ประวัติอินเตอร์เน็ต (Internet Evoluation)

Introduction

          ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการไหลของสารสนเทศ จากแหล่งหนึ่งไปแหล่งหนึ่ง ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงเกิดเป็นเครือข่ายที่เป็นนามธรรมอื่นๆ ตามมาอีกเป็นจำนวนมาก เช่น เครือข่ายโรงเรียน (SchoolNet) เครือข่ายมหาวิทยาลัย (Thai UniNet) เครือข่ายงานวิจัย เช่น เครือข่ายฟิสิกส์พลังงานสูง (High-Energy Physics Networks) ในยุโรป เครือข่ายธนาคาร (Bank Net) และอื่นๆ อีกมากมาย เครือข่ายสารสนเทศเหล่านั้น บางเครือข่ายก็อาศัยอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะของตน มีรูปแบบการถ่ายเทข้อมูล (Protocol) ของตัวเอง เช่น เครือข่ายของธนาคาร แต่เครือข่ายส่วนมากอาศัยอยู่บน เครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะ อย่างเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น เครือข่ายวิทยุบนอินเตอร์เน็ต (RadioNet) หรือ เครือข่ายมหาวิทยาลัย เป็นต้น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตตามนิยามแล้ว ก็คือเครือข่ายของเครือข่าย (Inter-Networks --> Internet) ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Networks) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า LAN หลายๆ เครือข่ายมาต่อกัน จนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเตอร์เน็ตประสบความสำเร็จได้ เพราะความเป็นระบบเปิดของโปรโตคอลสื่อสารอย่าง TCP/IP ทำให้มีโปรแกรมประยุกต์ให้ใช้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web
           อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว (Global Network) ที่รวมผู้ใช้กว่า 60 ล้านคน เพื่อประกอบกิจกรรมหลากหลายตั้งแต่ การพูดคุย การสื่อสารข้อมูล การแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ การค้าขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกล ฯลฯ เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้นไม่มีใครเคยคาดคิดว่ามันจะกลายมาเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน จนถึงขนาดที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในศตวรรษหน้า กล่าวคือเมื่อ 20 ปีก่อน กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้มีมติด่วนให้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่าARPANET จุดมุ่งหมายคือให้เป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อถือได้สูง สามารถที่จะทำงานได้แม้ภายหลังที่อเมริกาถูกถล่มโดยอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมเครือข่าย ต้องมีความสามารถที่จะทำงานกับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เหลือจากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์ เช่น หากโครงข่ายโทรศัพท์ และ เคเบิลถูกทำลายในบางพื้นที่ เครือข่ายจะยังคงทำงานได้โดยการสลับมาใช้โครงข่ายอื่น เช่น โครงข่ายดาวเทียม หรือวิทยุ เป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภท และต่างรุ่นที่มีอยู่ทั่วไปตามฐานทัพต่าง ๆ ในครั้งนั้นการพัฒนาเครือข่าย ARPANET ได้กระทำร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหม กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ เช่นองค์การ NASA ทำให้ ARPANET เริ่มเติบโตโดยเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นสำหรับการศึกษาและการวิจัย ถึงแม้จะเริ่มมีการพัฒนาเครือข่ายอื่น ๆ เช่น DECNET และ BITNET ขึ้นมาเป็นคู่แข่ง แต่เพราะข้อดีของ ARPANET ที่เป็นระบบเปิดที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP ทำให้ไม่จำกัดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือ โครงข่ายเชื่อม (Physical Links) แบบใดแบบหนึ่ง ทำให้มันเอาชนะคู่แข่งและกลายมาเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายอื่น ๆ ที่เข้ากันไม่ได้ ให้สามารถคุยกันรู้เรื่อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ ARPANET ถูกพัฒนามาเป็นเครือข่ายของเครือข่าย หรือ อินเตอร์เน็ต (internet) ในที่สุด ข้อดีของการที่เป็นระบบเปิด คือ สามารถใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อได้หลายแบบทั้ง ไมโครเวพ ดาวเทียม โทรศัพท์ เคเบิล ใยแก้วนำแสง หรือแม้แต่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ และสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบใดก็ได้ รวมทั้งยังบริหารง่ายคือ ผู้ใช้ออกค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของตน ทำให้อินเตอร์เน็ตขยายตัวง่ายในขณะที่ความซับซ้อนของงานไม่เพิ่มขึ้นเท่าไรนัก ความง่ายในการขยายเครือข่ายและการใช้งาน ได้ทำให้อินเตอร์เน็ตเริ่มได้รับความนิยมนอกประเทศสหรัฐอเมริกา จนกลายมาเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลก

ระบบเครือข่าย Arpanet

ที่มาของ Arpanet

            ในทศวรรษ 1950 ผลจากการส่งดาวเทียม สปุตนิค (Sputik) ของรัสเซีย ทำให้สหรัฐอเมริกาตื่นตัวในการแข่งขันด้านอวกาศ โดยมีการทุ่มงบประมาณด้านอวกาศให้กระทรวงกลาโหม ภายใต้หน่วยงาน Advanced Research Projects Agency (ARPA)

            ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 โครงการอวกาศของสหรัฐอเมริกาแยกตัวออกจากกระทรวงกลาโหมออกไปตั้งเป็น NASA แต่หน่วยงาน ARPA ก็ยังคงอยู่ โดยที่งบประมาณของ ARPA (ทั้งงบประมาณทั่วๆ ไป และงบประมาณเพื่อการทหาร โดยเฉพาะที่ถูกผู้บริหารโครงการคอมพิวเตอร์แอบแปรรูปมาใช้ในการวิจัยคอมพิวเตอร์) ถูกทุ่มไปในการสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ โดยไม่ได้มีข้อกำหนดว่า ต้องเกี่ยวข้องกับกิจการทหารหรือไม่

             ในราวกลางทศวรรษที่1960 (ประมาณต้นทศวรรษ พ.ศ.2500) เป็นช่วงที่สงครามเย็นระหว่างมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา และ อดีตสหภาพโซเวียดรัสเซียกำลังที่จะร้อนแรงขนาดนั้น กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกามีความต้องการศูนย์สั่งการการบัญชาซึ่งต้องการระบบสื่อสารอีเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทนทานและอยู่รอดได้ภายหลังจากการถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ระบบที่ใช้อยู่ไนเครือข่ายโทรศัพท์ธรรมดานั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้เพราะง่ายต่อการถูกโจมตี และการสูญเสียสายโทรศัพท์ หรือชุมสายโทรศัพท์เพียงส่วนน้อย สามารถทำให้การสื่อสารถูกตัดขาดโดยทันที สถาบันเพื่อการวิจัยชั้นสูง ARPA (Advanced Research Projects Agency) ชื่งเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมฯจึงได้รัรบมอบหมายให้ทำการคึกษาในเรื่องนี้

              ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 ARPA ได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลซึ่งในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อว่า แพ็กเก็ต สวิทชิ่ง (Package Switching)

              อีกไม่กี่ปีต่อมา คือราว ค.ศ. 1967 เป็นจุดเริ่มต้นของเครือข่าย ARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเชื่อมโยงศูนย์คอมพิวเตอร์ต่างๆ ประมาณ 20 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกาที่ทำวิจัยให้ ARPA

              ใน ค.ศ. 1969 รัฐสภาของสหรัฐได้เค้าการแปลงรูปงบประมาณทางทหารมาเป็นโครงการคอมพิวเตอร์ จึงได้ออกกฏหมายบังคับให้ ARPA ต้องแสดงว่า โครงการทั้งหลายที่จะของบประมาณเป็นโครงการเพื่อกิจการทหารโดยตรง และเปลี่ยนชื่อ ARPA เป็น DARPA (Defense Advanced Research Projects Agency)

