1. หลักการพื้นฐานของ ISDN
    1. บทนำ

ISDN ย่อมาจาก Integrated Service Digital Network นิยามโดย CCITT ว่าเป็นเน็ทเวิร์ดที่พัฒนามาจากเน็ทเวิร์ดร่วมดิจิตอลโทรศัพท์ (ISDN) ที่มีอุปกรณ์เชื่อมต่อปลายทางเป็นดิจิตอล โดยมีข่ายการต่อเพื่อให้บริการที่กว้าง คือ การบริการที่ใช้เสียงและไม่ใช้เสียงที่ผู้ใช้บริการขอทำการแอกเซส (Access) กับระบบที่อยู่ในขอบเขตข้อกำหนดการอินเทอร์เฟสเน็ทเวิร์ด มาตรฐานของ CCITT

เน็ทเวิร์ด ISDN สามารถใช้บริการเกี่ยวกับข้อมูลและโทรคมนาคมอื่นๆ ที่เป็นเน็ทเวิร์ดดิจิตอล โดยที่อุปกรณ์ต่าง ๆ จะอยู่ในรูปแบบดิจิตอล เช่น ข่าวสารโทรศัพท์ , คอมพิวเตอร์ , สเตอริโอ , โทรทัศน์, PBX, เมนเฟรม และอุปกรณ์ ISDN อื่นๆ โดยข่าวสารทั้งหมดจะถูกสวิตช์และส่งผ่านเป็นกลุ่มบิท ในเน็ทเวิร์คเดียวกัน ดังแสดงรูปที่ 1.1

 

 

 

 

รูปที่ 1.1 แสดงลักษณะของ ISDN

คุณลักษณะที่สำคัญของ ISDN

    1. การแอกเซสรวมของ ISDN
    2. ISDN มีการรวมข้อกำหนดที่ว่าด้วยความแตกต่างของอุปกรณ์แต่ละชนิดที่สามารถใช้บริการจากเน็ทเวิร์ค ISDN ได้ ซึ่ง ISDN ไม่มีบริการเพียงอย่างเดียว แต่จะรวมการบริการทุกๆ อย่างไว้ในเน็ทเวิร์คเดียวกัน

      ในการสื่อสารข้อมูลและโทรคมนาคมแล้ว ผู้ใช้บริการ (USER) จำต้องมีลักษณะทางกายภาพและการอินเทอร์เฟสกับเน็ทเวิร์คที่แตกต่างกัน เช่น ผู้ใช้บริการอาจจะแอกเซสเน็ทเวิร์คโทรศัพท์สาธารณะ (PTN) เพื่อติดต่อกับ CENTRAL OFFICE (C.O.) และโทรศัพท์ ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดสำหรับการแอกเซสเน็ทเวิร์คที่ถูกต้อง

      ถ้าผู้ใช้บริการต้องการใช้บริการข้อมูลแบบแพคเกต สวิตช์ (PACKET SWITCH) ก็จะมีการเพิ่มสายจาก C.O. หรือ แพคเกตเน็ทเวิร์ค ลูกค้าจะต้องมีอุปกรณ์ที่สามารถรองรับข้อกำหนดแบบ X.25 ได้

      ถ้าผู้ใช้บริการต้องการใช้บริการเทเลกซ์ สายที่เพิ่มจะต้องต่อออกมาจากตำแหน่งลูกค้า และอุปกรณ์ที่สถานที่ใหม่ไปยังเน็ทเวิร์คเทเลกซ์ ส่วนการแอกเซสเพื่อใช้บริการสื่อสารผ่านทางสายอากาศ (CATV) ก็จะมีการอินเทอร์เฟสทางกายภาพที่ต่างออกไป (ผ่านสายส่งแกนร่วม COAXIAL CABLE) และอุปกรณ์ที่ทำการแปลงสัญญาณ ดังรูปที่ 1.2

      รูป 1.2 แนวคิดของการสื่อสารที่ผู้ใช้บริการทำการอินเทอร์เฟสกับเน็ทเวิร์คด้วยบริการที่ต่างกัน

