LAN/WAN

        หากย้อนไปเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว คอมพิวเตอร์เครื่องแรกกำเนิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ต่อมาคอมพิวเตอร์ก็มีบทบาทสร้างสรรค์สังคมมนุษย์เข้ามาช่วยเหลืองานต่าง ๆ ของมนุษย์มากมาย จินตนาการการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีมานานแล้ว โดยเฉพาะในนิยายวิทยาศาสตร์ ผู้เขียนนิยายวิทยาศาสตร์หลายท่านได้สร้างจินตนาการให้เห็นระบบสื่อสารที่ทรงพลัง โดยมีคอมพิวเตอร์ช่วยเป็นสื่อในการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน

        จุดเริ่มต้นของเครือข่ายคอมพิวเตอร์เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1962 Licklider แห่งมหาวิทยาลัย MIT ได้บันทึกแนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อ Galactic Network โดยแสดงจินตนาการให้เห็นหลักการของเครือข่ายทางวิชาการ พร้อมทั้งประโยชน์ที่จะใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการพูดคุย สื่อสาร อภิปราย ส่งข่าวระหว่างกัน และเชื่อมโยงกันทั่วโลก ต่อมา Licklider ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าทีมงานวิจัยตามความต้องการของกระทรวงกลาโหม อเมริกัน ในโครงการที่ชื่อ DARPA ร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอีกหลายคน

     ลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมด จึงมีการแบ่งแยกเครือข่ายเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายภายในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เรียกว่า LAN (Local Area Network) และการเชื่อมโยงระยะไกล ที่เรียกว่า WAN (Wide Area Network)

LAN

ความหมาย

          เครือข่ายท้องถิ่น (LAN) คือ เครือข่ายการติดต่อสื่อสารข่าวสาร ข้อมูล หรือรูปภาพระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารกันในส่วนนต่างๆ ขององค์กรที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะอยู่ในชั้นเดียวกันของอาคาร ระหว่างชั้นในอาคารเดียวกัน หรือระหว่างอาคารที่ห่างกันไม่มากนัก โดยไม่จำเป็นจะต้องพึ่งพาระบบการสื่อสารข้อมูลแบบอื่น เช่น ระบบโทรศัพท์

 

ข้อดีและข้อเสียของ LAN

ข้อดี

         การใช้ทรัพยากรร่วมกัน

          ผู้ใช้สามารถใช้ Hardware พวกหน่วยความจำ อุปกรณ์เอาต์พุต อุปกรณ์การสื่อสาร Software ที่เครื่องผ็ใช้ไม่มี และ File ข้อมูลร่วมกันได้

         ประหยัดค่าใช้จ่าย

          ประหยัด Hardware Software ซึ่งมีราคาแพงได้เนื่องจากมีการใช้งานร่วมกันที่เครื่องเดียว ก๊อปปี้เดียว ลดค่าใช้จ่ายในงานที่ซ้ำซ้อน เพราะสามารถรวมเป็นเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งสามารถติดตั้งได้ง่าย ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา   

         สะดวกกับผู้ใช้

          ผู้ใช้สามารถเข้าสู่เครือข่ายและระบบอื่นๆภายนอกเครือข่ายได้ง่าย ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง เลือก Hardware คุณภาพดีๆได้ สามารถใช้ File ข้อมูลที่อยู่อีกจุดหนึ่งได้ ตัดปัญหาเรื่อง File ข้อมูลหาย เพราะ File Server จะทำหน้าที่สำรองข้อมูลให้แทน

         ง่ายต่อการควบคุม

          ผู้ควบคุมเครือข่ายมีสิทธิที่จะไม่ให้ใครเข้าใช้งานในเครือข่ายได้ ระบบมีความเชื่อถือได้สูง ขยายเพิ่มจุดผู้ใช้ในเครือข่ายได้ง่าย เหมาะสมกับระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation หรือ OA)

 

ข้อเสีย

      1.ราคา Software สำหรับระบบ LAN ค่อนข้างสูง และยังพัฒนาได้ไม่ดีเท่า Software ที่มีอยู่ใน mainfram หรือ minicomputer ที่มีมาก่อนหน้านี้

      2.ระบบอื่นที่สามารถทำงานได้เช่นเดียวกัน หรือดีกว่าสำหรับงานในสำนักงานเช่น ระบบ On-Line

      3.ระบบการรักษาความปลอดภัยยังไม่ดีพอ

      4.ดูแลรักษาได้ยากเนื่องจากคอมพิวเตอร์มีหลายเครื่องหลายรุ่น

      5. ไม่สามารถใช้งานระบบฐานข้อมูลได้เต็มที่ เนื่องจากต้องกระจายไปให้ผู้ใช้ตามจุดต่างๆ

 

เมื่อไหร่จึงจะใช้ LAN

      การที่จะบอกว่าเมื่อใดสมควรที่จะใช้ LAN นั้นสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องอยู่กับความพร้อมในระบบสำนักงานหรือองค์กรอยู่หลายส่วน หลักเกณฑ์หลักๆ ที่นำมาพิจารณา มีดังนี้

    1. ร่วมใช้ไฟล์ข้อมูลและโปรแกรมแอปพลิเคชัน เมื่อใดที่หน่วยงานนั้นต้องการที่จะมีศูนย์กลางไฟล์ เพื่อทำหน้าที่ส่งไฟล์ข้อมูลไปให้เครคื่อง PC อื่นๆใช้ หรือรับข้อมูลเข้ามาเก็บรักษาไว้จากสาขา หรือแผนกของหน่วยงาน รวมทั้งต้องการจะมีศูนย์กลางของโปรแกรมแอปพลิเคชันต่างๆที่มีราคาแพง และกินเนื้อที่ในฮาร์ดดิสก์มากๆ เพื่อให้เครื่อง PC อื่นๆสามารถเรียกไปใช้งานได้ หน่วยงานจึงน่าจะมีเครือข่าย LAN ไว้ใช้
    2. ร่วมใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ราคาแพง สำรวจว่ามีเครื่อง PC กี่เครื่องที่ต้องการฮาร์ดแวร์ราคาแพงแบบเดียวกันสำหรับการทำงาน ถ้ามีมากพอสมควร ก็ควรจะมีการจัดตั้งเครือข่าย LAN เพื่อช่วยในการจัดการใช้ฮาร์ดแวร์นั้นร่วมกันอย่างมีระบบ ขจัดปัญหาความยุ่งยากในการใช้ และประหยัดค่าใช้จ่าย
    3. ต้องการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูง เนื่องจากในเครือข่าย LAN มีอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำสุดผ่านสายเกลียวคู่ประมาณ 1,000 กิโลบิต/วินาที ในขณะที่การส่งผ่านทางโมเด็มมีความเร็วเพียง 9.8 กิโลบิต/วินาที หรือระหว่างเครื่อง PC ด้วยกันมีความเร็ว 38.4 กิโลบิต/วินาที ดังนั้นเครือข่าย LAN จะสามารถช่วยให้การสื่อสารข้อมูลภายในหน่วยงานรวดเร็วยิ่งขึ้น
    4. ต้องการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งจดหมาย รายงานหรือข้อมูลจำนวนไม่มากนักถึงกันและกันระหว่างผู้ใช้ในหน่วยงาน โดยเฉพาะต่างแผนก หรือต่างชั้นอาคารกัน จะสามารถประหยัดเวลา และประหยัดกระดาษพิมพ์

 

ลักษณะการทำงานของเครือข่าย LAN

       LAN แบ่งลักษณะการทำงานได้เป็น 2 ประเภทคือ peer to peer และ client-server

    1. แบบ peer to peer เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเน็ตเวิร์ก เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะที่ทัดเทียมกัน การเชื่อมต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องทีทำการเชื่อมต่อกันประมาณไม่เกิน 10 เครื่อง เน็ตเวิร์กประเภทนี้สามารถจัดตั้งได้ง่ายๆ ด้วยซอฟแวร์ธรรมดาๆ เช่น Windows 95 และ 98 โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบจะสามารถเป็นได้ทั้งเครื่องลูกข่าย (client) และเครื่องผู้ให้บริการ (server) โดยขึ้นอยู่กับว่าขณะใดขณะหนึ่งเครื่องไหนเป็นผู้ร้องขอทรัพยากร หรือว่าเป็นผู้แบ่งปันทรัพยากร
    2. แบบ client-server เป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งเป็นอย่างน้อย ซึ่งเครื่องที่เชื่อมต่อด้วยนี้จะมีขนาดใหญ่ มีโปรเซสเซอร์ตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งเครื่องในระดับ Pentium หรือ RISC(Reduced Instruction Set Computing เช่น DEC Alpha AXP) แล้วก็ใช้ระบบปฏิบัติการที่เป็นเน็ตเวิร์ก (NOS หรือ Network Operating System) โดยเฉพาะ เช่น Windows NT Server ซึ่งจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า Windows95 และ 98 อีกทั้งยังได้รับการออกแบบและปรับแต่งมาเพื่อการทำงานในระบบสภาวะแวดล้อมแบบเน็ตเวิร์กโดยเฉพาะอีกด้วย หน้าที่ของเครื่องแม่ข่ายได้แก่ การควบคุมความปลอดภัยในระบบจัดการความคับคั่งในระบบเน็ตเวิร์ก หยิบยื่นทรัพยากรต่างๆ เช่น ข้อมูล โปรแกรม หรือการขอใช้อุปกรณ์ร่วมต่างๆ ตามแต่เครื่องลูกข่ายจะร้องขอ สำหรับเครื่องลูกข่าย จะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ(ไม่ใช่พวกเทอร์มินัล) ซึ่งก็จะใช้ OS ธรรมดา เช่น Windows 95 ,Windows 98 ,windows NT Workstation ซึ่งเครื่องลูกข่ายเหล่านี้โดยปกติจะใช้ความสามารถด้านการประมวลผลของตัวเองเพื่อจัดการกับข้อมูลที่ได้รับมาจาก server และในการทำงานร่วมกันระหว่าง client กับ server นี้ เราจะเรียกการทำงานที่ด้านของเครื่องลูกข่ายว่า Front-end Processing และเรียกการทำงานในส่วนของ server ว่า Back-end Processing หลักการ client-server จะมีความยืดหยุ่นสูง เพราะนอกเหนือจากการเชื่อมต่อเข้าด้วยกันตามปกติแล้ว ยังสามารถเลือกที่จะเชื่อมต่อทั้งระบบเข้ากับเครื่องในระดับ minicomputer หรือ mainframe ได้อีกด้วย โดยเครื่องที่ทำหน้าที่ Front-end จะยังคงสามารถใช้งานในสภาวะแวดล้อมและโปรแกรมที่เราคุ้นเคยได้ดี ในขณะที่ผู้ใช้งานสามารถเลือกทำงานได้ทั้งงานในรูปแบบเครื่องเดี่ยว (stand alone) หรือแบบที่ประสานงานกับผู้ใช้รายอื่น รวมไปถึงการทำงานโดยอาศัยข้อมูลจำนวนเก็บอยู่ในเครื่อง mainframe อีกด้วย

