1. INTRODUCTION

1.1 Internet Standards

ขบวนการของอินเตอร์เน็ตสแตนดาร์ด คือ กิจกรรมหนึ่งของอินเตอร์เน็ตโซไซตี้ ซึ่งถูกจัดตั้งรวบรวมและจัดการภายใต้ตัวแทนของ IAB หรือที่เรียกว่า Internet Achitecture Bord และ IESG (The Internet Engineering Steering Group)

อินเตอร์เน็ตซึ่งเกิดจากการร่วมมือกันอย่างอิสระในการติดต่อกันของระบบเครื่อข่าย สนับสนุนการสื่อสารจากโฮสหนึ่งไปยังอีกโฮสหนึ่งโดยผ่านกฏเกณฑ์ที่ถูกต้องของ protocol and procedure ซึ่งขบวนการเหล่านี้ทำให้เราเห็นภาพของ Internet Standard ได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายย่อยอีกมากมายที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับ global Internet แต่ใช้ Internet Standard

The Internet Standards Process เป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับทุกๆ protocol & procedure และระเบียบแบบแผนต่างๆ ที่ใช้ในระบบอินเตอร์เน็ต ไม่จำเป็นว่ามันจะเป็นส่วนหนึ่งของ TCP/IP protocol หรือไม่ ในกรณีของหลายๆ protocol จะถูกพัฒนาและทำให้เป็นมาตราฐานด้วยองค์กรที่ไม่ใช่เป็นองค์กรของอินเตอร์เน็ต (non-Internet organizations) แต่อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว the Internet Standards Process ก็จะถูกทำให้เป็น application ของ โปรโตคอลและ procedure ของ Internet context ไม่ใช่ว่าเพื่อระบุให้โปรโตคอลของมันเอง

โดยทั่วไป Internet Standard จะเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นการระบุถึงสิ่งที่มีความมั่นคง และเป็นที่รู้จัก

กันดีว่าเป็นวิธีการที่มีความสามารถ สลับซับซ้อน เป็นอิสระเปิดกว้างและมีการดำเนินงานที่มีประสบการณ์ด้านการปฎิบัติงานที่ยิ่งใหญ่ และมีประโยชน์ จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของอินเตอร์เน็ต

1.2 The Internet Standards Process

ขบวนการสร้าง Internet Standard ก็คือ เริ่มจากการที่ได้รับประสบการณ์ต่างๆจากการใช้งานการสื่อสารอินเตอร์เน็ตและได้มีการปรับปรุงกันเรื่อยมา จนถูกนำมาทำให้เป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน ซึ่งในการปฏิบัติงาน ขบวนการต่างๆค่อนข้างที่จะยุ่งยาก ทั้งนี้เนื่องมาจาก

1. ความยากในการสร้างลักษณะเฉพาะตัวให้กับเทคโนโลยีระดับสูงนี้

2. ต้องพิจารณาถึงผลที่จะเกิดกับทุกฝ่าย

3. ความสำคัญของการตกลงร่วมกันในการใช้งานอย่างกว้างขวางนี้

4. ความยากในการประเมิณค่าต่างๆของการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต

ขบวนการเหล่านี้มีแนวโน้มเพื่อที่จะให้มีความยุติธรรม เปิดกว้าง และตรงตามวัตถุประสงค์และให้มีการนำมาใช้สำหรับมาตาราฐานอินเตอร์เน็ต พวกเขาได้เปิดโอกาสให้กับผู้เข้าร่วมอย่างเต็มที่และยังยอมรับการวิพากวิจารณ์จากองค์กรที่ให้ความสนใจ โดยแต่ละขั้นตอนในขบวนการของการทำให้เป็นมมาตราฐานนี้ได้มีการถกเถียงกันอย่างซ้ำๆ และนอกจากนี้ก็ได้มีการอภิปรายกันอย่างเปิดเผยในการประชุม รวมทั้งมีการออกความคิดเห็นกันทาง electronic mail ด้วย

ขบวนการนี้มีจุดประสงค์อย่างชัดแจ้ง เพื่อที่จะให้เป็นที่รับรองและยอมรับโดยทั่วกัน ดังนั้นจึงต้องมีการดำเนินการและการทดสอบในการปฏิบัติงานเพื่อให้ถูกต้อง และสามารถใช้เป็นประโยชน์ในสภาวะแวดล้อมที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบันก่อนที่มันจะถูกนำมาใช้ให้เป็น Internet Standard

ขบวนการนี้ถูกทำให้มีความยืดหยุ่นในการที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับความหลากหลายของสภาวะการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในขบวนการของการทำให้เป็นมาตราฐาน ซึ่งประสบการณ์ได้แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นนี้ว่าจะเป็นส่วนสำคัญในการที่จะทำให้ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