      จุดเริ่มต้นของ ISDN คือ เราต้องการแก้ปัญหาวิธีการแอกเซสที่แตกต่างกันให้เป็นการแอกเซสที่อยู่ในข้อกำหนดเดียวกัน รวมอยู่บนสายส่งเดียวในเน็ทเวิร์ค ซึ่งแต่ละเน็ทเวิร์คอาจจะมีเน็ทเวิร์คย่อย ดังรูป 1.3

      รูป 1.3 แนวคิด ISDN ที่มีการรวมการแอกเซสเน็ทเวิร์คหลายๆ เน็ทเวิร์คเข้าด้วยกัน

    3. การใช้บริการแบบดิจิตอลของ ISDN
    4. เมื่อ ISDN เป็นเน็ทเวิร์คที่สามารถให้บริการทุกๆ การบริการที่แตกต่างกันได้ ภายในเน็ทเวิร์คเดียว โดยลูกค้าสามารถทำการแอกเซสพอร์ตเพื่อใช้บริการแต่ละอย่างได้ตามตำแหน่งของ ลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปของการแอกเซส โดยเป็นไปตามข้อกำหนดที่มีดังรูป 1.4

      เส้นทางการแอกเซสของ ISDN แสดงไว้เหมือน “DIGITAL PIPE” สำหรับบริการลูกค้าตามแต่ชนิดของอุปกรณ์ที่ต่ออยู่ระหว่างลูกค้าและ C.O. (ISDN CETRAL OFFICE) ซึ่งเป็นดิจิตอลด้วยเช่นกัน ISDN สามารถจะรวมบริการชนิดต่างๆ ทั้งเสียงและข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันไม่ว่าจะมีอัตราการส่งข้อมูลต่ำ เช่น การตรวจสอบความปลอดภัย การวัดต่างๆ ทั้งเสียงและข้อมูลเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะมีอัตราการส่งข้อมูลต่ำ เช่น การตรวจสอบความปลอดภัย การวัดต่างๆ หรือบริการที่ต้องการอัตราการส่งข้อมูลสูงๆ เช่น การใช้บริการวีดีโอ , วีดีโอเทค และการประชุมโดยผ่านเน็ทเวิร์ค ISDN (TELECONFERENCE) ดังรูปที่ 1.5

      รูป1.4 แนวคิดการรวมบริการทุกๆ อย่างของ ISDN เข้าเป็นเน็ทเวิร์คเดียวที่สามารถแอกเซส เพื่อขอใช้บริการจากผู้ใช้บริการเดียว

      รูป 1.5 “DIGITAL PIPE” ของ ISDN

    5. องค์ประกอบพื้นฐานสำหรับ ISDN

โดยนิยาม ISDN จะมีองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญ 3 อย่างคือ

    1. พื้นฐานการสื่อสารข้อมูลสำหรับ ISDN
      1. พื้นฐานการสื่อสาร
      2. สัญญาณอนาลอกและดิจิตอล

        การเข้าใจความแตกต่างระหว่างสัญญาณอนาลอกและดิจิตอล ถือว่ามีความสำคัญมากในการที่จะเข้าใจการสื่อสารข้อมูล สัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณที่มีความต่อเนื่อง และมีค่าตลอดช่วงของสัญญาณ เช่น เสียงพูด, เสียงดนตรี, วีดีโอ บางครั้งเรียกว่าบอร์ดแบนด์ หรือสัญญาณมอดูเลท ดังรูป 1.6

        รูป 1.6 แสดงสัญญาณอนาลอก (ด้านบน) และสัญญาณดิจิตอล (ด้านล่าง)

        สัญญาณดิจิตอลเป็นกลุ่มของสัญญาณที่มีค่าไม่ต่อเนื่อง ภายในช่วงสัญญาณมีรูปแบบเป็นสัญญาณและเป็นเลขฐานสอง คือ มีค่า 2 ค่า เป็น 1 และ 0 สัญญาณดิจิตอลอาจจะเรียกว่าเบสแบนด์