 

ส่วนประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่าย LAN

         * ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System)

         ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครือข่าย เช่นเดียวกับการที่ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ซึ่งในเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer เช่น Windows for Workgroups จะมีระบบปฏิบัติการเครือข่ายอยู่ในเครื่องทุกเครื่องของเครือข่าย ในขณะที่ในเครือข่ายแบบ Server based เช่น Netware หรือ Windows NT นั้น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่ที่เครื่อง Server ในขณะที่ workstation จะใช้ซอฟต์แวร์ขนาดเล็กอีกตัวในการติดต่อรับ-ส่งข้อมูลกับ Server

        * เครื่องบริการ (Server)

         เป็นเครื่องหลักที่มีหน้าที่ให้บริการงานต่างๆ แก่ สถานีงาน (Workstation) หรือ โหนด (Node) ซึ่งบริการหลักๆ คือ บริการแฟ้มข้อมูล (File Server) บริการเครื่องพิมพ์ (Print Server) บริการ FAX (FAX Server) บริการฐานข้อมูล (Database Server) เป็นต้น

         * สถานีงาน (Workstation)

         Workstation คือเครื่อง PC ที่ถูกเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย ซึ่งยังคงสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ต่างๆ บนเครื่องของตนได้ดังเดิมเหมือนเครื่อง PC ทั่วไป แต่ต่างกันตรงที่ Workstation สามารถเรียกใช้ข้อมูลบนดิสก์เซิร์ฟเวอร์ของระบบเครือข่ายได้

         * แผงวงจรเชื่อมสัญญาณ (Network Interface Card)

         ในการเชื่อมต่อเครื่อง PC เป็น Workstation ของเครือข่ายนั้น จำเป็นต้องมีตัวกลางในการเชื่อมต่อ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เป็นแผงวงจรสำหรับเสียบเข้า ซึ่งเสียบไว้ในสล็อตขยาย (expansion bus) ช่องหนึ่งของเครื่อง PC เพื่อให้สามารถต่อสายของเครือข่ายเข้ามาและทำการติดต่อส่งข้อมูลกับเครือข่ายได้

         * ระบบการเดินสาย (Cabling System)

         ระบบการเดินสายจะเป็นสื่อที่เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจประกอบด้วยสายแบบต่าง ๆ คือ UTP/STP, Coaxial, Fiber Optic หรือแม้แต่การเชื่อมกันแบบไร้สายเช่น Infrared หรือสัญญาณวิทยุก็ได้

    1. Twisted-Pair Cable

         สายแบบคู่บิดเกลียว เป็นสายประเภทที่มีราคาถูกที่สุดที่ใช้เป็นสายส่งข้อมูลในระบบเครือซึ่งประกอบด้วยสายโลหะหุ้มฉนวน 2 เส้น พันบิดกันเป็นเกลียว สายโลหะแต่ละเส้นจะมีปริมาณการแทรกซ้อน (interference) จากสภาวะแวดล้อมสูง สัญญาณรบกวน (noise) ที่เกิดจากการแทรกซ้อนเหล่านี้จะถูกรวมกลายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาณที่ส่งไปด้วย แต่การบิดสายเป็นเกลียวจะช่วยลดสัญญาณรบกวนลงไปได้บ้าง สายแบบนี้มีหน่วยวัดเป็นจำนวนคู่สาย และเบอร์เกจ (guages) ตามมาตรฐาน AWG (American Wire Guage number) ซึ่งวัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางของโลหะ ตัวอย่างเช่น เส้นลวดโลหะขนาด 26 เกจ จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.01594 นิ้ว เป็นต้น สำหรับขนาดที่ใช้เป็นสายสัญญาณในระบบเครือข่าย นิยมใช้ขนาด 22 ถึง 24 เกจ สายแบบคู่บิดเกลียวมีอยู่ 2 ชนิด คือ

    1. สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นดังรูป เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
    2.  
                             
                               สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน

       

    3. สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair :UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่ประกอบด้วยสายโลหะหุ้มฉนวน 2 เส้น พันบิดกันเป็นเกลียว หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้นดังรูป ทำให้สะดวกในการโค้งงอแต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก

สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน

             สายคู่บิดเกลียว มักจะพันรวมกันเป็นกลุ่มตามจำนวนคู่สาย 2 เส้น จำนวนของคู่สายมีตั้งแต่ 2 ถึง 3,000 คู่ ระบบเครือข่าย LAN ส่วนมากจะใช้ขนาด 25 คู่สาย ระบบเครือข่าย LAN บางระบบมีการใช้สายแบบคู่บิดเกลียวชนิดที่ไม่มีชิลด์หุ้ม เหมือนกับที่ใช้เป็นสายโทรศัพท์ สายชนิดนี้มีราคาถูก แต่ระบบเครือข่ายบางระบบจะต้องใช้สายที่มีคุณภาพการส่งข้อมูลระดับสูง (high data-grade quality) เช่น ในระบบเครือข่ายโทเกนริง (Token Ring Network) ของ IBM จะใช้สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่มีชิลด์หุ้ม ชนิด 3 ขนาด 4 คู่สาย(Type 3 unshield twisted-pair) มีขนาดเป็น 22 AWG หรือ 24 AWG สายที่มีการบิดเกลียวมากจะช่วยลดการแทรกซ้อนได้

             ข้อจำกัดที่สำคัญของสายคู่บิดเกลียวคือ การถูกจำกัดด้วยระยะทาง และความไวต่อสภาพแทรกซ้อนทางไฟฟ้า อัตราเร็วในการส่งข้อมูลประมาณ 1 ล้านบิตต่อวินาทีได้ที่ระยะทางมีหน่วยเป็นร้อยฟุต ในปัจจุบันระบบเครือข่ายรุ่นใหม่อย่าง 10 BASE T ซึ่งมีเทคโนโลยีทันสมัยสามารถส่งข้อมูลที่อัตราเร็ว 10 Mbs บนสายคู่บิดเกลียวได้

2. Coaxial Cable

                                สายโคแอกเชียลเป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายทีวีที่มีการใช้งานกันมาก ไม่ว่าในระบบเครือข่ายเฉพาะที่ ในการส่งข้อมูลระยะไกลระหว่างชุมสายโทรศัพท์หรือการส่งข้อมูลสัญญาณวีดิทัศน์ มีราคาแพงกว่าสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียลจะมีฉนวนหุ้มป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสัญญาณรบกวนอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่ (Bandwidth) ที่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้กว้างถึง 500 Mhz  จึงสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง และส่งได้ระยะทางไกลกว่าสายคู่บิดเกลียว
 
ลักษณะของสายโคแอกเชียล

สายโคแอกเชียลที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด

Þ       Baseband Coaxial Cable ขนาด 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิตอล มี channel การส่งข้อมูลเพียง channel เดียว ในการส่งข้อมูล 1 ชุด 1 ครั้งจะใช้อัตราเร็วค่อนข้างสูงมาก เส้นผ่านศูนย์กลางของสายมีค่าประมาณ 3/8 นิ้ว สัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอลจะถูกส่งไปตามสายทีละบิตในลักษณะของอนุกรม ซึ่งอัตราเร็วในการส่งมีตั้งแต่ 10-80 Mbs ตามชนิดของระบบเครือข่ายที่ใช้ การติดตั้งสายประเภทนี้ทำได้สะดวกและการต่อสัญญาณที่สถานีงานใดๆ จะปลดหรือต่ออยู่จะไม่มีผลต่อการทำงานของระบบเครือข่าย ระยะทางที่ใช้ได้สูงสุด 3 กม.

Þ      Broadband Coaxial Cable  ขนาด 75 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณนาล็อก ซึ่งสามารถส่งสัญญาณหลายๆ แบบไปพร้อมกันโดยใช้เทคนิคการแปลงสัญญาณพาหะ (modulate) สัญญาณของแต่ละสถานีงานมีช่วงความถี่กำหนดแน่นอนเป็น channel ลักษณะของสายประเภทนี้จะคล้ายกับสายสัญญาณโทรทัศน์ ระบบนี้ใช้ได้ทั้งแบบสายเส้นเดียวต่อกับวงจรขยายสองทิศทาง (bidirectional amplifiers) และแบบสายสองเส้น การต่อทั้งสองแบบ สัญญาณพาหะจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์ศูนย์กลางที่เรียกว่า headend

3. Fiber Optic Cable

    เส้นใยนำแสง (fiber optic) เป็นการใช้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้ว ซึ่งสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมาก และสามารถส่งได้ระยะทางที่ไกลกว่าสายที่กล่าวมาทั้งหมด นอกจากนั้นเส้นใยแก้วนำแสงจะไม่มีการแทรกซ้อนของความถี่แม่เหล็กไฟฟ้า หรือความถี่คลื่นวิทยุเข้ามารบกวน ปัจจุบันถ้าใช้เส้นใยนำแสงกับระบบอีเธอร์เน็ตจะใช้ได้ด้วยความเร็ว 10 เมกะบิต ถ้าใช้กับ FDDI จะใช้ได้ด้วยความเร็วสูงถึง 100 เมกะบิต เส้นใยนำแสงมีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด ดังนั้น จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคาร ระยะความยาวของเส้นใยนำแสงแต่ละเส้นใช้ความยาวได้ถึง 2 กิโลเมตร เส้นใยนำแสงจึงถูกนำไปใช้เป็นสายแกนหลัก เส้นใยนำแสงนี้จะมีบทบาทมากขึ้น เพราะมีแนวโน้มที่จะให้ความเร็วที่สูงมาก
 
ลักษณะของสายไฟเบอร์ออฟติก

        เส้นใยแก้วนำแสง ประกอบด้วย ใยแก้วบริสุทธิ์ใช้ทำเป็นแกน แล้วล้อมรอบด้วยใยแก้วอีกชนิดหนึ่งทำเป็นเปลือก (cladding) ห่อหุ้มไว้ ใยแก้วทั้งสองชนิดนี้จะมีดัชนีการหักเหของแสงต่างกัน ทำให้แสงเดินทางไปตามสายสัญญาณได้โดยอาศัยการหักเหตามดัชนีเหล่านี้ บรเวณนอกสุดของสายจะมีฉนวนหุ้มไว้เพื่อป้องกันความเสียหาย