              อย่างไรก็ตาม เครือข่าย ARPAnet ยังคงอยู่ตามยุทธศาสตร์การตั้งรับเพื่อเตรียมตัวในกรณีที่เกิดสงครามขึ้นในดินแดนสหรัฐอเมริกาเอง โดยทำหน้าที่เป็นเครือข่ายทดลอง สำหรับการออกแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางทหารระดับชาติที่สามารถทนทานการถูกทำลายบางส่วนได้ แม้ข้าศึกจะใช้ระเบิดปรมาณู คุณสักษณะนี้เกิดจากการไม่มีจุดศูนย์กลาง แต่ให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่เป็นโหนด (node) ในระบบรับ เก็บ และส่งต่อข่าวสารกันเป็นช่วงๆ ไปจนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง ดังนั้น หากบางส่วนของเครือข่ายถูกทำลาย ส่วนที่เหลือก็ยังคงทำงานกันต่อไปได้โดยผ่านทางโหนด อื่นไปยังปลายทาง คุณสมบัตินี้เองทำให้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีความต้านทานสูงต่อการควบคุมหรือการปิดกั้นข่าวสารที่เรียกว่า เซ็นเซอร์ เพราะหากการเชื่อมโยง (link) ช่วงหนึ่งถูกปิดกัน ข่าวสารก็จะถูกส่งผ่านการเชื่อมโยงเส้นอื่นที่ไม่ถูกปิดกั้น ดังนั้น การเซ็นเซอร์ข่าวสารในประเทศหนึ่งๆ จึงมักนิยมทำกันที่ gateway สำหรับออกนอกประเทศ เนื่องจากเป็นจุดที่ข่าวสารทั้งหมดทีจะเข้าหรือออกต้องผ่าน สำหรับประเทศไทยนั้นเนื่องจากมีหลาย gateway การเซ็นเซอร์โดยผู้ควบคุม gateway ใน gateway หนึ่งจึงไม่มีผลในทางปฏิบัติมากนัก คุณสักษณะดังกล่าวนี้เป็นผลจากการเชื่อมโยงข้อมูลกันด้วย Internet Protocol (IP)

การทำงานของหน่วยงาน ARPA

              ARPA เป็นหน่วยงานที่ไม่มีนักวิจัยทำงานเลย แต่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานนโยบายและความรวมมือจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศเข้าด้วยกัน ด้ายการตั้งหัวข้อหรือแนวทางการวิจัยที่การทรวงกลาโหมต้องการ แล้วจึงมอบหมายในลักษณะของทุนการวิจัยให้แก่นักวิจัยทั่วประเทศ เป้นความสำเร็จของ ARPA เพราะได้มีการนำแนวความคิดในเรื่อง Packet Switching ซึ่งนำเสนอโดย Paul Baran แห่งบริษัท RAND Coporationไปศึกษาและได้ข้อสรุปอกกมาเป็นระบบเครือข่ายที่ประกอบด้วยระบบเครือข่ายย่อยและโฮสด์คอมพิวเตอร์(ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นระบบอินเตอร์เนตที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน)

ส่วนประกอบของเครือข่าย ARPA

              ระบบเครือข่ายย่อยประกอบด้วยเครื่องมินิคอมพิวเตอร์(minicomputers) จำนวนหนึ่งเรียกว่า IMPs(interface Message Processors)เชื่อมต่อกันด้วยสายสื่อสารข้อมูล แต่ละ IMP จะถูกกำหนด ให้มีสายสื่อสารกับIMP อื่นอย่างน้อย 2 แห่ง เพื่อผลในด้านการอ่อนตัว และความคงทนต่อการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารในเครือข่ายย่อยทั้งหมดจะติดต่อกันโดยใช้ Datagram ในกรณีที่IMPหรือสายบางส่วนขัดข้อง(หรือถูกทำลายในยามสงคราม) ดาต้าแกรมที่ค้างอยู่ในระบบจะสามารถหาทางเลือกอื่นที่เหลือ อยู่ในทางเดินมายังจุดหมายได้โดยอัตโนมัติ

การทำงานของระบบ ARPA

              แต่ละโหนดหรือจุดเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายประกอบด้วย IMP และโฮสต์ที่เชื่อมต่อถึงกัน(และอยู่ในสถานที่เดียวกัน)โฮสต์สามารถส่งข้อมูลได่มากถึง 8063 บิตต่อหนึ่งข้อความไปยังIMP ซึ่งก็จะแบ่งแยกข้อความนั้นออกเป็นแพ็กเก็ตทั้งขนาด 1008 บิต(จำนวน 8 แพ็กเก็ตต่อ 1 ข้อความ)แพ็กเก็ตจะถูกส่งไปยัง IMP อื่นครั้งละตัวก่อนที่จะถูกส่งไปเรื่อยๆ ไปจนพบจุดหมายโดยอิสระ การทำงานในลักษณะนี้ทำให้กลายเป็นระบบเครือข่ายรับ-แล้ว-ส่งต่อข้อความโดยใช้เทคนิคแพ็กเก็ตสวิตชิ่ง (Store-and-forward packet-switching network) แบบแรกที่เกิดขึ้น และเป็นที่รู้จักกันในนาม ARPANET