        การขยายสัญญาณและสถานีทวนสัญญาณ

        เน็ทเวิร์คโทรศัพท์แบบอนาลอกจะมีอุปกรณ์ขยายสัญญาณ เมื่อต้องการส่งไปในระยะทางไกลๆ ตามสายส่งแบบต่างๆ (สายส่งแกนร่วม, คู่สายเกลียว) ที่มีทองแดงเป็นตัวกลาง ซึ่งจะมีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนจากภายนอก อันจะส่งผลต่อระดับสัญญาณให้ผิดเพี้ยนไป จึงจำเป็นต้องมีการขยายสัญญาณให้มีกำลังแรงอยู่ตลอดระยะทาง

        สำหรับเน็ทเวิร์คดิจิตอลจะใช้สถานีทวนสัญญาณแทนการขยายสัญญาณ เพื่อทำการสร้างสัญญาณขึ้นมาใหม่แทนสัญญาณเดิมที่อาจถูกลดทอนไป ขณะส่งผ่านตัวกลาง เนื่องจากสัญญาณดิจิตอลมีค่าเป็น 1,0 จึงทำให้สามารถส่งได้ในระยะทางที่ไกลกว่าสัญญาณอนาลอก

        โครงสร้างของเน็ทเวิร์คโทรศัพท์

        รูป 1.7 แสดงองค์ประกอบหลักของเน็ทเวิร์คโทรศัพท์สาธารณะ (PSTN) เป็นโทรศัพท์ดิจิตอลที่มีเลขหมาย 10 หลัก สำหรับการเรียกผ่านชุมสาย โดย 3 หลักแรกเป็นเลขหมายพื้นที่ 3 หลัก ถัดไปเป็นเลขหมาย 10 หลัก สำหรับการเรียกผ่านชุมสาย โดย 3 หลักแรกเป็นหมายเลขพื้นที่ 3 หลักถัดไปเป็นเลขหมายปลายทาง และ 4 หลักสุดท้ายเป็นเลขหมายประจำเครื่อง

        รูป 1.7 แสดงโครงสร้างเน็ทเวิร์คโทรศัพท์สาธารณะ

        ผู้ใช้บริการหรือลูกค้าจะต่อเข้ากับเน็ทเวิร์คโทรศัพท์โดยตรงที่ C.O. (END OFFICE CENTRAL OFFICE) อาจจะเรียกว่า CLASS 5 ซึ่งผ่านคู่สายเกลียวคู่เดียวเรียกว่า LOCAL LOOP

        CLASS 4 เป็นชุมสายทางไกลของเน็ทเวิร์คทางไกลและอาจจะเป็นชุมสายการติดต่อภายในของ CLASS 5 เรียก TANDEM SWITCH ในกรณีที่เกิดการจราจรข่าวสารหนาแน่นมากใน CLASS 5

        การติดต่อของผู้ใช้บริการ 2 คน ที่มีการเชื่อมต่อทางกายภาพที่ C.O. เหมือนกัน จะใช้สวิตซ์ของชุมสายเดียว ถ้าเป็น 2 ผู้ใช้บริการที่อยู่คนละ C.O. นั่นคือใช้ CLASS5 2 ชุมสาย และ 1 ชุมสายของ CLASS4 ซึ่งเป็นชุมสายทางไกลจะเป็นผู้ทำการเชื่อมต่อ

        เมื่อชุมสาย CLASS ที่สูงกว่าถูกใช้ ดังนั้น ไม่มีความจำเป็นที่ CLASS 5, 4, 3 จะต้องต่อผ่านชุมสายระดับที่สูงกว่า แต่ชุมสายระดับสูงสามารถทำงานได้ครอบคลุมฟังก์ชันการทำงานของ CLASS ต่ำ

        แถบของการผ่านและความกว้างแถบความถี่ (PASS BAND AND BANDWIDTH)

        ก่อนที่จะทำการวิเคราะห์การส่งสัญญาณเสียงของคนในรูปแบบดิจิตอล เราจำต้องนิยาม ความกว้างแถบความถี่ของเสียงและ LOCAL LOOP โทรศัพท์

        เราทราบว่าความถี่ของสัญญาณอนาลอกเป็นจำนวนของคลื่นสัญญาณไซด์ (SINE WAVE) ที่ส่งออกไปทุกๆ นาที และถูกวัดเป็น รอบ/นาที

