตัวอย่างที่ 7        จากข่ายงานในรูป และความสัมพันธ์ของต้นทุนและเวลาแล้วเสร็จของการดำเนินกิจกรรม

ดังแสดงในตาราง จงหาว่าควรเร่งรัดโครงการให้เสร็จในเวลากี่วันจึงจะดีที่สุด ถ้าการดำเนินโครงการต้องเสียค่าใช้จ่ายวันละ 1,150 บาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                                                      

กิจกรรม

เวลาแล้วเสร็จปกติ

เวลาแล้วเสร็จเร็วที่สุด

ต้นทุนเร่งรัด/วัน

A

6

6

-

B

10

8

500 บาท

C

5

4

300 บาท

D

4

1

700 บาท

E

9

7

600 บาท

F

2

1

800 บาท

 

วิธีทำ                ขั้นตอนการแก้ปัญหาทำได้ดังต่อไปนี้คือ

1.      วิเคราะห์หาวิถีวิกฤตของข่ายงาน ดังวิธีที่ได้กล่าวมาแล้วและตัวอย่างการแก้ปัญหา ในตัวอย่างที่ 5 และ 6 จะได้ว่าวิถีวิกฤตของข่ายงานประกอบด้วยกิจกรรม C, D, E และ F โดยมีเวลาแล้วเสร็จของโครงการเท่ากับ 20 วัน

 

 

 

 

 

2.      พิจารณากิจกรรมวิกฤต โดยนำกิจกรรมวิกฤตมาจัดลำดับตามต้นทุนการเร่งรัดกิจกรรม

กิจกรรม

ต้นทุนการเร่งรัด/วัน

จำนวนวันที่เร่งรัดได้

C

300 บาท

1

E

600 บาท

2

D

700 บาท

3

F

800 บาท

1

 

3.      เริ่มต้นทำการเร่งรัดกิจกรรมโดยเลือกกิจกรรมที่มีต้นทุนเร่งรัดต่ำสุด คือ กิจกรรม C เป็นอันดับแรก จะต้องเสียต้นทุน 300 บาท ทำให้โครงการเสร็จเร็วขึ้น 1 วัน ต้นทุนที่จ่ายไปมีค่าน้อยกว่าค่าดำเนินการโครงการที่จะประหยัดได้ ดังนั้นเร่งรัดกิจกรรม C ให้เสร็จภายใน 4 วัน เวลาแล้วเสร็จของโครงการจะเป็น 19 วัน

4.      วิเคราะห์หาวิถีวิกฤตของข่ายงานหลังจากเร่งรัดงาน C แล้ว พบว่าวิถีวิกฤตยังคงเป็นวิถีเดิม คือ C-D-E-F ดังนั้นเลือกเร่งรัดกิจกรรมที่มีต้นทุนการเร่งรัดกิจกรรมต่ำสุดถัดไปคือ กิจกรรม E ซึ่งมีต้นทุนการเร่งรัดกิจกรรม 600 บาท

5.      วิเคราะห์หาวิถีวิกฤตของข่ายงานหลังการเร่งรัดกิจกรรม E ลง 1 วัน (เหลือ 8 วัน) จะได้ว่าวิถีวิกฤตจะมี 2 วิถี คือ C-D-E-F และ A-B-F ซึ่งเมื่อนำกิจกรรมมาจัดเรียงตามลำดับ ต้นทุนการเร่งรัดกิจกรรมจะได้ ดังแสดงต่อไปนี้

วิถีวิกฤต

กิจกรรม

ต้นทุนเร่งรัด/วัน

จำนวนวันที่เร่งรัดได้

A-B-F

A

-

เร่งรัดไม่ได้

 

B

500 บาท

2

 

F

800 บาท

1

C-D-E-F

C

-

เร่งรัดไม่ได้อีกแล้ว

 

E

600 บาท

1

 

D

700 บาท

3

 

F

800 บาท

1

            จากการพิจารณาจะเห็นว่ากิจกรรม F เป็นกิจกรรมร่วมของวิถีวิกฤตทั้งสอง ดังนั้นการเร่งรัดกิจกรรมนี้ให้เสร็จเร็วขึ้นจะทำให้โครงการเสร็จเร็วขึ้นได้และต้นทุนการเร่งรัดกิจกรรมเป็น 800 บาท นอกจากนี้อาจเลือกเร่งรัดกิจกรรม B และ E ซึ่งจะทำให้เวลาแล้วเสร็จของโครงการเสร็จเร็วขึ้น 1 วันเช่นเดียวกัน แต่ต้นทุนการเร่งรัดกิจกรรมจะสูงกว่าคือ เท่ากับ 1,100 บาท (500+600) ดังนั้นจึงเลือกเร่งรัดกิจกรรม F ก่อน

6.      พิจารณาข่ายงานหลังการเร่งรัดกิจกรรม F จะได้ว่าวิถีวิกฤตยังคงมี 2 วิถี คือ A-B-F และ C-D-E-F และกิจกรรมที่สามารถเร่งรัดได้คือ B และ E โดยมีผลรวมของต้นทุนเร่งรัดต่ำกว่าค่าดำเนินการโครงการที่จะประหยัดได้ จึงเร่งรัดกิจกรรม B และ E กิจกรรมละ 1 วัน

7.      จากการพิจารณาข่ายงานหลังการเร่งรัดกิจกรรม B และ E พบว่า วิถีวิกฤตยังคงเป็น A-B-F และ C-D-E-F และการเร่งรัดโครงการให้เสร็จเร็วขึ้นอาจทำได้อีก 1 วัน โดยการเร่งรัดกิจกรรม B และ D แต่ผลรวมของต้นทุนการเร่งรัดงานเท่ากับ 1,200 บาท (500+700) ซึ่งมีค่ามากกว่าค่าดำเนินการโครงการที่ประหยัดได้ ดังนั้นจึงไม่เร่งรัดงานต่อไป โดยให้โครงการเสร็จในเวลา 16 วัน

ผลสรุปของการเร่งรัดกิจกรรมแสดงดังต่อไปนี้คือ

วิถี

เวลาแล้วเสร็จของโครงการหลังการการเร่งรัดกิจกรรม N วัน

N =0

1

2

3

4

C-D-E-F

20

19

18

17

16

A-B-F

18

18

18

17

16

กิจกรรมที่เร่งรัด

 

C

E

F

B, E

ต้นทุนเร่งรัดกิจกรรม (บาท)

 

300

600

800

1,100