        ระบบเครือข่ายซึ่งใช้เส้นใยแก้วนำแสง จะใช้ไดโอดเปล่งแสง หรือ LED (light emitting diode) หรือเลเซอร์ไดโอด (laser diode) เป็นตังส่งสัญญาณผ่านเข้าไปยังแกนของสายสัญญาณ ระหว่างช่วงกลางๆของทางเดินของสายสัญญาณจะต้องมี ตัวทวนสัญญาณ (optical repeaters) เพื่อขยายสัญญาณให้ปลายทางรับได้โดยไม่ผิดพลาด ที่ปลายของสายสัญญาณอีกด้าน ข้อมูลจะถูกแปลงกลับมาเป็นสัญญาณดิจิตอล หรืออนาล็อกอีกครั้งโดยใช้โฟโต้-ไดโอด (photo-diode) เป็นตัวรับเส้นใยนำแสง มีด้วยกันหลายชนิดคือ

      Þ แบบเส้นใยแบบเดียว (monomode) มีค่า bandwidth กว้างมาก แต่การตัดแยกส่วนสายสัญญาณทำได้ยาก ต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคพิเศษ และตัวส่งสัญญาณจะต้องใช้เลเซอร์ไดโอดเท่านั้น ซึ่งมีราคาแพงมาก

      Þ แบบเส้นใยหลายแบบ (multimode) ค่า bandwidth แคบกว่ามาก แต่การตัดแยกส่วนสายสัญญาณทำได้ง่ายกว่า

      Þ แบบเกรดอินเด็กซ์ (graded index) สามารถส่งสัญญาณได้ที่อัตราเร็วสูงมากและส่งได้ระยะทางไกล แต่มีราคาแพงที่สุด

 

4. รังสีอินฟราเรดและคลื่นวิทยุ

        เนื่องจากการเดินสายเคเบิลสำหรับเครือข่าย LAN มักก่อปัญหาความยุ่งยากในเรื่องการติดตั้งและการดูแลรักษา รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ ทำให้มีหลายๆบริษัทผู้ผลิตพยายามพัฒนาการสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย LAN โดยวิธีรังสีอินฟราเรด และคลื่นวิทยุเป็นสื่อกลางในการส่งสัญญาณข้อมูล เครือข่าย LAN ชนิดที่ใช้รังสีอินฟราเรดเป็นสื่อกลางนั้นมีข้อจำกัดที่ว่าเส้นทางระหว่างจุดผู้ส่งและจุดผู้รับสัญญาณจะต้องตรงกัน จะมีวัตถุกั้นขวางระหว่างทั้งสองจุดไม่ได้ นอกจากนี้ในย่านรังสีอินฟราเรดยังมี bandwidth ที่แคบ ทำให้มีช่องทางการสื่อสารน้อย แต่อย่างไรก็ตามการสื่อสารด้วยวิธีนี้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วถึง 4-16 เมกะบิตต่อวินาที

         ส่วนเครือข่าย LAN ที่ใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อกลางในการส่งสัญญาณข้อมูลนั้นจะเป็นคลื่นวิทยุที่มีย่านความถี่อยู่ในช่วง 902-925 Hz ซึ่งเป็นย่านเดียวกันกับโทรศัพท์มือถือ การส่งสัญญาณจะใช้เทคนิคการส่งคลื่นวิทยุแบบ Spread Spectrum สัญญาณข้อมูลจะกระจายไปรอบๆเครื่องผู้ส่ง ทำให้จุดผู้รับไม่จำเป็นต้องอยู่ในแนวตรงกันกับจุดผู้ส่ง และสามารถส่งผ่านวัตถุที่ขวางกั้นอยู่ได้ แต่อัตราเร็วในการส่งจะต่ำกว่าการส่งด้วยรังสีอินฟราเรดคือประมาณ 2 เมกะบิตต่อวินาที

ทรัพยากรและอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน (Shared Resources and Peripherals)

         จะรวมถึงอุปกรณ์หน่วยความจำถาวร เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเทปที่ต่ออยู่กับเครื่อง Server ตลอดจนเครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งผู้ใช้ในเครือข่ายที่ได้รับอนุญาตสามารถใช้งานได้

โครงสร้างของระบบเครือข่าย LAN (Topology)

1.แบบ Bus

         เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณหลักที่เรียกว่า แกน หรือลำต้นหลัก (trunk) หรือแบ็คโบน (backbone) คือ กระดูกสันหลังของระบบนั่นเอง รูปแบบนี้จะใช้กันมากในระบบเน็ตเวิร์กชนิด Ethernet อันเป็นระบบแลนที่เห็นกันโดยทั่วไป และได้รับความนิยมสูง       

รูป Bus Topology

        ข้อดี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย

        ข้อเสีย อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ดต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์กซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้

    1. แบบ Ring
    2. เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบวงแหวนจะสื่อสารด้วยการส่งผ่านข้อมูลในทิศทางเดียวกันไปตามสายของเน็ตเวิร์ก ข้อมูลที่สื่อสารระหว่างโหนด 2 โหนดจะไหลไปในวงทีละโหนดเรื่อยๆจากโหนดที่ต้องส่งข้อมูล จนถึงโหนดที่ต้องการรับข้อมูล

      รูป Ring Topology

      ข้อดี ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

      ข้อเสีย หากโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก

    3. แบบ Star

         ระบบนี้จะมีเครื่องที่มีความสามารถสูง หรือที่เรียกกันว่า เซ็นทรัลโหนด (Central node) อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ และจัดการในการสื่อสารข้อมูลต่างๆ ของระบบ และจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานร่วมกันในระบบอยู่รอบๆ

รูป Star Topology

        ข้อดี ติดตั้งและดูแลง่าย แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหนดจะขาด โหนดที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ การมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหาย ทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใด

        ข้อเสีย เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น central node และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในสถานีงาน การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหนดอื่นๆ ทั้งระบบ

วิธีควบคุมการเข้าใช้งานสื่อกลาง (Media Access Control (MAC) Method)

         วิธีควบคุมการเข้าใช้งานสื่อกลาง (Media Access Control (MAC) Method) จะเป็นข้อตกลงที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านสื่อกลาง (ในที่นี้ก็คือสายเคเบิลของเครือข่ายแบบ LAN ) ซึ่งทุกโหนดในเครือข่ายจะต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน การทำงานจะเกิดอยู่ในส่วนของแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (NIC) และทำงานอยู่ในครึ่งท่อนล่างของ Data link Layer คือ ส่วนของ MAC Layer

         วิธีในการเข้าใช้งานสื่อกลางจะมีอยู่หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีข้อเสียและเหมาะสมกับโทโปโลยีต่าง ๆ กันไป ที่ในิยมใช้กันในปัจจุบัน คือ

 

CSMA/CD ( Carrier Sense Multiple Access/ Collision Detection )

         เป็นวิธีที่ทุก node ของเครือข่ายสามารถเห็นข้อมูลที่ไหลอยู่ในสายสื่อสารของเครือข่าย แต่จะมีแต่โหนดปลายทางที่ระบุไว้เท่านั้นที่จะทำการคัดลอกข้อมูลขึ้นไป ในการส่งข้อมูลด้วยวิธีนี้ ทุกโหนดที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการตรวจสอบสายสื่อสารว่าว่างหรือไม่ หากสายสื่อสารไม่ว่างโหนดก็ต้องหยุดรอและทำการสุ่มตรวจเข้าไปใหม่เรื่อย ๆ จนเมื่อสัญญาณตอบกลับว่าว่างแล้ว จึงสามารถส่งข้อมูลเข้าไปได้ แต่อย่างไรก็ดี อาจมีกรณีที่สองโหนดส่งสัญญาณเข้าไปพร้อม ๆ กัน ทำให้เกิดการชนกัน (collision ) ขึ้น หากเกิดกรณีนี้ทั้งสองฝ่ายจะต้องหยุดส่งข้อมูล และรออยู่ระยะหนึ่ง(ตามตัวเลขที่สุ่มได้จากสูตร) ซึ่งโหนดที่สุ่มได้ระยะเวลาที่น้อยที่สุดก็จะทำการส่งก่อน หากชนก็หยุดใหม่ ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะส่งได้สำเร็จ วิธีการใช้สื่อกลางชนิดนี้จะพบมากในโครงสร้างแบบบัส

Token Passing

         เป็นวิธีที่ใช้หลักการของ Token ซึ่งเป็นกลุ่มของบิตที่วิ่งวนไปตามโหนดต่าง ๆ รอบเครือข่าย แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบรัยข่าวสารที่ส่งมาถึงตนจากใน Token และในกรณีที่ต้องการส่งข้อมูลก็จะตรวจสอบว่า Token ว่างอยู่หรือไม่ หากว่างอยู่ก็จะทำการใส่ข้อมูลพร้อมระบุปลายทางเข้าไปใน Token นั้น และปล่อยให้ Token วิ่งวนต่อไปในเครือข่าย วิธีในการเข้าใช้สื่อชนิดนี้จะพบมากในโครงสร้างแบบบัส (Token Bus)และแบบวงแหวน (Token Ring)

โปรโตคอลของระบบเครือข่าย LAN (Network Protocol)

         โปรโตคอลของระบบเครือข่าย (Network Protocol) หรือที่นิยมเรียกกันว่า โปรโตคอลสแตก (Protocol Stack) ก็คือชุดของกฎหรือข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อให้แต่ละ Workstation ในเครือข่ายสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้อย่างถูกต้อง โดยโปรโตคอลของระบบเครือข่ายส่วนมากจะทำงานอยู่ในระดับ Network Layer และ Transport Layer ใน OSI Reference Model และทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่างแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (NIC) กับระบบปฎิบัติการเครือข่าย (NOS)

         ระบบเครือข่ายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะมีโปรโตคอลสแตกที่ได้รับความนิยมใช้งานกันอยู่หลายโปรโตคอล ซึ่งแต่ละโปรโตคอลก็จะใช้จัดการในงานของเครือข่ายคล้าย ๆ กัน และในกรณีที่ระบบเครือข่ายเชื่อมอยู่กับคอมพิวเตอร์หลายแบบ จะสามารถใช้งานหลาย ๆ โปรโตคอลสแตกพร้อมกันผ่านเครือข่ายได้ เช่น ใช้ IPX/SPX สำหรับ Netware และใช้ TCP/IP ในการติต่อกับ UNIX ผ่าน LAN แบบ Ethernet พร้อมๆ กัน เป็นต้น

          ตัวอย่างของโปรโตคอลสแตกที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน คือ