        แถบของการผ่านของสัญญาณ คือ ช่วงของความถี่ที่สามารถนำพาไปได้โดยช่วงสัญญาณ ฉะนั้นความกว้างแถบความถี่คือความกว้างของช่วงความถี่ที่ผ่านได้ในช่องสัญญาณ เช่น สัญญาณเสียง คนเราที่หูสามารถได้ยินอยู่ในช่วง 20 – 20,000 เฮิรตซ์ (เป็นแถบของการผ่าน) และมีความกว้างของแถบความถี่ 19.98 กิโลเฮิรตซ์

        สำหรับแถบการผ่านของ LOCAL LOOP ของโทรศัพท์ ประมาณ 300 – 3,400 กิโลเฮิรตซ์

        การมัลติเพล็ก (MULTIPLEXING)

        การมัลติเพล็กในเน็ทเวิร์ค เป็นการแบ่งการใช้บริการของผู้ใช้บริการที่มีเส้นทางการสื่อสารที่จำกัด สำหรับการสื่อสารแบบอนาลอกใช้การมัลติเพล็กแบบการแบ่งความถี่ (FDM) FREQUENCY DIVISIONMULTIPLEXING ซึ่งผู้ใช้บริการจะถูกแบ่งออกให้ใช้ความถี่ในแต่ละช่องสัญญาณ โดยมีเวลาไม่จำกัด ดังรูป 1.8

         

         

        รูป 1.8 แสดงการมัลติเพล็กแบบแบ่งความถี่

        สัญญาณดิจิตอลจะใช้การมัลติเพล็กแบบแบ่งช่วงเวลา (TDM) TIME DIVISION MULTIPLEXING โดยแต่ละผู้ใช้บริการจะถูกแบ่งใช้ความถี่ที่ช่วงเวลาสั้นๆ เป็น TIME SLOT เพื่อแบ่งใช้ช่องสัญญาณร่วมกัน ดังแสดงในรูป 1.9

        รูป 1.9 แสดงการมัลติเพล็กแบบแบ่งช่วงเวลา

         

      3. โทรศัพท์ดิจิตอล

การเปลี่ยนสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณดิจิตอลและ CPM

การที่จะทำสัญญาณเสียงให้อยู่ในรูปสัญญาณดิจิตอล ต้องทำการดึงตัวอย่างสัญญาณ (SAMPLED) เสียงประมาณ 8,000 ครั้งต่อนาที ตามทฤษฎีของ NYQUIST’S SAMPLING แต่ละตัวอย่างของสัญญาณเสียงจะถูกแปลงเป็นกลุ่มบิทสัญญาณ 1 และ 0 ขบวนการแปลงสัญญาณอนาลอก เป็นบิทนี้ เรียกว่า PULSE CODE MODULATION และจะอยู่ในรูปแบบอุปกรณ์ที่เรียกว่า CODEC ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุมสายดิจิตอล

รูปที่ 1.10 แสดงการแปลงสัญญาณเป็นเสียงดิจิตอลที่มีการดึงตัวอย่างสัญญาณทุกๆ 125 US หรือทุกๆ 1/1,800 นาที การดึงตัวอย่างสัญญาณ (SAMPLING) นี้เรียกว่า PAM (PULSE AMPLITUDE MODULATION) ซึ่งเป็นค่าที่ไม่ต่อเนื่อง จากนั้นค่าเหล่านี้จะถูกเข้ารหัสเป็น สัญญาณดิจิตอล อันเป็นขั้นตอนของ PCM ซึ่งนิยมใช้กันสองวิธีคือ ของ A-LAW และ µ-LAW

รูป 1.10 แสดงการทำงานของ PCM

ลำดับการมัลติเพล็กช่องสัญญาณแบบดิจิตอล

การมัลติเพล็กช่องสัญญาณเสียง 24 ช่อง ในสายส่งสัญญาณโดยการใช้การแบ่งช่วงเวลา จะมีหน่วยย่อยของการส่งที่เรียกว่า เฟรม ซึ่งประกอบด้วย 24 ช่องสัญญาณเสียง ถ้าการดึงตัวอย่างสัญญาณ (SAMPLED) เป็น 8 บิท เพราะฉะนั้น 1 เฟรมจะมีข้อมูลจริงๆ 192 บิท และอีก 1 บิท ที่เพิ่มเข้าไปเพื่อประโยชน์ในการสื่อสารลำดับการมัลติเพล็กที่พบทั่วไป จะมี 2 กลุ่ม คือ ของอเมริกาและยุโรป ดังรูป 1.11