อุปกรณ์ที่ใช้เป็น IMP

              หลังจากที่ได้ทำการวิจัยเรียบร้อยแล้วARPAได้คัดเลือกบริษัท BBN (Cambridge, Massachusetts) เพื่อทำการสร้างระบบพร้อมทั้งโปรแกรมขึ้นมาใช้งาน ในราวเดือนธันวาคม ค.ศ.1968บริษัทได้เลือกเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ DDP-316 ของบริษัท Honeywell ซึ่งใช้หน่วยความจำหลักขนาด 12 กิโลไบต์ เป็นIMP ที่ไม่มีหน่วยบันทึกข้อมูลแบบจานแม่เหล็กอยู่เลย เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีส่วนเคลื่อนไหวในยุคนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ไววางใจไม่ได้ IMP ทั้งหมดเชื่อมต่อกันด้วยสายโทรศัพท์เช่า (leased lines) ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูล 56 กิโลบิตต่อวินาที

การควบคุมการทำงานระบบ ARPA

                             

               ทางด้านโปรแกรมควบคุมการทำงาน ได้ถูกแบ่งออกเป็น2ส่วน คือ ส่วนระบบเครือข่ายย่อย และส่วนของโฮสต์ โปรแกรมเครือข่ายย่อยประกอบด้วยโพรโตคอลของ IMP ในส่วนเชื่อมต่อระหว่างIMPกับโฮสต์ โพรโตคอลระหว่างIMP ด้วยกัน และโพรโตคอลระหว่าง IMP ผู้ส่งข้อมูลกับIMP ของผู้ใช้ข้อมูล ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย รายละเอียดโครงสร้าง ARPANET แสดงไว้ในรูปนี้

               ภายนอกระบบเครือข่ายย่อยยังประกอบด้วยโพรโตคอลสำหรับเครื่องโฮลต์ ในส่วนเชื่อมต่อระหว่าง IMP กับโฮสต์ โพรโตคอลระหว่างโฮสต์กับโฮสต์ และโพรโตคอลประยุกต์ บริษัทBBN มีความเข้าใจว่างานของตนเองสิ้นสุดลงเมื่อข้อความที่ส่งมานั้นได้มาถึงสายสื่อสารที่เชื่อมต่อระหว่าง IMP ของผู้รับข้อมูลกับโฮสต์เท่านั้น

               เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น Larry Roberts ซึ่งทำงานให้กับ ARPA ได้จัดการประชุมโดยได้เชิญนักวิจัยซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทมาร่วมประชุมที่เมื่อง Snowbird มลรัฐ Utah ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อฤดูร้อนปี ค.ศ. 1969 ผลจากการแก้ปัญหานั้นทำให้เกิดโหนดขึ้น 4 แห่ง คือ ที่ UCLA ,UCSB ,SRI และ University of Utah ต่อมาเครือข่าย ARPANET ได้ขยายออกไปอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียง 3ปี ดังแสดงไว้ในรูป

      

 

             ในระยะเวลาต่อมาได้มีการปรับปรุงขึ้นหลายประการ ได้แก่ การใช้จอเทอมินัลเชื่อมต่อกับ IMP โดยตรงซึ่งเรียกว่า TIP (Terninal Interface Processor) โดยที่ไม่ต้องติดต่อผ่านโฮสต์ การอนุญาตให้มีโฮสต์ หลายเครื่องเชื่อมต่อกับ IMP เพียงเครื่องเดียว การอนุญาติให้โฮสต์เชื่อมต่อกับ IMP ได้หลายเครื่อง และการเชื่อมต่อระหว่าง IMP กับโฮสต์ที่อยู่ไกลออกไป เป็นต้น

              ARPA ยังคงสนับสนุนการเติบโตของระบบ ด้วยการให้ทุนการวิจัยในการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้งาน เช่น การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม และการใช้เครือข่ายโทรศัพท์ติดตามตัว ตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้งานได้แก่ การที่นักวิจัยได้ทดสอบใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งติดต่อไวในรถบรรทุกที่กำลังเดินทางอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียประเทศสหรัฐอเมริกาติดต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ติดตามตัวไปที่ SRI ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของประเทศ เชื่อมต่อเข้ากับ ARPANET ไปที่ฝั่งตะวันออก แล้วติดต่อผ่านดาวเทียมไปที่ University College เมืองLondon ประเทศอังกฤษ

