<%@LANGUAGE="VBSCRIPT" CODEPAGE="874"%> การวิจัยดำเนินการ [ Operation Research ]
บทนำ
CPM/PERT
เกม
กำหนดการเชิงเส้น
ดูอัล
สินค้าคงเหลือ
ระบบแถวคอย
ปัญหาการขนส่ง
เมทริกซ์
 

Course Introduction
Course Syllabus
Lesson
Course Map
Webboard
E-mail
Course Team
 




                       เรื่องที่ 2.2 กิจกรรมวิกฤตและกิจกรรมไม่วิกฤต
           
             กิจกรรมวิกฤต เป็นกิจกรรมที่มีการกำหนดเวลาเริ่มต้นเร็วสุด ( ES : Earliest Start time) ซึ่งมีค่าเท่ากับเวลาเริ่มต้น
ช้าที่สุด ( LS : Latest Start ) 
             กิจกรรมที่ไม่วิกฤต นั้นไม่จำเป็นต้องกำหนดเวลาเริ่มต้นเร็วที่สุดเท่ากับเวลาเริ่มต้นช้าที่สุด (LS : Latest Start)
             ก่อนอื่นควรรู้จักเวลาต่าง ๆ ของกิจกรรมเพิ่มเติม คือ
             ก.   เวลาที่เสร็จเร็วที่สุด (EF : Earliest Finish) เป็นการกำหนดวันที่งานแต่ละงานจะไม่สามารถทำเสร็จได้เร็วที่สุด
โดย0 ต้องเริ่มงานตามกำหนดเริ่มต้นเร็วที่สุด 
             ข.   ผลต่างระหว่างเวลาที่เสร็จช้ากับเวลาเสร็จเร็วที่สุด (TF : Total Float) เป็นจำนวนวันทั้งหมดที่งานนั้น ๆ จะ
สามารถเลื่อนไปทำได้ช้ากว่ากำหนดเวลา ES เดิมของต้นได้โดยจะไม่ทำให้งานทั้งโครงการต้องเสร็จช้ากว่ากำหนด แต่อาจทำ
ให้กำหนด ES ของงานที่ต่อเนื่องเลื่อนตามไปด้วย
             ค.   ผลต่างระหว่างจำนวนวันของกิจกรรมที่ตามมากับเวลาเสร็จเร็วที่สุด  (FF : Free Float)  เป็นจำนวนวันที่
ที่สามารถเลื่อนช้าไปกว่ากำหนดโดยไม่ทำให้งานทั้งโครงการต้องเสร็จช้ากว่ากำหนด และไม่ทำให้กำหนด (ES) ของงาน
ที่ต่อเนื่องถัดไปต้องเลื่อนตามไปด้วย
              ดังนั้นกิจกรรมวิกฤตเป็นกิจกรรมที่ค่า ES = LS หรือ EF = LF
นอกจากนี้ขั้นตอนในการทำงานเมื่อเขียนโครงข่ายแล้วคือ
1. กำหนดเวลาเริ่มและเวลาเสร็จให้กำงาน
2. คำนวณเวลาเป็นตัวเลข เรียก day number และเปลี่ยนเป็นวันที่ เดือน และพ.ศ. ดังนี้ งานทุกงานมีจุดเริ่มต้น ES ที่จุดศูนย์ เช่น
จะเห็นว่า ประกอบฮาร์ดดิสก์ และ โครงของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีค่าเวลาเริ่มต้นที่เร็วที่สุด ES เท่ากับศูนย์ กำหนดงานที่ทำเสร็จเร็วที่สุด EF จากรูป การประกอบฮาร์ดดิสก์ ต้องใช้เวลา 6 วัน ดังนั้นวันที่ฮาร์ดดิสก์จะเสร็จเร็วที่สุด EF คือ 6 วัน และเขียน เป็นตารางดังนี้ งาน ES EF
ประกอบฮาร์ดดิสก์ 0 6
ติดต้องฮาร์ดดิสก์ 6 8
โครงของเครื่องคอมพิวเตอร์ 0 4 กำหนดเวลาของงานให้เสร็จภายในกำหนด (LF)
จากรูปถ้าต้องการให้เริ่มติดตั้งฮาร์ดดิสก์ (งาน 2 ไปยัง งาน 3) อย่างช้าไม่เกินวันที่ 6 ดังนั้นงานประกอบฮาร์ดดิสก์ (งาน 0 ไปยังงาน 2) ต้องเสร็จช้าภายใน 6 วันและงานโครงของเครื่องคอมพิวเตอร์ (งาน 0 ไปยังงาน 1 ) ต้องเสร็จช้าภายใน 8 วันและเขียนเป็นตารางดังนี้ งาน ES EF LS LF
ประกอบฮาร์ดดิสก์ 0 6 0 6
ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ 6 8 6 8
โครงเครื่องคอมพิวเตอร์ 0 4 2 6
ตัวอย่าง 2.4 กำหนดให้โครงข่ายต่อไปนี้ประกอบด้วยกิจกรรม A, B , C, D, E , F ,G ,H ,I ,J ,K ,L และเวลาที่ใช้ ในการทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ดังนั้น
                จงคำนวณหา LS , LF , TF , FF , ES , EF และกิจกรรมวิกฤต
วิธีทำ      ในที่นี้ให้ ti เป็นเวลาที่ใช้ในการทำแต่ละกิจกรรมหน่วยเป็นวัน 
                 EF = เวลาจากงาน 1 งาน 2   งาน 7  งาน 8    งาน 9 = 19
กิจกรรม  L
LFL = 19
LSL = LFL – tL = 19-4 =15
กิจกรรม I
LFI = 15
LSI = 15-4 = 11
กิจกรรม G
LFG = 15
LSG = 15-7 = 8
กิจกรรม K
LFK = 15
LSK = 15-3 = 12
กิจกรรม F
LFF = 0
LSF = 0
กิจกรรม D
LFD = 11
LSD = 11-3 = 8
กิจกรรม E
LFE = 11
LSE = 11-4 = 7
กิจกรรม H
LFH = 12
LSH = 12-6 = 6
นำมาเขียนเป็นตารางได้ดังนี้
             พบว่ากิจกรรม C, K ,และ L เป็นกิจกรรมวิกฤต
เรื่องที่