รูป 1.11 แสดงลำดับการมัลติเพล็กสัญญาณดิจิตอลที่ลำดับต่างๆ

ของอเมริกา (ซ้ายมือ) และยุโรป (ขวามือ)

1.5.3 ชนิดของสวิตชิงเน็ทเวิร์ค

การที่จะเข้าใจการทำงานและการบริการของ ISDN ที่สมบูรณ์มีความจำเป็นต้องเข้าใจ CIRCUIT SWTCHING และ PACKET SWITCHING (เรียกเป็น CIRCUIT MODE และ PACKET MODE ใน ISDN) เทคนิคการสวิตชิงทั้งสองใช้โดยทั่วๆ ไปในปัจจุบันและสามารถใช้ร่วมกันได้ด้วย

รูป 1.12 แสดงโครงสร้างสวิตชิงเน็ทเวิร์คที่มีผู้ใช้บริการ (END USERS) ต่อเป็นทางสื่อสารกับเน็ทเวิร์ค ซึ่งเส้นทางสื่อสารของแต่ละเส้นทางไม่ได้คงที่ตายตัว นั่นคือ 1 สามารถต่อกับ 3

โดยผ่านโหนด (เป็นสวิตชิงของเน็ทเวิร์ค) A, B, E และ D หรือผ่านโหนด A, B และ D

รูป 1.12 ส่วนประกอบของสวิตชิงเน็ทเวิร์ค

เป็นสวิตชิงชนิดที่คุ้นเคยกันดีในเน็ทเวิร์คโทรศัพท์ สวิตชิงเน็ทเวิร์คแบบนี้ เส้นทางการสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการ จะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงระหว่างที่มีการเรียก และจะไม่ถูกแบ่งให้ผู้อื่นได้ใช้งานด้วย จนกว่าจะสิ้นสุดการใช้งาน การเชื่อมต่อเส้นทางการสื่อสารก็จะยังคงถูกใช้ไปตลอดการใช้งานจะสิ้นสุด ดังนั้น การสวิตชิงแบบนี้ จึงไม่เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่ควร

PACKET SWITCHING

การสวิตชิงแบบนี้จะไม่มีการต่อทางกายภาพจริงๆ ระหว่างผู้ใช้บริการ 2 คน ข่าวสารจะถูกส่งไปยังเน็ทเวิร์ค เพื่อส่งต่อไปยังปลายทาง โดยการต่อเส้นทางการสื่อสารแบบลอจิก นั่นก็คือ ลักษณะทางกายภาพของช่องสัญญาณไม่ได้ถูกใช้ต่อระหว่างผู้ใช้บริการโดยเฉพาะแบบลอจิก นั่นก็คือลักษณะทางกายภาพของช่องสัญญาณไม่ได้ถูกใช้ต่อระหว่างผู้บริการโดยเฉพาะเท่านั้น มันจึงสามารถที่จะให้ผู้ใช้บริการอื่นสามารถใช้เส้นทางสื่อสารนี้ได้คือ การสวิตชิงนี้ ข่าวสารจะถูกแบ่งย่อยเป็นส่วนย่อยมากมาย สำหรับการส่ง เรียก PACKET แต่ละ PACKET จะมีขนาดประมาณ 128 หรือ 256 (ของเลขฐานแปด)

CCITT ได้จัดมาตรฐานข้อกำหนด ISDN สำหรับใช้บริการในรูปแบบต่างๆ ของ ISDN โดยการออกแบบอินเทอร์เฟส เน็ทเวิร์ดของผู้ใช้บริการเป็นข้อกำหนดสำหรับการแอกเซสเน็ทเวิร์คผ่านทางเลเยอร์ 1- 3 ของ OIS MODEL

CCITT กำหนด x .25 เป็นการอินเทอร์เฟสระหว่างผู้ใช้บริการและ PACKET SWITCHED PUBLIC DATA NETWORK (PSPDN) ผู้ใช้บริการเรียกว่า DATA TERMINAL EQUIPMENT (DTE) และโหนดของเน็ทเวิร์ค เรียกว่า DATA CIRCUIT TERMINATING EQUIPMENT (DCE) x.25 กำหนดการอินเทอร์เฟสเน็ทเวิร์ดของผู้ใช้บริการผ่านเลเยอร์ทั้ง 3 คือ