              การทดลองนี้แม้ว่าจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่ก็ได้แสดงให้เห็นว่า โพรโตคอลที่ใช้อยู่บน ARPANET นั้นไม่เหมาะกับการติดต่อผ่านระบบเครือข่ายย่อยหลายๆแบบ ข้อสังเกตนี้ได้นำไปสู่การค้นคว้าเพื่อหาโพรโตคอลใหม่ที่เหมาะสมมาทดแทนแบบเดิม ผลที่ได้คือการคิดค้นรูปแบบ TCP/IP และโพรโตคอลที่ใช้การคิดค้นรูปแบบใหม่นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะขจัดปัญหาเกี่ยวกับการติดต่อระบบเครือข่ายที่แตกต่างกัน ซึ่งเครือข่าย ARPANET ซึ่งกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและประกอบไปด้วยระบบเครือข่ายย่อยหลายชนิด

              ARPA ได้พยายามที่จะให้รูปแบบ TCP/IP และโพรโตคอลเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปจึงได้เพิ่มทุนวิจัยให้กับบริษัท BBN และ University of Califonia at Berkeley ในการวิจัยเพื่อบรรจุรูปแบบ TCP/IP เข้ากับระะบบปฏิบัติการ UNIX แล้วแจกจ่ายให้กับทุกคนโดยไม่คิดมูลค่า นักวิจัยที่ Berkeley ได้พัฒนาซ็อคเก็ต (socket) คือ โปรแกรมอำนวยความสะดวกในการติดต่อกับเครือข่ายและโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ มากมาย เพื่อทำให้การใช้ระบบเครือข่ายง่ายขึ้น

              ช่วงเวลาดังกล่าวนับว่ามีความเหมาะสมเป็นที่สุด สถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและหลายแห่งทั่วโลกกำลังดำเนินการติดตั้งเครื่องมินิคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณขึ้นมามากมายแต่ไม่มีโปรแกรมสำหรับเครือข่ายที่เหมาะสม โพรโตคอล TCP/IP รวมทั้งซ็อกเก็ตและโปรแกรมอำนวยความสะดวกต่างๆ จึงถูกนำไปใช้ทั้งหมด ยิ่งกว่านั้น รูปแบบ TCP/IP ยังทำให้การติดต่อระหว่างเครือข่ายเฉพาะบริเวณและ ARPANET เป็นไปด้วยความสะดวกอย่างยิ่ง

วิวัฒนาการ Internet

               ราวปี ค.ศ. 1983 ระบบเครือข่าย ARPANET ได้ดำเนินมาถึงจุดที่สมบูรณ์และประสบความสำเร็จด้วยจำนวน IMP มากกว่า 200 เครื่อง และโฮสต์อีกจำนวนหลายร้อยเครื่อง ดังนั้น ARPA จึงได้โอนความรับผิดชอบให้กับองค์การโทรคมนาคมแห่งชาติ (DCA, Defense Communication Agency) เพื่อให้บริหารในลักษณะพลเรือน องค์การ DCA จึงได้จัดระเบียบภายในระบบเครือข่ายเสียใหม่ด้วยการแยก IMP จำนวน 160 เครื่องออกมาเป็นระบบเครือข่ายย่อยพิเศษเรียกว่า MILNET ซึ่งเป็นเครือข่ายสำหรับกิจการของทหารโดยเฉพาะ และส่วนที่เหลือเป็นเครือข่าย สำหรับกิจการพลเรือนทั่วไป

                ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1980-1990 ได้เกิดระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณขึ้นมามากมายซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับ ARPANET ทำให้การค้นหาที่อยู่ของระบบเครือข่ายย่อยเป็นไปด้วยความยากลำบากยิ่งขึ้น ดังนั้นการนำระบบ DNS(Domain Naming System) จึงได้เกิดขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหานี้ด้วยการจัดเก็บชื่อ ที่อยู่ รวมทั้งหมายเลข IP ของระบบเครือข่ายย่อยไว้ในระบบฐานข้อมูลหลายแห่ง ทำให้การค้นหาง่ายขึ้น