          NetBIOS และ NetBEUI

          โปรโตคอล NetBIOS ( Network Basic Input/ Output System) พัฒนาร่วมกันโดย IBM และ Microsoft มีการใช้งานอยู่ในเครือข่ายหลาย ๆ ชนิด อย่างไรก็ดี NetBIOS เป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ในระดับ Session Layer เท่านั้น จึงไม่ได้เป็นโปรโตคอลสำหรับเครือข่ายโดยสมบูรณ์ Microsoft จึงได้พัฒนาโปรโตคอล NetBEUI (NetBIOS Extended User Interface) ซึ่งเป็นส่วนขยายเพิ่มเติมของ NetBIOS ที่ทำงานอยู่ใน Network Layer และ Transport Layer จะพบการใช้งานได้ใน Windows for Workgroups และ Windows NT

          IPX/SPX

         เป็นโปรโตคอลของบริษัท Novell ซึ่งพัฒนาขึ้นมาใช้กับ Netware มีพื้นฐานมาจากโปรโตคอล XNS(Xerox Network Services) ของบริษัท Xerox โปรโตคอล IPX ( Internetnetwork Packet Exchange ) จะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ใน Network layer ใช้จัดการการแลกเปลี่ยน packet ภายใน Network ทั้งในส่วนของการหาปลายทางและการจัดส่ง packet ส่วน SPX (Sequenced Packet Exchange) จะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ใน transport layer โดยมีหน้าที่ในการจัดการให้ข้อมูลส่งไปถึงจุดหมายได้อย่างแน่นอน

          TCP/IP

         เป็นโปรโตคอลที่ได้รับการพัฒนามาจากทุนวิจัยของ U.S. Department of Defense’s Advanced Research Project Agency (DARPA) ได้รับการใช้งานกันมากใน Internet และระบบ UNIX แบบต่าง ๆ ทำให้อาจกล่าวได้ว่าเป็นโปรโตคอลที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ โดยมีการใช้งานมากทั้งใน LAN และ WAN โปรโตคอล TCP/IP จะเป็นชุดของโปรโตคอลซึ่งรับหน้าที่ในส่วนต่าง ๆ กัน และมีการแบ่งเป็น 2 ระดับ (Layer) คือ

1. IP Layer เป็นโปรโตคอลที่อยู่ในระดับต่ำกว่า TCP อาจเทียบได้กับ Network Layer ใน OSI Reference Model ตัวอย่างของโปรโตคอลที่อยู่ในระดับนี้คือ IP(Internet Protocol ), ARP (Address Resolution Protocol) , RIP ( Routing Information Protocol) เป็นต้น

2. TCP Layer เป็นโปรโตคอลที่อยู่ในระดับสูงกว่า IP เทียบได้กับ Transport Layer ของ OSI Reference Model ตัวอย่างโปรโตคอลใน Layer นี้ เช่น TCP (Transmission Control Protocol), UDP (User Datagram Protocol) เป็นต้น

   

OSI

NetWare

UNIX

LAN Manager

Transport

SPX

TCP

NetBEUI

Network

IPX

IP


Data-Link

LAN drivers

MAC (CSMA/CD, Token Passing)

Physical

Media (Star, Bus, Ring etc. + UTP, STP etc.)

ตารางที่ ***** เปรียบเทียบโมเดลของโปรโตคอล

มาตรฐานของระบบเครือข่าย LAN

           การออกแบบการเชื่อมต่อของระบบ LAN จะต้องคำนึงถึงลักษณะโครงสร้าง (Topology) สื่อกลาง (Media) และวิธีในการเข้าใช้สื่อกลาง (Media Access Method) ซึ่งจะมีความเหมาะสมในการนำมาประกอบกันเพื่อใช้งานแตกต่างกันไป อย่างไรก็ดี เพื่อให้การเชื่อมต่อระบบ LAN มีมาตรฐานและสามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวาง ทำให้มีองค์กรกำหนดมาตรฐานได้กำหนดมาตรฐานของระบบเครือข่ายแบบต่างๆ ออกมา ซึ่งมาตรฐานที่ได้การยอมรับและมีการใช้งานอย่างกว้างขวางมีดังนี้

IEEE 802.3 และ Ethernet

           ระบบเครือข่ายแบบ Ethernet ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซีรอกซ์ในปลายทศวรรษ 1970 และ ในปี 1980 บริษัท Digital Equipment, Intel และ Xerox ได้ร่วมกันออกระบบ Ethernet I ซึ่งใช้งานกับสาย coaxial และต่อมาในปี 1985 ก็ได้ทำการพัฒนาเป็น Ethernet II ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายที่ถูกใช้งานมากที่สุดแบบหนึ่ง จากนั้นองค์กรมาตรฐาน IEEE ( Institute of Electrical and Electronics Engineers ) จึงได้ออกข้อกำหนดมาตรฐาน 802.3 โดยใช้ Ethernet II เป็นรากฐาน โดยมีจุดแตกต่างจาก Ethernet I เล็กน้อย แต่หลักการใหญ่ๆ จะคล้ายคลึงกัน คือ ใช้ Access Method แบบ CXMA/CD และใช้ Topology แบบBus หรือ Star (Ethernet II จะเป็น Bus เท่านั้น)

           นอกจากนี้มาตรฐาน IEEE 802.3 ยังได้ร่างมาตรฐานการใช้สื่อในระดับกายภาพ (Physical Layer) แบบต่างๆ ทำให้สามารถใช้สายเคเบิลในระดับกายภาพได้หลายแบบ โดยไม่ต้องเปลี่ยนในส่วนของ Data link Layer ขึ้นไป เช่น 10Base5 , 10BaseT โดย “10” หมายถึงความเร็ว 10Mbps ส่วน Base หมายถึง Baseband (“Broard” คือBroadband) และในส่วนสุดท้ายนี้ ในช่วงแรก “5” หมายถึงระยะไกลสุดที่สามารถเชื่อมต่อมีหน่วยเป็นเมตรคูณร้อย ในที่นี้คือ 500 เมตร แต่ต่อมาได้มีการใช้ความหมายของส่วนนี้เพิ่มเติมเป็นชนิดของสายเช่น T หมายถึงใช้สาย Twisted Pair และ “F” หมายถึง Fiber ดังสรุปในตาราง


Ethernet

IEEE 802.3

10Base5 10Base2 1Base5 10BaseT 10Broad36

Data rate (Mbps)

10

10 10 1 10 10

Signaling method

Baseband

Baseband Baseband Baseband Baseband Broadband

Max. Segment

Length (m)

500

500 185 250 100 1800??

Media

50-ohm

coax(thick)

50-ohm 50-ohm UTP UTP 75-ohm

coax(thick) coax(thick) coax

Topology

Bus

Bus Bus Star Star Bus

ตารางที่ ***** ลักษณะทางกายภาพของ Ethernet V2.0 และ IEEE 802.3

          ในปัจจุบันนี้ ยังมีมาตรฐาน IEEE 802.3u ซึ่งได้ขยายครอบคลุมความเร็วระดับ 100 Mbps ด้วย นั่นคือ มาตรฐาน Fast Ethernet โดยจะประกอบด้วย 100BaseTX ซึ่งเป็นการใช้สาย UTP Category 5 เชื่อมต่อได้ไกล 100 เมตรต่อเซกเมนต์ และ 100BaseFX ซึ่งใช้สาย Fiber Optic เชื่อมต่อได้ไกลถึง 412 เมตรต่อเซกเมนต์ นอกจากนี้ทาง IEEE ยังกำลังพิจารณาร่างมาตรฐาน 802.3z หรือ Gigabit Ethernet โดยจะทำการขยายความเร็วในการเชื่อมต่อขึ้นไปถึง 1000 Mbps (1 Gigabit / seconds)

IEEE 802.4 และ Token Bus

           ระบบเครือข่ายแบบ Token Bus จะใช้ Access Protocol แบบ Token Passing และ Topology ทางกายภาพเป็นแบบ Bus แต่จะมีการใช้โทโปโลยีทางตรรกเป็นแบบ Ring เพื่อให้แต่ละโหนดรู้จักตำแหน่งของตนเองและโหนดข้างเคียง จึงทำาการส่งผ่าน Token ได้อย่างถูกต้อง

IEEE 802.5 และ Token Ring

           ระบบเครือข่ายแบบ Token Ring ได้รับการพัฒนาโดย IBM จะใช้ Access Method แบบ Token Passing และ Topology แบบ Ring สามารถใช้ได้กับทั้งสาย STP, UTP, Coaxial และ Fiber Optic มาตรฐานความเร็วจะมี 2 แบบ คือ 4 Mbps และ 16 Mbps

มาตรฐาน FDDI

           มาตรฐาน FDDI (Fiber Distributed Data Interface) เป็นมาตรฐานโปรโตคอลแบบเดียวกับโปรโตคอล Token Ring เพียงแต่ไม่ได้บรรจุอยู่ในมาตรฐาน IEEE 802 เท่านั้นเอง ลักษณะของกลุ่มบิตข้อมูลที่ใช้ส่งผ่านไปในวง RING ก็เป็นเช่นเดียวกันกับที่ส่งใน IEEE 802.5 : Token Ring เพียงแต่ว่าสามารถส่งด้วยอัตราเร็วที่สูงกว่า เพราะว่าสายสื่อสารที่ใช้เป็นสายไฟเบอร์ออปติก ซึ่งทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที มาตรฐาน FDDI มักจะนำมาใช้ในการเชื่อมต่อระหว่าง Ring 2 วงเข้าด้วยกันมากกว่าที่จะนำมาใช้สื่อสารภายใน Ring เพราะว่าสายไฟเบอร์ออปติกนั้นมีราคาแพง และยังต้องใช้อุปกรณ์พิเศษราคาแพงในการติดตั้ง และการติดตั้งก็ต้องใช้เทคนิคสูง

ชนิดของ LAN

1.ARCnet (Attached Resource Computer network)

             เป็นระบบเน็ตเวิร์กแบบ baseband ที่ใช้วิธีการ token passing คือแต่ละโหนดสามารถใช้งานเน็ตเวิร์กได้ก็ต่อเมื่อได้รับ token ซึ่งส่งมาจากโหนดอื่น ARCnet เป็นเน็ตเวิร์กที่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง อาจเป็นเพราะมันสามารถรองรับโหนดได้จำกัดเพียง 255 โหนด ซึ่งค่อนข้างเหมาะสมสำหรับระบบ LAN ที่มีขนาดเล็ก ARCnet สามารถใช้การเดินสายหรือ Topology ได้ทั้งแบบบัสและแบบสตาร์ ARCnet สอดคล้องกับมาตรฐานของ IEEE 802.4 แต่ทว่าไม่เหมือนกันทีเดียวนัก