สำหรับ x .75 ก็มีลักษณะคล้ายๆ กับ x .25 เพียงแต่ใช้สำหรับเน็ทเวิร์คภายในระหว่าง PSPDN ด้วยกัน

1.6 แนวคิดของ ISDN

แนวคิดของข้อกำหนดพื้นฐานทั้งหมด เป็นหลักการสื่อสารพื้นฐานของเลเยอร์ทั้ง 7 ที่กำหนดโดย CCITT, ISO ซึ่งถูกออกแบบให้สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลที่มีความแตกต่างกันในโหมดต่างๆ ของ ISDN ได้ แนวคิด OSI จึงเหมาะอย่างยิ่งในการประยุกต์ไปใช้งานให้มีประสิทธิภาพที่จะมีขึ้นในอนาคต เพราะไม่เพียงแต่จะมีฟังก์ชันในการทำงานแบบ PACKET SWITCHED DATA NETWORK (PSDN) มันยังมี

แนวคิดอ้างอิง OSI

ข้อสรุปที่สำคัญที่จะให้เข้าใจเกี่ยวกับเลเยอร์ทั้ง 7 ของ OSI คือ แต่ละเลเยอร์จะสรุปแบบการทำงานและรายละเอียดดังนี้

รูป 1.13 แสดงแนวคิดอ้างถึง OSI ทั้ง 7 เลเยอร์

รูปที่ 1.13 แสดงเลเยอร์ทั้ง 7 ของ OSI แบบเลเยอร์ต่อเลเยอร์บนเน็ทเวิร์คสื่อสารตามกำหนด การติดตั้งเลเยอร์ของอุปกรณ์ที่เหมือนกัน เพื่อการสื่อสารจะทำผ่านการอินเทอร์เฟสรายละเอียดโครงสร้างเน็ทเวิร์คจะบอกฟังก์ชันการทำงานของแต่ละเลเยอร์ อันเป็นข้อกำหนดการสื่อสารที่เท่ากัน และการสื่อสารโดยการอินเทอร์เฟส จะมีเน็ทเวิร์คเพื่อปรับข้อกำหนดเลเยอร์ให้เข้ากันได้

เลเยอร์ 3 เลเยอร์ล่างสุดของแนวคิด OSI คือ

เลเยอร์ทั้ง 3 ของ OSI เรียกว่า CHAINED LAYERS เป็นปฎิบัติการการสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการ (HOST) กับโหนดและโหนดกับโหนด

สำหรับเลเยอร์บนสุด 4 เลเยอร์ของแนวคิด OSI คือ

วิธีการที่จะอธิบายแนวคิดของ ISDN ให้เข้าใจและอยู่ในเทอมของแนวคิดอ้างอิง OSI เลเยอร์ 3 เลเยอร์ล่างสุดของ OSI เหมือนกับแนวคิดที่ CCITT กำหนด เป็นการบริการแบบ BEARER SERVICE หรือ I.211 ใน ISDN และ TELESERVICES สำหรับ 4 เลเยอร์บนสุด

เปรียบเทียบเลเยอร์ต่อเลเยอร์ของ ISDN และ OSI ดังรูป

จากรูป 1.14 จะเห็นว่า 3 เลเยอร์ล่างของ ISDN (BEARER SERVICE) ไม่ได้รวมรายละเอียดข้อกำหนดสำหรับเลเยอร์ 4 – 7 (TELESER VICES) เพราะ 3 เลเยอร์ล่างทำหน้าที่ครอบคลุมช่องสัญญาณ ซึ่งเป็น SIGNLING ส่วนช่องสัญญาณ B นั้น เป็นข้อกำหนดที่อยู่ใน TELESER VICES สำหรับการใช้งานของผู้ใช้บริการจริง

 

 

 

 

 

 

 

รูป 1.14 แสดงการเปรียบเทียบเลเยอร์ทั้ง 7 ของ ISDN และ OSI MODEL

 

  

                     PREVIOUS        NEXT