เป้าหมายของ Internet Standards Procedure คือ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. INTERNET STANDARDS-RELATED PUBLICATIONS

2.1 Requests for Comments (RFCs)

แต่ละ version ของ Internet standards-related ถูกตีพิมพ์ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ RFC ซึ่ง RFC เกิดขึ้นในปี 1969 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ARPAและเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของบรรณาธิการ RFC (RFC Editor) ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ IAB

2.2 Internet-Drafts

ระหว่างการพัฒนา ก็ได้มี draft version document ออกมาสำหรับเป็นบทความข่าวสารและข้อคิดเห็นต่างๆ ซึ่งถูกกำหนดใน IETF โดย draft version นี้ได้ทำให้มีการพัฒนา document ออกมาอย่างฉับพลันทั้งนี้ก็เพื่อผู้อ่านจำนวนมากและทำให้ขบวนการแก้ไขปรับปรุงต่างๆสะดวกมากขึ้น

All About Internet Standards

ทุกๆ Internet Standards และอินเตอร์เน็ตอื่นๆ เป็นเอกสารที่เราเรียกว่า RFCs ขณะที่ทุกๆ Internet Standards เป็น document ใน RFCs แต่ไม่จำเป็นว่า ทุก RFCs ต้องเป็น Internet Standards

Internet Documents

มีหลายๆ document ที่เกี่ยวข้องกับ Internet Standards ประกอบด้วย

RFCs and Internet-Drafts

Internet-Drafts (I-Ds) มีลักษณะที่แตกต่างจาก RFCs อย่างมาก ถึงแม้ว่าทุกวันนี้ RFCs จะเริ่ม

มาจาก I-Ds ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ทุกคนสามารถที่จะเขียนและ submit ได้ สำหรับ I-Ds ขณะที่ RFCs จะถูกพิมพ์ออกมาเพียงอย่างเดียวเท่านั้นหลังจากที่ I-Ds ทำให้ RFCs ได้ผ่านการขยายความและ

การถกเถียงอภิปรายกันมาแล้ว สำหรับ I-Ds จะหมดอายุใน 6 เดือน นับตั้งแต่ที่มันได้รับการตีพิมพ์ออก และการดำเนินงานของ I-Ds จะเป็นในลักษณะ “Work in Progress” คือดำเนินไปอย่างเรื่อยๆโดยจะไม่มีการอ้างถึงงานส่วนอื่นๆทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า มันเป็น document ฉบับชั่วคราว

ขณะที่การมีชื่ออยู่ใน RFCs ถือเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่สำหรับ I-Dsนั้นง่ายมาก ซึ่งจะเห็นว่า แม้แต่เครือข่ายสำหรับผู้ขายเมื่อ Drafts ของพวกเขาได้ผลิตออกมาก็ยังมีการอ้างสิทธ์เกี่ยวกับสินค้าหรือเทคโนโลยีของเขาว่าได้รับการรับรองจาก IETF ซึ่งจริงๆแล้ว I-Ds ส่วนใหญ่จะหมดอายุและหายไปโดยที่อาจจจะมีเพียง comment เล็กน้อยหรือไม่มีเลย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3. INTERNET STANDARD SPECIFICATIONS

ในการระบุถึง The Internet Standards Process นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ Technical Specification (TS) and Applicability Statement (AS).

3.1 Technical Specification (TS)

TS เป็นการอธิบายถึงโปรโตคอล การบริการ กระบวนการทำงาน ระเบียบแบบแผนและรูปแบบซึ่งจะอธิบายถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ อาจจะเป็นการละทิ้งปัจจัยหรือข้อกำหนดที่ไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงไว้ นอกจากนี้ TS อาจจะบรรจุหรือรวบรวมเครื่องมือปัจจัยจาก other specification อื่น โดยการอ้างถึง document อื่น (ซึ่งอาจจะเป็น Internet Standards หรืออาจจะไม่ใช่ก็ได้)

TS จะระบุถึงขอบเขตและเจตนาโดยทั่วไปสำหรับการใช้ (บ่งบอกถึงขอบเขตของประโยชน์ที่จะใช้สอย) ดังนั้น TS ก็จะมีการระบุเฉพาะเจาะจงว่าสามารถให้ประโยชน์หรือผลอะไรได้บ้าง

3.2 Applicability Statement (AS)

เราสามารถที่จะระบุ Applicability Statement (AS) ได้อย่างไร และต้องอยู่ใต้สภาวะการณ์ไหน อาจจะมีบาง TS หรือหลายๆ TS ที่ถูกประยุกต์เพื่อสนับสนุนความสามารถของ Internet ในด้านต่างๆ และบาง AS ก็อาจจะถูกระบุเพื่อใช้งานกับ TS ที่ไม่ได้เป็น Internet Standards ด้วยเช่นกัน

AS มีการระบุถึง TS และทางต่างๆ ที่มันสามารถนำมารวมกันได้และยังอาจจะสามารถระบุได้ถึงค่าและช่วงขอบเขตที่เฉพาะของค่า TS หรือหน้าที่ย่อยๆ ของโปรโตคอล TS เหล่านั้นที่จะถูกจัดการ

AS อาจจะอธิบายถึงวิธีเฉพาะสำหรับการใช้ TS ที่มีอย่างจำกัดหรือที่เรียกว่า “domain of applicability ” เช่น Internet routers, terminal servers, Internet systems that interface to Ethernets, or datagram- based database servers.