2.Ethernet

             เป็นเน็ทเวิร์กแบบที่ใช้งานกันมากที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ โดยอาศัยการผ่านสัญญาณแบบ baseband เป็นหลัก สำหรับการเชื่อมต่อ จะมีโทโพโลยีทั้งแบบบัสที่ต่อกันเป็นแนวตรง และแบบสตาร์ ที่แต่ละโหนดจะเชื่อมต่อกับ hub ซึ่งอยู่ตรงกลางและสามารถเชื่อมต่อกันเองได้อีก แต่ทุกๆแบบของ Ethetnet นี้จะอาศัยกลไกควบคุมการจราจร และการเข้าใช้งานเน็ตเวิร์กที่เรียกว่า CSMA/CD (Carrier-Sense Multiple Access with Collision Detection) ที่จะสอดคล้องกับมาตรฐาน IEEE 802.3

รูป Ethernet

3.Token Ring

               แต่ละโหนดในเน็ตเวิร์ก จะใช้ packet ของข้อมูลที่เรียกว่า token ในการตัดสินว่าโหนดใดจะได้รับสิทธิในการส่งข้อมูล ในระบบ LAN ที่ใช้เครื่องพีซีเป็นหลัก จะมีการใช้งาน Token Ring มากที่สุดในระบบ เพื่อให้เครื่องพีซีสามารถเชื่อมต่อกับเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ได้ สถาปัตยกรรม Token Ring นี่จะเป็นต้นแบบของมาตรฐาน IEEE 802.5

รูป Token Ring

Hardware ของระบบเครือข่าย LAN

* แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย

               แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่ายหรือบางครั้งเขียนโดยย่อว่า NIC ( Network Interface Card ) หรือบางครั้งเรียกว่า การ์ดแลน เป็นอุปกรณ์ที่เป็นแผงวงจรสำหรับเสียบเข้าช่องต่อขยาย ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อต่อสายของเครือข่ายเข้ามาและทำการติดต่อส่งข้อมูลกับเครือข่ายได้

* HUB (ฮับ)

              แนวโน้มที่สำคัญของอุตสาหกรรมระบบเครือข่ายในการเลือกใช้อุปกรณ์การวางสายสัญญาณ นั่นคือการใช้ “ ไวริงฮับ” (wiring hub) แต่โดยส่วนใหญ่ รวมทั้งในที่นี้มักนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า “ Hub ” อันเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้สามารถจัดการระบบการวางสายเป็นแบบศูนย์กลางได้ (เป็นการเชื่อมสายสัญญาณจากหลาย ๆ จุดเข้าเป็นจุดเดียวในโทโปโลยีของ LAN แบบ star )

Hub แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

    1. Passive Hub เป็นฮับที่ไม่มีการขยายสัญญาณใด ๆ ที่ส่งผ่านมา มีข้อดี คือ ราคาถูก และ ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า
    2. Active hub ทำหน้าที่เป็นเครี่องทวนซ้ำสัญญาณ (repeater) ในตัว นั่นคือจะขยายสัญญาณที่ส่งผ่านมาทำให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านสายเคเบิลได้ไกลขึ้น และเนื่องจากต้องทำการขยายสัญญาณทำให้ Active Hub ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าด้วย จึงเป็นข้อเสียที่ต้องมีปลั๊กไฟในการใช้งานเสมอ

*  ระบบการสำรองข้อมูลของระบบเครือข่าย

          ระบบเครือข่ายเป็นที่ซึ่งเก็บข้อมูลอันมีค่าเอาไว้ ดังนั้นเพื่อความมั่นใจจึงอาจจำเป็นต้องมีระบบการทำสำรองข้อมูลเก็บเอาไว้ด้วย ซึ่งมีวิธีการสำรองอยู่หลายวิธีด้วยกัน วิธีการทำการสำรองข้อมูลที่ได้รับความนิยมที่สุดในปัจจุบันคือ การทำสำรองด้วยเทปสำรองข้อมูล ( QIC : quarter – inch cartridge ) เป็นการสำรองที่เสียค่าใช้จ่ายไม่สูง และมีความน่าเชื่อถือเป็นที่น่าพอใจ แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดความจุที่สามารถรองรับข้อมูลได้เพียง 150 เมกะไบต์ ซึ่งหากใช้กับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ๆ จะเป็นปัญหาที่สำคัญมากปัญหาหนึ่ง ดังนั้นในระบบเครือข่ายขนาดใหญ่มักจะใช้ระบบการสำรองข้อมูลแบบ เทปดิจิตอล หรือ DAT (digital audio tape ) สามารถรองรับขนาดข้อมูลได้มากถึง 5 กิกะไบต์ และมีความเร็วสูงกว่าเทป QIC มาก

*  คลังข้อมูลของระบบเครือข่ายและ RAID

           ผู้จัดการระบบเครือข่ายที่ให้ความสนใจในเรื่องของการทนต่อความบกพร่องของระบบเครือข่ายแลนมักจะต้องการอย่างน้อยว่า หากไดรฟ์เกิดเสียหายหรือทำงานผิดปกติ ข้อมูลที่มีอยู่จะต้องไม่เสียหายหรือหายตามไปด้วย ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีวิธีการที่จะรองรับเหตุการณ์นี้ และได้รับความนิยม คือ ระบบ RAID (redundant array of inexpensive disks) ระบบ RAID นี้ประกอบด้วยดิสก์ไดร์ฟหลาย ๆ ตัวที่ต่อขนานทำงานควบคู่กันไป โดยอาศัยแนวทางง่าย ๆ ด้วยการใช้ดิสก์ไดร์ฟให้มากเกินจำนวนใช้งานจริง แล้วใช้ส่วนที่เกินนี้เก็บบิตพาริตี้ หรือข้อมูลพิเศษกระจายกันออกไป เพื่อที่เมื่อดิสก์ไดรฟ์ใดเกิดเสียหายก็จะนำข้อมูลพิเศษนี้มาร่วมกันก่อข้อมูลขึ้นมาใหม่ เพื่อทดแทนข้อมูลในดิสก์ไดรฟ์ที่เสียหายโดยไม่เกิดการสูญหายของข้อมูล

* UPS ของระบบเครือข่าย

          ระบบเครือข่ายแลนต้องการความปลอดภัย เช่นในกรณีไฟฟ้าดับ ผู้บริหารระบบเครือข่ายก็ไม่ต้องการที่จะให้ข้อมูลต้องสูญหายไปด้วย UPS ( uninterruptible power supply ) เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยรองรับปัญหานี้ได้ กล่าวคือ UPS จะมีแบตเตอรี่อยู่ภายในตัวมันเอง เพื่อคอยจ่ายไปสำรองในกรณีที่ไฟดับ

UPS มีอยู่ 2 แบบคือ

       1. standby UPS เป็น UPS จะจ่ายไฟเลี้ยงสำรองก็ต่อเมื่อไฟฟ้าดับไปแล้วจริง ๆ เท่านั้นซึ่งอาจจะมีช่วงสะดุดบ้างเล็กน้อยในช่วงก่อนที่ UPS จะเริ่มจ่ายไฟออกมาได้

       2. online UPS เป็น UPS ที่เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อโดยตรงกับไฟล์เซิร์ฟเวอร์และระบบที่มีการใช้งานอยู่ตลอดเวลา UPS แบบนี้จะทำงานโดยไฟฟ้าที่ UPS จ่ายไฟจากแบตเตอรี่ของ UPS ตลอดเวลา โดย Ups จะรับไฟบ้านเข้าเข้ามาเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ของตน และจ่ายไฟจากแบตเตอรี่นี้ออกไปอีกทอดหนึ่ง ทำให้เกิดผลดีในแง่ที่ช่วยกรองความสกปรกในไฟบ้านให้ด้วย และการจ่ายไฟสำรองก็ไม่สะดุด และสามารถรักษาระดับไฟได้ดีกว่าแบบ standby UPS แต่จะแพงกว่าแบบ standby UPS

*  Software ของระบบเครือข่าย LAN

             ผลสืบเนื่องจากการติดตั้งระบบเครือข่าย LAN ขึ้นมาใช้ในบริษัทส่วนใหญ่ มักพบว่าอาจต้องเลือก software ตัวใหม่ที่ถูกออกแบบขึ้นมาสำหรับใช้งานในระบบเครือข่าย โดยเฉพาะกับระบบเครือข่าย LAN ที่ติดตั้งขึ้นมา

*  MS-Dos

             MS-Dos รุ่น 3.1 เป็นต้นไปเอื้ออำนวยให้สามารถใช้งานระบบเครือข่าย LAN เป็นแบบ multi-user เนื่องจากสามารถล็อคไบต์ข้อมูลได้ ซึ่ง software ที่เป็นแบบ single-user จะขาดคุณลักษณ์ในการล็อคเรกคอร์ดเมื่อใช้บนเครือข่าย LAN และอาจถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

* Client/Server ภายใต้ OS/2

             ไฟล์ server จะรันโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นส่วนบริการการจัดการฐานข้อมูลให้แก่โปรแกรมประยุกต์ที่รันบน workstation ของระบบเครือข่ายอีกทอดหนึ่ง

* Word processing

             คุณลักษณ์ของ Word processing ที่ใช้งานบนระบบเครือข่ายมีมากมายหลายคุณลักษณ์ คุณลักษณ์ที่สำคัญๆ อันมีประโยชน์โดยเพาะกับผู้ใช้งานระบบเครือข่ายได้แก่ ความสามารถในการแสดงรูปแบบของเอกสารออกมายังจอภาพได้สมจริงสมจังกับที่จะปรากฎออกมาในการพิมพ์ สามารถกำหนดรูปแบบเอกสารได้หลากหลายแบบ แก้ไขเอกสารได้หลายๆ ชุด สามารถทำจดหมายเวียนได้

* Spreadsheet

             เป็นโปรแกรมที่เหมาะกับการคำนวณงบประมาณ การวิเคราะห์ทางการเงิน หรืองานที่คำนวณตัวเลขซับซ้อน การใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายนั้น ผู้บริหารระบบเครือข่ายมักมีหน้าที่คอยให้บริการให้การใช้งานโปรแกรม Spreadsheet บนระบบเครือข่ายเป็นไปด้วยความง่ายและสะดวก

* ข่าวสาร Electronic

             โปรแกรมข่าวสาร Electronic ในปัจจุบันมีความสามารถครอบคลุมถึงการส่งจดหมายจากระบบเครือข่ายหนึ่งไปยังระบบเครือข่ายอื่นๆ หรือแม้กระทั่งทั่วโลก ส่วนใหญ่โปรแกรมจะถูกออกแบบมาให้สามารถรองรับการสื่อสารภายในสำนักงาน และต่างสำนักงาน และเชื่อมโยงผู้ใช้งานระบบเครือข่ายแต่ละระบบเข้ากับผู้ใช้งานระบบเครือข่ายอื่นทั่วโลก