                ในปี ค.ศ. 1990 เครือข่าย ARPANET ก็ได้เดินทางมาถึงจุดหมายปลายทาง คือ การถูกแทนที่ด้วยระบบเครือข่ายใหม่คือ ระบบอินเตอร์เน็ต(the Internet) ยกเว้นในส่วน MILNET ที่ยังคงได้รับการรักษาไว้ใช้ในกิจการทหารต่อไป แม้ว่าระบบ ARPANET จะได้ถูกยุบเลิกไปแล้วก็ตามแต่ประวัติศาสตร์ก็ได้จารึกเอาไว้ว่าระบบนี้เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

                ประเทศไทยได้ติดต่อกับอินเทอรืเน็ตในลักษณะการใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 สถาบันที่ติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในลักษณะดังกล่าวคือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่(psu)และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที(AIT)การติดต่ออินเทอร์เน็ตของทั้ง2สถาบันเป็นการใช้บริการจดหมายอีเล็กทรอนิกส์โดยความรวมมือกับประเทศออสเตรเลียตามโครงการIDPซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงเครือข่ายด้วยสายโทรศัพท์ จนปี พ.ศ.2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ได้ยื่นขอที่อยู่อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเตอร์เน็ต sritrang.psu.ac.th นับเป็นที่อยู่อินเตอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย

                ปีพ.ศ.2535 นับเป็นปีที่อินเตอร์เน็ตเข้ามาในประเทศไทยอย่างเต็มตัว กล่าวคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายและได้เช่าสาย” Leased Line ” ซึ่งเป็นสายความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต โดยเชื่อมต่อกับเครือข่าย UUNET ของบริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในมลรัฐเวอร์จิเนียประเทศสหรัฐอเมริกา ในการเชื่อมต่อระยะแรกใช้ความเร็ว 9600 bps (bit per second)ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขยายเครือข่ายโดยตั้งชื่อว่า”จุฬาเน็ต” (Chula Net) และปรับปรุงความเร็วของสายลีสไลน์เป็น64 kbps และ128 kbpsตามลำดับ ในปีเดียวกันได้มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผ่าน ChulaNet) สถาบันนี้เหล่านี้คือ สถาบันเอไอที(AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล(MU) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(CMU) สถาบันเทศดนดลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(KMITL)และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ(AU)โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า(THAInet) ในปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษาเพียง4แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตผ่านNECTEC(Nationnal Electronic and Computer Technology Center)เป็นเครือข่ายที่มี gateway หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย

                ปี พ.ศ. 2535 เป็นปีเริมต้นของการจัดกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและการวิจัย โดยมีชื่อว่า NWG(NECTEC E-mail Working Group) โดยหน่วยงานของรัฐที่มีชื่อว่า “ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ”หรือ “NECTEC”สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยนั้น กลุ่มNWGได้จัดตั้งเครือข่าย ThaiSarn (Thai Social /scientific Academic and Research Network) มีจุดประสงค์ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยและองค์กรสำคัญ ในประเทสไทยเข้าด้วยกัน โดยจะมีเนคเทคเป็นศูนย์กลางการดำเนินงาน เพื่อการติดต่อสื่อเพื่อการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยวิธีอีเมลล์ สมาชิกสถาบันการศึกษาในกลุ่ม NWGในสมัยนั้นได้แก่ จุฬาลงมหาวิทยาลัย (CU) สถาบัน(AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(TU) สถาบันพัฒนาบริหารศาสตร์(NIDA) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(KU )มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(CMU )มหาวิทยาลัยลงขลานครินทร์ (PSU)

                ในตอนเริ่มแรกของการพัฒนาระบบเครือข่ายของไทยสาร เป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยอุปกรณ์เชื่อมต่อชนิดที่เรียกว่า โมเด็ม โดยเชื่อมต่อด้วยระบบ UUCP(Unix To Unix Copy ต่อมาได้มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเกตเวย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. 2536 และในปัจจุบันเครื่อข่ายไทยสารได้เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกับเครือขาย “ยูยูเน็ต”เช่าลิสไลน์ขนาดความเร็ว 64 kpbs จึงนับว่าเครือข่ายไทยสารเป็นเกตเวย์สุ่เครือข่ายอินเทอรืเน็ตแห่งที่2ของประเทศไทย โดยเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆมากกว่า30แห่ง โดยมีสภาบันการศึกษาขององค์กรรัฐเป็นสมาชิกเครือข่ายเป็นจำนวนมาก