*  Groupware

             เป็น software แบบพิเศษที่อนุญาตให้ผู้ใช้หลายๆ คนสามารถทำงานบนเอกสารชุดเดียวกัน และเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน เช่น ซอฟแวร์ ForComment ของ Computer Associate, โปรแกรม Aspect ของ Group Technologies, โปรแกรม Notes เป็นต้น

*  Fax Server

             คือศูนย์บริการโทรสารที่เอื้ออำนวยให้สถานีงานต่างๆ ในระบบเครือข่ายสามารถส่งโทรสารออกไปได้ ในทางกลับกันก็สามารถรับโทรสารและกระจายออกไปให้สถานีงานแต่ละสถานีตามที่ระบุไว้ได้อีกด้วย Fax Server บางระบบสามารถทำงานร่วมกับจดหมาย Electronic ได้ด้วย

*  ชนิดของระบบเครือข่าย LAN แยกตามบริษัท

             เมื่อมีการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านแลนทำได้รวดเร็วและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันได้มาก บริษัทผู้ผลิตแลนจึงมีโปรแกรมจัดระบบงานเพื่อดำเนินงานพื้นฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันให้ได้มาตรฐานมากขึ้น มีการกำหนดมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่าโปรโตคอล และเป็นที่นิยมจนมีผู้นำไปประยุกต์ใช้งานต่อได้มาก ในบรรดามาตรฐานของแลนจึงมีมาตรฐานทั้งรูปแบบการเชื่อมต่อ การใช้สายสัญญาณแบบต่าง ๆ กัน ใช้โปรโตคอลต่างกัน ทั้งหมดก็มีผู้ผลิตจำนวนมากสนับสนุน

*  ระบบเครือข่ายแบบเท่าเทียมของ Artisoft

             LANtastic เป็นระบบปฎิบัติการเครือข่ายแบบเท่าเทียมของ Artisoft ที่เอื้ออำนวยให้สถานีงานของระบบเครือข่ายแต่ละเครื่องสามารถทำการแบ่งปันร่วมใช้ทรัพยากรต่างๆ สำหรับบริษัทที่ไม่ต้องการการรักษาความปลอดภัยสูงมากนัก และไม่ต้องการคุณลักษณะอื่นๆ ที่มีในระบบเครือข่ายแบบที่ต้องใช้ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ ระบบเครือข่ายLAN แบบเท่าเทียมเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าเลือกใช้ เนื่องจากราคาที่ไม่แพงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้รับ

* ระบบเครือข่ายแบบ LAN เท่าเทียมของแมคอินทอช

ประกอบด้วย

Þ             LocalTalk เป็นส่วนเชื่อมต่อระบบเครือข่ายของ Apple ที่บรรจุมาด้วยในเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลแมคอินทอชและเครื่องพิมพ์ Laser Writer LocalTalk มีหน้าที่คอยควบคุมกายภาพในการรับส่งข้อมูลภายในระบบเครือข่าย หรือการเข้าถึงสื่อ สามารถส่งข้อมูลได้ที่อัตราความเร็ว 230.4 กิโลบิตต่อวินาที โดยการเข้าถึงสื่อด้วยวิธีการ CSMA/CD และใช้สายสัญญาณแบบคู่บิดเกลียวมีชิลด์ ที่ Apple เป็นผู้กำหนดขึ้นเอง

Þ             EtherTalk ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้สามารถใช้โปรโตคอล AppleTalk บนเครือข่าย LAN ที่ใช้โทโปโลยีแบบอีเทอร์เน็ตได้

Þ             TokenTalk พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้สามารถใช้โปรโตคอล AppleTalk บนเครือข่าย LAN ที่ใช้โทโปโลยีแบบโทเคนริงได้

* ระบบเครือข่ายแบบ LAN เท่าเทียมของ Novell

             NetWare Lite เป็นระบบปฎิบัติการเครือข่ายแบบเท่าเทียมของ Novell ที่มีความสามารถสูง ใช้งานง่าย ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในระบบที่มีจำนวนเครื่อง 2-25 เครื่อง โดยหนึ่งในเครื่อง PC ทั้งหลายต้องมี hard disk ติดตั้งอยู่ด้วย โดยเฉพาะเครื่องที่จะใช้ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์

             หากเซิร์ฟเวอร์ล่มหรือทำงานผิดปกติ NetWare Lite มีความสามารถในการพยายามเชื่อมโยงต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ใหม่อีกครั้ง และสามารถเรียกค่ารายละเอียดโครงแบบของระบบเครือข่ายกลับคืนมาได้โดยข้อมูลไม่สูญหายในกรณีที่ปิดเครื่อง PC ของระบบเครือข่าย ในการติดต่อระบบเครือข่ายนั้น Novell ได้จัดเตรียมการเข้าถึงไว้ทั้งด้วยการใช้เมนูแบบ Windows และแบบใช้คำสั่ง Net สั่งที่พรอมต์ของ DOS

* ระบบเครือข่ายแบบ LAN เท่าเทียมของ Microsoft

             Windows for Workgroups เป็นระบบปฎิบัติการเครือข่ายแบบเท่าเทียมของ Microsoft ที่มีการติดต่อกับผู้ใช้เป็นแบบรูปภาพเช่นเดียวกับ Windows สามารถทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้ enhanced mode หมายความว่าเครื่อง PC ต้องเป็นเครื่องที่ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์อย่างต่ำเบอร์ 386SX ขึ้นไป ถ้าเบอร์ต่ำกว่านี้ไม่สามารถทำงานใน enhanced mode ได้ต้องใช้งานใน real mode ซึ่งเป็นโหมดที่ Windows for Workgroups ทำงานได้ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพมากนัก และในภาคของการใช้ระบบเครือข่ายนั้นจะทำได้แค่แบ่งทรัพยากรของตนออกไปให้ผู้อื่นใช้ได้ แต่ไม่สามารถเข้าถึงหรือร่วมใช้ทรัพยากรต่างๆ ของผู้อื่นได้

* การจัดการและควบคุมระบบเครือข่าย LAN

หลักการจัดการบนระบบเครือข่าย

              หน้าที่หลัก 5 ประการของการจัดการระบบเครือข่าย คือ

    1. การจัดการองค์ประกอบของระบบ (Configuration Management)
    2. การจัดการในกรณีระบบเสียหาย (Fault management)
    3. การจัดการเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบ (Performance management)
    4. การจัดการด้านความปลอดภัยของระบบ (Security management)
    5. การจัดการบัญชีค่าใช้จ่ายของระบบ (Accounting management)

     

    1. การจัดการองค์ประกอบของระบบ (Configuration Managemet)

         การจัดการองค์ประกอบของระบบ (Configuration Management) ประกอบด้วยการรวบรวมว่ามีอุปกรณ์อะไรต่ออยู่กับระบบเครือข่ายบ้าง และจัดเก็บรายละเอียดเหล่านั้นไว้ในฐานข้อมูล ซึ่งสามารถดูได้อย่างสะดวก ภายในฐานข้อมูลประกอบไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ที่สำคัญ ในปัจจุบันมีโปรแกรมที่มีหน้าที่จัดการฐานข้อมูลเหล่านี้ เรียกว่า “Network Inventory Program” ข้อมูลที่โปรแกรมนี้สามารถเรียกมาดูได้ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับรายละเอียดของสถานีงานแต่ละเครื่อง ได้แก่

         ข้อดีของการจัดเก็บรายละเอียดต่างๆ ในฐานข้อมูลคือ ผู้จัดการระบบเครือข่ายสามารถสร้างรายงานแสดงองค์ประกอบของระบบ เพื่อวางแผนในอนาคตได้

      2. การจัดการในกรณีระบบเสียหาย (Fault Management )

          การจัดการในกรณีระบบเสียหาย หรือ Fault Management เกี่ยวกับการจัดทำเอกสาร และรายงานต่างๆ ของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับระบบเครือข่าย เช่น ผู้จัดการระบบต้องการทราบว่า มีแพ็คเกตข้อมูลที่ผิดรูปแบบและส่งไปแล้ว เป็นจำนวนเท่าใด, มีการส่งแพ็คเกตข้อมูลระบบเครือข่ายอีเธอร์เน็ต ซ้ำอยู่กี่เครื่อง หรือมีสถานีงานเครื่องใดส่งสัญญาณแจ้งเตือนออกมาบ้างหรือไม่ เป็นต้น

          ผู้จัดการระบบเครือข่ายอาจใช้โปรแกรมsoftware เพื่อช่วยในการจัดการนี้ได้ ตัวอย่างของโปรแกรมดังกล่าว คือ โปรแกรม Frye Utilities for Networks ซึ่งประกอบด้วยระบบการตรวจสอบระบบเครือข่าย NetWare ในลักษณะ NetWare Early Warming System โดยผู้จัดการระบบเครือข่ายอาจจะปรับค่า threshold ของโปรแกรมให้เหมาะสม เพื่อตรวจสอบระบบและจะมีการแจ้งเตือน หากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น :

           โปรแกรมดังกล่าวสามารถแจ้งเตือนมายังผู้จัดการระบบเครือข่ายได้ 2 วิธี วิธีที่หนึ่งใช้การแสดงผลเป็นข้อความ 25 บรรทัดบนจอภาพของผู้จัดการระบบ วิธีที่ 2 ใช้การส่งE-mail มาให้โดยอัตโนมัติ ถ้าหากมีการติดตั้งโปรแกรมการส่ง E-mail บนระบบเครือข่ายอยู่แล้ว ผู้จัดการระบบจะได้ยินเสียงบี๊ป และมีข้อความบอกว่ามีการส่ง E-mail มา แสดงว่าเกิดสิ่งผิดปกติกับระบบ

      3. การจัดการเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบ (Performance management)

หน้าที่ที่สำคัญอีกข้อหนึ่งของผู้จัดการระบบเครือข่าย คือ การดูแลระบบให้ทำงานได้อย่างประสิทธิภาพมากที่

สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ใช้งานหรือ เกี่ยวกับระบบ ตัวอย่างเช่น ในกรณีของผู้ใช้งานรายใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งานระบบเครือข่ายการเข้าสู่ระบบ และเรียกใช้งานโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ อาจทำให้ผู้ใช้งานคนนั้นสับสน และเสียเวลาไม่น้อย ในกรณีนี้ ถ้าหากเป็นเครื่องที่ใช้software ระบบเครือข่ายของ IBM ผู้จัดการระบบก็ควรจะสร้างแบตช์ไฟล์ เพื่อให้สะดวกในการเรียกใช้งานต่าง ๆ เพียงครั้งเดียว แต่ถ้าหากระบบเครือข่ายที่ใช้เป็น NetWare ก็ยิ่งสะดวกใหญ่ เพราะ NetWare มีการทำ login Scripts ซึ่งมีลูกเล่นค่อนข้างมากทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถสร้างสคริปต์คำสั่งสำหรับผู้ใช้งานให้เรียกใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น

         ผู้จัดการระบบเครือข่ายสามารถตรวจสอบดูประสิทธิภาพของระบบได้จากสถิติต่างๆ ของการรับส่งข้อมูลบนระบบเครือข่าย (Network Traffic Statistics) รวมทั้งสถิติอื่นๆ ได้

         ตัวอย่างของโปรแกรมที่ใช้ตรวจดูสถิติการใช้ตรวจดูสถิติการใช้งานระบบเครือข่าย ก็คือ โปรแกรม Watchdog ของบริษัท Network General โปรแกรมนี้จะต้องใช้งานร่วมกับฮาร์ดแวร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นแผงวงจรเสียบลงบนสถานีงานที่ใช้software โปรแกรมนี้รันอยู่ แผงวงจรดังกล่าวจะถูกเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย เพื่อตรวจจับข้อมูลต่าง ๆ ตามเวลาที่ใช้งานจริง Watchdog มีการแสดงรายละเอียดของสถิติต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบ ทั้งเป็นข้อความและภาพกราฟฟิคส์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้จัดการระบบสามารถเรียกดูสถิติต่างๆ ได้อย่างสะดวก

         สถิติและรายงานที่ Watchdog แสดงออกมา เช่น การระบุถึงสถานีงานที่ผลิตแพ็คเกตผิดพลาด, การแสดงความหนาแน่นของข้อมูลที่ส่งไปมาระหว่างไฟล์เซิร์ฟเวอร์ กับศูนย์บริการการพิมพ์ หรือความหนาแน่นของข้อมูลที่ส่งไปมาระหว่างสถานีงานสองเครื่อง ( เพื่อตรวจสอบดูว่าเกิดปัญหาจุกคอขวด หรือ bottlenecks ซึ่งจะทำให้ข้อมูลแออัดเกินไปหรือไม่) เป็นต้น

         ข้อดีอีกอย่างของการดูสถิติเหล่านี้คือการเปรียบเทียบสถิติแต่ละช่วงเวลาแล้วบันทึกเป็น benchmark เพื่อนำมาเปรียบเทียบดูหาสาเหตุที่ระบบทำงานช้าลง นอกจากนี้แล้ว Watchdog ยังมีการทำงานแบบ cable test function เพี่อให้ผู้จัดการระบบใช้ตรวจสอบส่วนประกอบของระบบเครือข่ายเป็นช่วง ๆ (network segment) สำหรับดูว่าเกิดปัญหาจากสายสัญญาณหรือไม่

    1. การจัดการด้านความปลอดภัยของระบบ (Security management)

การจัดการด้านความปลอดภัยของระบบ มีดังนี้

* การจำกัดจำนวนของผู้ใช้งานบนระบบเครือข่าย

       ผู้จัดการระบบเครือข่ายสมารถใช้ความสามารถพิเศษ ที่มีอยู่ในระบบปฎิบัติการบนระบบเครือข่ายส่วนใหญ่ ในการจำกัดการเรียกใช้งานไดเรคทอรี่ หรือไฟล์ที่สำคัญ โดยผู้ใช้งานต่าง ๆ ไดเรคทอรี่สามารถทำการซ่อน (hidden) ไว้ได้ ดังนั้นเวลาที่ผู้ใช้เหล่านั้นเรียกคำสั่ง DIR ก็จะมองไม่เห็นไดเรคทอรี่ดังกล่าว เช่นเดียวกัน ถ้าหากผู้จัดการระบบเครือข่าย ไม่ได้กำหนดสิทธิในการอ่านและค้นหาไดเรคทอรี่ที่ระบุให้กับผู้ใช้งานผู้ใช้เหล่านั้นก็จะมองไม่เห็นไฟล์ในไดเรคทอรี่ดังกล่าว เมื่อใช้คำสั่ง DIR นอกจากนี้ ผู้จัดการระบบยังสามารถจำกัดสิทธิในการใช้งานไฟล์ต่าง ๆ ภายในไดเรคเทอรี่ได้อีกด้วย

       ผู้จัดการระบบเครือข่ายสามารถใช้รหัสผ่านสำหรับให้ผู้ใช้งานใส่ให้ถูกต้องเสียก่อนจึงจะเข้าสู่ระบบได้ และรหัสผ่านนี้จะแตกต่างกันไปบนไฟล์เซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่อง ยังมีวิธีการอยู่หลายวิธีที่ผู้จัดการระบบเครือข่าย สามารถใช้ในการป้องกันโดยรหัสผ่าน

* การป้องกันจากผู้ที่ไม่มีสิทธิเข้าระบบเครือข่าย

       ระบบรักษาความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย มักทำได้ยากในกรณีที่เป็นผู้ใช้งานแบบระยะไกล การป้องกันในระดับที่หนึ่ง และอาจเพิ่มด้วยการกำหนดจำนวนครั้งของการใส่รหัสผ่าน ถ้าหากมีการใส่รหัสผ่านผิดเป็นจำนวนครั้งที่กำหนด ผู้ใช้งานคนนั้นก็จะถูกระงับสิทธิในการเข้าสู่ระบบโดยจะต้องแจ้งให้ผู้ดูแลระบบทราบเพื่อแก้ไขให้ต่อไป วิธีนี้จะช่วยป้องกันผู้ที่ไม่หวังดีในการพยายาม เดารหัสผ่านหลาย ๆ ครั้ง

       อีกวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพใช้ได้ดีทีเดียว นั้นคือ การใช้โมเด็มแบบ call - back modem เป็นโมเด็มที่หลังจากรับการติดต่อแล้ว จะกำหนดให้ใส่รหัสผ่าน จากนั้นจะมีการเรียกกลับไปยังผู้ใช้งานให้ติดต่อและใส่รหัสผ่านตามข่องเวลาสุ่มที่กำหนด

* การป้องกันระบบเครือข่ายจากไวรัสคอมพิวเตอร์

      ไวรัสคอมพิวเตอร์เป็นการจำลองตัวเองให้เป็นรหัสส่วนหนึ่งที่ซ่อนอยู่ในโปรแกรมของเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออยู่ในหน่วยความจำแบบแรม หลังจากนั้นก็เกาะไปยังโปรแกรมอื่น

      ไวรัสคอมพิวเตอร์มีด้วยกันหลายชนิดบางชนิดมีผลแค่รบกวนการทำงานของระบบแต่บางชนิดมีผลในการทำลายข้อมูล วิธีการป้องกันคือ ใช้Softwareในการป้องกันหรือตรวจสอบไวรัส ถ้าพบก็ให้กำจัดทิ้ง

      บนระบบเครือข่ายส่วนใหญ่ ผู้ที่เป็นคนโหลดไฟล์หรือโปรแกรมบนระบบก็คือ ผู้จัดการระบบเครือข่าย ดังนั้นก่อนจะโหลดโปรแกรม หรือไฟล์ใด ควรจะมีการตรวจสอบดูไวรัสคอมพิวเตอร์เสียก่อน และควรห้ามไม่ให้ผู้ใช้งานนำโปรแกรมที่ไม่ทราบแหล่งที่มา มาใช้งานบนระบบโดยเด็ดขาด

      4. การจัดการบัญชีค่าใช้จ่ายของระบบ (Accounting management)

         การจัดการด้านบัญชี หรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ บนระบบเครือข่าย (Accounting management) จะเกี่ยวกับการคิดค่าใช้จ่ายต่างๆ จากผู้ใช้งานและแผนกที่ผู้ใช้เหล่านั้นสังกัดอยู่ ระบบปฎิบัติบนระบบเครือข่ายบางแบบ เช่น NetWare จะมีความสามารถพิเศษในการจัดการลักษณะนี้

         ภายใต้ NetWare ผู้จัดการระบบเครือข่ายสามารถกำหนดค่าบริการในการเรียกใช้งานศูนย์บริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์บริการข้อมูล, ศูนย์บริการการพิมพ์ หรือแม้แต่ Gateways

         ผู้ใช้งานทั้งหลายจะถูกคิดค่าบริการต่าง ๆ จากจำนวนบล็อคของข้อมูลที่อ่านหรือบันทึกในไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (ศูนย์บริการข้อมูล) ผู้จัดการระบบจะกำหนดค่าบริการเป็นอัตรา ซึ่งจะมีอัตราสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับเวลาที่ผู้ใช้งานเรียกใช้บริการ

 

WAN

          ระบบเครือข่ายแบบ WAN หรือระบบเครือข่ายระยะไกล จะเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายแบบท้องถิ่นตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปเข้าด้วยกันผ่านระยะทางที่ไกลมาก โดยการเชื่อมโยงจะผ่านช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะของบริษัทโทรศัพท์ หรือองค์การโทรศัพท์ของประเทศต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์แบบอนาลอก สายแบบดิจิตอล ดาวเทียม ไมโครเวฟ เป็นต้น

 

รูป เครือข่าย WAN

 

ประเภทของเครือข่าย WAN

เครือข่าย WAN สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

    1. เครือข่ายส่วนตัว ( Private Network )   

         เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์กรที่เป็นเจ้าของเครือข่ายอยู่ เพื่อเชื่อมโยงสาขาต่าง ๆ ในระดับกายภาพ ( Physical Layer ) ของการเชื่อมต่อส่วนตัวจะยังคงต้องใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ สายเช่า ดาวเทียม เป็นต้น ( เนื่องจากข้อกำหนดของประเทศต่าง ๆ โดยปกติแล้วจะไม่อนุญาตให้วางเครือข่ายเองได้)

        ข้อดีของเครือข่ายส่วนตัว ( Private Network )

        ข้อเสียของเครือข่ายส่วนตัว ( Private Network )

      2. เครือข่ายสาธารณะ ( Public Data Network )   

        เครือข่ายสาธารณะ บางครั้งเรียกว่า เครือข่ายมูลค่าเพิ่ม ( Value Added Network ) เป็นระบบเครือข่าย WAN ซึ่งองค์กรที่ได้รับสัมปทานทำการจัดตั้งขึ้น เพื่อให้บุคคลทั่งไปหรือองค์กรอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการวางเครือข่ายเองสามารถแบ่งกันเช่าใช้งานได้ ระบบเครือข่ายสาธารณะ นิยมใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแบบ WAN กันมาก

        ข้อดีของเครือข่ายสาธารณะ ( Public Data Network )