              จากรูปทั้ง2จะเห็นได้ว่าสถาบันเอทีไอเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เนตโดยผ่านเกตเวย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเนคเทค ดังนั้นนับว่าสถาบัยไเอไอทีเป็นเครือข่ายเชื่อมระหว่างไทยเน็ตกับไทยสาร ชึ่งเป็นผลดีต่อการสื่อการระหว่างสมาชิกในเครือข่ายไทยเน็ตและเครือข่ายไทยสาร ทำให้การสือสารรวดเร็วมากขึ้นเพราะไม่ต้องผ่านอินเทอร์เน็ตไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วกับมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นการเสียเวลา

ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน

              ภายหลังจากที่รูปแบบและโพรโตคอล TCP/IP ได้ถูกประกาศให้ใช้เป็นมาตรฐานในการรับ-ส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1983 แล้ว จำนวนระบบเครือข่ายย่อยและผู้ใช้ที่เชื่อมต่อเข้ากับ ARPANET ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อ ARPANET ได้เชื่อมต่อกับ NSFNET อัตราการเติบโตยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ การขยายตัวยังได้ขยายออกไปทั้งภาคพื้นยุโรปและภาคพื้นแปซิฟิก ความใหญ่โตหรือขอบเขตของระบบเครือข่ายที่ได้ขยายออกไปมากนี้ทำให้ผู้คนทั่วไปเริ่มใช้คำว่า“ระบบเครือข่ายสากล(an Internet)” แทนที่จะเรียกว่า ARPANET หรือ NSFNET และในที่สุดทุกคนก็ได้เรียกระบบเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลกนี้ว่า “ระบบอินเตอร์เน็ต (the Internet)”

              ในปี ค.ศ. 1990 ประมาณว่ามีระบบเครือข่ายย่อยอยู่ในอินเตอร์เน็ตมากกว่า 3000 เครือข่ายและมีผู้ใช้มากกว่า 2 แสนคน อีกเพียง 2 ปีต่อมาประมาณว่ามีโฮสต์อยู่ในระบบมากกว่าหนึ่งล้านเครื่องในปี ค.ศ. 1995 ประมาณกี่ระบบโครงสร้างหลัก (backbone) หลายเส้นทางมีระบบเครือข่ายย่อยหลายร้อยระบบ มีระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณหลายหมื่นระบบ มีโฮสต์อยู่หลายล้านเครื่อง และมีผู้ใช้หลายสิบล้านคน (Paxson, 1994) ได้ประมาณไว้ว่าจำนวนเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกปี สิ่งที่ทำให้ระบบอินเตอร์เน็ตขยายตัวได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่เกิดปัญหาขึ้นคือรูปแบบมาตรฐาน TCP/IP และโพรโตคอลที่ใช้นั่นเอง

              ถ้าจะถามว่าการอยู่บนอินเตอร์เน็ตหมายถึงอะไร คำตอบคือ การมีคุณสมบัติสามประการ ข้อหนึ่งคือ ความสามารถในการประมวลผลโดยใช้โพรโตคอล TCP/IP ข้อสองคือ ต้องมีหมายเลข IP เพื่อใช้ในการแสดงที่อยู่ของตนเอง (address) ในระบบ และข้อสามคือ ความสามารถในการส่ง IP แพ็กเก็ตไปยังผู้ใช้ที่ไหนก็ได้ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต จะเห็นได้ว่าเพียงแค่ขีดความสามารถในการรับและส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้นั้นยังไม่จัดว่าอยู่บนระบบอินเตอร์เน็ตเนื่องจากมีเกตเวย์ (gateway) จำนวนมากที่อำนวยความสะดวกในด้านนี้ให้แก่สมาชิกในกลุ่มของตน อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันช่วยให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคลสามารถใช้โมเด็มเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP, Internet Service Provider) เป็นการชั่วคราวได้ จากนิยามที่กำหนดไว้ข้างต้น จึงถือเสมือนว่าผู้ใช้ประเภทนี้จัดว่าอยู่บนอินเตอร์เน็ตเป็นการชั่วคราวคือตราบเท่าที่ยังคงติดต่อกับผู้ให้บริการฯ สถานะก่อนหน้านี้หรือหลังจากนี้จะไม่ถือว่าผู้ใช้ประเภทนี้อยู่บนระบบ