        ข้อดีของเครือข่ายสาธารณะ ( Public Data Network )

รูปแบบของเครือข่าย WAN

    1. เครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit-Switching Network)   

         เป็นบริการระบบเครือข่ายสาธารณะขั้นพื้นฐาน เช่น ระบบโทรศัพท์ ระบบสายเช่า(lease line) ระบบเครือข่ายแบบสลับวงจรจะเป็นการเชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรระหว่างจุดสองจุด เพื่อให้สามารถติดต่อส่งข้อมูลกัน โดยการเชื่อมวงจรอาจเชื่อมอยู่ตลอดเวลาก็ได้ เช่น ระบบโทรศัพท์ หรืออาจเป็นเครือข่ายอนาลอก เช่น โทรศัพท์ หรือ เครือข่ายดิจิตอล เช่น ISDN ระบบเครือข่ายแบบสลับวงจรจะเป็น การเชื่อมต่อระหว่างจุดต่อจุด ( point-to-point)

        ข้อดีของเครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit-Switching Network)

         - มีอัตราความเร็วในการสื่อสารที่คงที่ตลอดเวลา เนื่องจากไม่ต้องทำการแบ่งช่องทางกับผู้อื่น

        ข้อเสียของเครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit-Switching Network)

      2.เครือข่ายแบบสลับแพคเกต ( Packet Switching Data Network )

       เป็นระบบเครือข่ายที่ได้รับความนิยมสูงสุด มีการทำงานโดยใช้วิธีแบ่งข้อมูลที่ต้องการส่งระหว่างจุดสองจุดออกเป็นชิ้น (packet) เล็กๆ เพื่อทำการส่งไปยังจุดหมายที่ต้องการ การแบ่งข้อมูลออกเป็นpacket มีข้อดีคือทำให้สามารถใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลเพียงช่องทางเดียวในการเชื่อมเข้าสู่เครือข่าย ไม่ว่าจะมีการติดต่อกันระหว่างกี่จุดก็ตาม รวมทั้งสามารถส่งแต่ละpacket ด้วยเส้นทางต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย และทำการรวมแต่ละpacket กลับคืนเมื่อถึงจุดหมายแล้ว จึงเป็นการใช้ทรัพยากร (resource) ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด

      3.ISDN  

         บริการ Integrated Services Digital Network(ISDN) เป็นระบบเครือข่ายแบบดิจิตอลซึ่งสามารถทำการส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพ อุปกรณ์ต่างๆ สามารถเชื่อมเข้ากับ ISDN ได้โดยตรงผ่านทางตัวเชื่อมแบบดิจิตอล ทำให้ไม่จำเป็นต้องผ่านการแปลงระหว่างสัญญาณอนาลอกและดิจิตอลด้วยโมเด็มอีก ช่องทาง(Channel)ของ ISDN มีความเร็วสูงถึง 64 Kbps บริการของ ISDN จะสมารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

         3.1. Narrow Band ISDN (ISDN - N)

          โครงข่ายทีพัฒนาเพิ่มเติมจากระบบโทรศัพท์เดิม โดยใช้สัญญาณดิจิตอลในการสือสารแทนการใช้สัญญาณอนาลอกผ่านคู่สายที่มีอยู่เดิม สามารถแบ่งได้เป็น

      3.2 Broadband ISDN (ISDN – B)

         เป็นระบบ ISDN ที่ขยายขีดความสามารถโดยใช้โปรโตคอล ATM(Asynchronous Transfer Mode) ทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ด้วยความเร็วตั้งแต่ 45 Mbps จนถึง 1 Gbps (Gigabit/Second) จึงสามารถใช้ในการส่งข้อมูลภาพและเสียงได้อย่างสมบูรณ์

        4. ATM (Asynchronous Transfer Mode)

         เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีความสามารถในการรับรองการจัดหา bandwidth ทำให้เหมาะกับการใช้งานแอพพลิเคชันใหม่ๆ ที่ต้องมีการส่งข้อมูลจำนวนมากที่สัมพันธ์กัน

        เครือข่าย ATM สามารถใช้กับสายเคเบิลที่มีอยู่แล้วที่ไม่ใช่สาย Fiber ได้ โดยเพียงแต่เปลี่ยน adapter และ switches ความเร็วจะอยู่ระหว่าง 25 ถึง 155 Mbps

อุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่าย

    เมื่อต้องการเชื่อมเครือข่ายย่อยหลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ประกอบที่ทำให้การรับส่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เชื่อมโยงถึงกัน โดยทั่วไปเรามักใช้ระบบการรับส่งข้อมูลเป็นชุดเล็ก ๆที่เรียกว่า แพ็กเก็ต ข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตสามารถเคลื่อนที่จากต้นทางไปยังปลายทางได้ โดยผ่านอุปกรณ์เลือกเส้นทาง การเลือกเส้นทางสามารถเลือกผ่านทั้งทางด้านเครือข่ายแลนและแวน

รีพีตเตอร์

        รีพีตเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่เรียบง่ายที่สุดและมีราคาถูกที่สุดในการยืดระยะ LAN หน้าที่ปกติของมันคือการขยายความแรงของสัญญาณและส่งกลับออกมาใหม่ ทำให้ข้อมูลที่ส่งมานั้นสามารถไปได้ไกลกว่าที่ควรจะเป็นตามปกติ อีกหน้าที่หนึ่งของมันคือ อาจใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายเคเบิลที่ต่างชนิดกันในเน็ตเวิร์ก เช่นเชื่อมระหว่างสายโคแอกเชียลเข้ากับสายไฟเบอร์ออฟติก

        แม้รีพีตเตอร์จะมีประโยชน์ในแง่ที่ทำให้ระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น แต่ไม่สามารถทำ งานได้ดีในระบบเครือข่ายที่มีการจราจรหนาแน่น อีกทั้งไม่สามารถเชื่อมส่วนของเครือข่ายที่มีโปรโตคอลที่แตกต่างกันได้

รูป อุปกรณ์หลักในการเชื่อมโยงเครือข่าย คือ บริดจ์ เราเตอร์ และ สวิตซ์

บริดจ์

    เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายสองเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับอีเทอร์เน็ต บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 บริดจ์จึงเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่าย การติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่งข้อมูลแบบกระจาย (boardcasting) ดังนั้นจึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่าย บริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพกเก็ตนั้นส่งให้ บริดจ์จึงเสมือนเป็นตัวแบ่งแยกข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่ายของตนไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเกนริง เป็นต้น

เราเตอร์

    เราเตอร์เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายหลายๆกลุ่ม ซึ่งมีความสามารถที่จะจัดการระบบเครือข่ายและส่วนย่อยของระบบเครือข่ายที่ถูกกำหนดขึ้นอย่างซับซ้อนได้ เราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทาง จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้ เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทางที่ส่งต่อมีมาตรฐานทางเครือข่ายที่แตกต่างออกไป ก็จะแปลงให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เช่น รับข้อมูลมาจากอีเทอร์เน็ต และส่งต่อทางพอร์ตแวนที่เป็นแบบจุดไปจุด ก็จะมีการปรับปรุงรูปแบบสัญญาณให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เพื่อส่งไปยังเครือข่ายแวนได้
ปัจจุบันอุปกรณ์เราเตอร์ได้รับการพัฒนาไปมาก ทำให้การใช้งานเราเตอร์มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อเชื่อมอุปกรณ์เราเตอร์หลาย ๆ ตัวเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเตอร์สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการหาเส้นทางเดินที่สั้นที่สุด เลือกตามความเหมาะสมและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเองได้

เกตเวย์

    เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครื่อง PC หลายๆ เครื่องที่ใช้ระบบเครือข่ายต่างกันเข้ากับเครื่องเมนเฟรม โดยที่เกตเวย์ก็คือ เครื่อง PC เครื่องหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่าย เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างเครื่อง PC บนเครือข่าย LAN ทั้งหมดเข้ากับ Cluster Controller Port ด้วยสายโคแอ็กเชียล เกตเวย์ทำหน้าที่คอยผ่านข้อมูลไปมาระหว่างสองเนตเวิร์กที่แตกต่างกัน รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของข้อมูลไปให้อยู่ในรูปแบบที่เนตเวิร์กแต่ละข้างต้องการ

    การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของข้อมูลโดยเกตเวย์นั้นทำได้โดยการตัดข้อความที่อยู่ในรูปแบบโปรโตคอลของระบบเครือข่ายข้างหนึ่งทิ้งไป แล้วส่งข้อความทดแทนในระบบเครือข่ายอีกข้างหนึ่งที่เป็นอีกโปรโตคอลหนึ่งแทน รูปแบบการแทนที่ดังกล่าวอาจเป็นการเปลี่ยนรูปแบบข้อความ เช่น เปลี่ยนรูปแบบของ E-mail จากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง หรือบางทีก็เป็นการแทนที่ในระดับทีละตัวอักษรเลยทีเดียว อย่างเช่นการแปลงรหัส ASCII บนเครื่อง PC ไปเป็นเป็นรหัส EBCDIC ซึ่งใช้ในเครื่องมินิคอมพิวเตอร์และเมนเฟรมของ IBM ด้วยความสามารถของเกตเวย์ทำให้ระบบเครือข่ายหนึ่งมองอีกระบบเครือข่ายหนึ่งเป็นเพียงโหนดๆหนึ่งของตัวมันเอง

    ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำเครื่อง PC ให้เป็นเกตเวย์ เพราะเกตเวย์จะต่างออกไปตามลักษณะของเครื่องและโปรโตคอลของระบบเครือข่ายแต่ละแห่ง และงานของมันค่อนข้างเป็นงานที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้นเครื่องที่เป็นเกตเวย์จะต้องอุทิศการทำงานให้เป็นพิเศษกับระบบเครือข่ายที่มันได้รับการต่ออยู่ด้วย และเกตเวย์แต่ละชนิดจะแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของงานที่มันทำ

     การออกแบบและจัดรูปแบบเครือข่ายในองค์กรที่เป็นอินทราเน็ต ซึ่งเชื่อมโยงได้ทั้งระบบ LAN และ WAN จึงต้องอาศัยอุปกรณ์เชื่อมโยงต่าง ๆ เหล่านี้ อุปกรณ์เชื่อมโยงทั้งหมดนี้รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จากเครือข่ายพื้นฐานเป็นอีเทอร์เน็ต ก็สามารถเชื่อมเข้าสู่เอทีเอ็มสวิตซ์ เฟรมรีเลย์ หรือบริดจ์ เราเตอร์ได้ ทำให้ขนาดของเครือข่ายมีขนาดใหญ่ขึ้น

MENU