              ด้วยอัตราการขยายตัวอย่างยิ่งยวด (exponential growth rate) นี้ทำให้การบริหารระบบเครือข่ายในรูปแบบเดิมไม่มีความเหมาะสมอีกต่อไป ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1992 สมาคมอินเตอร์เน็ต (Internet Society) ได้ถือกำเนิดขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ในการเป็นองค์กรผู้กำหนดระเบียบและมาตรฐานต่างๆ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ระบบอินเตอร์เน็ตเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก บริการหลักสี่ชนิดที่มีอยู่ในระบบอินเตอร์เน็ตคือ

1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email, e-mail, eletronic mail) ความสามารถในการสร้าง, ส่ง, และรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้มีมาตั้งแต่ในระยะแรกของการก่อตั้ง ARPANET แล้วและเป็นบริการที่ได้รับความนิยมมาก จนกระทั่งในปัจจุบันคนในแวดวงธุรกิจส่วนหนึ่งได้ให้ความสำคัญของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มากกว่าจดหมายธรรมดา จะเห็นได้จากการที่โปรแกรมจัดการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะมีมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์บุคคลเกือบทุกเครื่ อง

2. บริการข่าวสาร(news)การจัดตั้งข่าวสารเฉพาะกลุ่ม (newsgroup)เป็นการถ่ายทอดข่าวสารในระหว่างกลุ่มคนมีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมื่อนกัน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้โดยสะดวก และมีความสามารถในการป้องกันตนเองไม่ให้คนนอกกลุ่มข้อมูลเข้ามาอ่านข่าวสารของกลุ่มได้ด้วย

3. บริการติดต่อระยะไกล(Remote login) การใช้โปรแกรมประเภท telnetทำให้ผู้ใช้ที่อยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกสามารถติดต่อผ่านอินเตอร์เนตมากยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อาจอยู่ซีกโลกเพื่อขอใช้งานคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เสมือนว่าผู้ใช้กำลังทำงานอยู่ตรงหน้า

4. บริการจัดการแฟ้มข้อมูล(file transfer)การติดต่อสื่อสารผ่านระบบอินเตอร์เนตจะไม่มีประโยชน์เท่าที่ควร หากว่าผู้ใช้ไม่สามารถคัดลอกสำเนาข้อมูลจากฐานข้อมูลซึ่งมีข้อมูลอยู่นับไม่ถ้วนกระจายอยู่ทั่วโลก

          บริการที่กล่าวถึงนี้คือ โปรแกรม (file transfer protocol) ซึ่งเป็นอีกส่านหนึ่งที่เป็นบริการยอดนิยมในบริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

          ระบบอินเทอร์เน็ตเคยเป็นที่นิยมในเฉพาะกลุ่มนักศึกษา นักทดลองตามห้องทดลองเท่านั้น ในปัจจุบันแนวความคิดนี้ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ด้วยการปรากฏตัวของโปรแกรมประยุกต์ประเภทหนึ่งเรียกว่า เครือข่าย www(Worle Wide Web) เครือข่ายนี้ได้ให้บุคคลทุกวงการทั่วโลกหันมาใช้อินเทอร์เนตกันอย่างกว่างขวางและในอัตราก้าวกระโดด โปรแกรมนี้ถูกคิดค้นโดยนักฟิสิกส์ ชื่อ Tim Berners-Lee ซึ่งทำงานให้กับบริษัท CERN ประเทศสหรัฐอเมริกา ทางด้านเทคนิคแล้ว www ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใดๆ ของอินเทอร์เนตเลยเพียงแต่ทำให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก ประกอบกับโปรแกรมประยุกต์ชื่อ Mosaic ทำให้คนธรรมดาที่เข้าอบรมการใช้เพียงเล็กน้อยก็สามารถสร้างสิ่งที่ชื่อ website ได้ ซึ่งประกอบด้วย ดำอธิบายเป็นตัวหนังสือ รูปภาพ และเสียงเพลง แต่ละเว็บเพจสามารถที่จะเชื่อมต่อกับเว็บไซ้ท์อื่นได้โดยอัตโนมัติ ทำให้เกิดการประยุกต์ใช้ในงานต่าง ทั้งทางด้านการพาณิชย์และการศึกษา ความนิยมให้เรื่องนี้ดูได้จากจำนวนเวบที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน

MENU