ชนิดของ AS ก็คือการระบุถึงเนื้อหาที่โดยทั่วไปเรียกว่า "requirements document" สำหรับ

ชี้เฉพาะเจาะจงถึง Internet Systems เช่น Internet routers or Internet hosts

3.3 Requirement Levels

AS จะใช้ข้อใดข้อหนึ่งในระดับการร้องขอข้างล่างนี้ เพื่อที่จะให้แต่ละ TS สามารถอ้างถึงได้

(a) Required : การดำเนินการในการอ้างถึง TS โดยที่ AS นั้นจะถูกร้องขอให้ปฏิบัติตาม อย่างเช่น IP กับ ICMP จะต้องถูกดำเนินการโดยระบบอินเตอร์เน็ตทั้งระบบโดยใช้ชุดของโปรโตคอล TCP/IP

(b) Recommended : การดำเนินการในการอ้างถึง TS นั้นจะไม่ถูกร้องขอให้ปฏิบัติตาม แต่ด้วยประสบการณ์และการยอมรับ ผู้ขายจะรวมฟังก์ชัน ลักษณะเด่น และโปรโตคอลของ TSs ลงในสินค้าแต่ละชนิด และจะยกเว้นถ้าการยกเว้นนั้นได้พิสูจน์ว่าถูกต้องแล้ว เช่น โปรโตคอล telnet จะถูกดำเนินการกับทุกระบบที่จะได้รับประโยชน์จาก remote access

  1. Elective : การดำเนินการในการอ้างถึง TS นั้นมีทางเลือกภายในขอบเขตของ AS ซึ่ง AS จะสร้าง
  2. ลักษณะที่ไม่ได้บ่งชี้เฉพาะ เพื่อสำหรับการประยุกต์ TS อย่างไรก็ตาม ผู้ขายบางส่วนอาจจะตัดสินใจดำเนินการกับมันหรือไม่ก็อาจจะให้ผู้ใช้บางคนได้ไปเป็นตัวอย่าง

  3. Limited Use : Ts ถูกพิจารณาให้มีความเหมาะสมสำหรับการใช้ที่มีอย่างจำกัดหรือในสภาพการณ์

แวดล้อมใดแวดล้อมหนึ่งเท่านั้น เช่น การใช้ โปรโตคอลที่มีลักษณะการออกแบบเป็น “ Experimental ” (ใช้สำหรับการทดลอง) ก็ควรจะถูกจำกัดให้ใช้กับกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับการทดลองเท่านั้น

(e) Not Recommended : TS ซึ่งได้ถูกพิจารณาว่ามีความไม่เหมาะสมสำหรับการใช้ทั่วไป จะใช้ labled “ Not Recommended” ซึ่งนี่ก็อาจจะเนื่องมาจากบทบาทหน้าที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด และมีความสามารถชำนาญเฉพาะทางเท่านั้น

ถึงแม้ว่า TSs & Ass จะถูกแยกอกจากกัน แต่ในทางปฏิบัติ a standards-track document อาจจะรวม AS & TS ที่เกี่ยวข้องกันเอาไว้ด้วยกัน เช่น TS ที่ถูกพัฒนาให้มีลักษณะเฉพาะสำหรับ domain of applicability เช่น สำหรับ mail server hosts ซึ่งมีข่าวสารประเด็นปัญหาต่างๆ ของ AS & TS มักจะระบุ a specification ไว้เพียง 1 เดียวเท่านั้น ในกรณีเช่นนี้ ก็ไม่มีจุดประสงค์อันใดที่เป็นประโยชน์ที่จะบริการข่าวสารระหว่างหลายๆ document เพื่อที่จะรักษาลักษณะพิเศษของ AS & TS

 

 

 

 

 

4. THE INTERNET STANDARDS TRACK

รายละเอียดที่ได้ระบุไว้ได้กลายมาเป็น Internet Standards (ซึ่งเกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น) ที่ค่อยๆ พัฒนากันเรื่อยมาจนถึงระดับสูงสุดที่เรียกว่า “ Standard track” ถึงแม้ว่าหลังจากที่ Internet Standard ได้นำมาใช้กันแล้ว ก็ยังคงมีการพัฒนากันอยู่อย่างต่อเนื่องโดยการยึดเอาประสบการณ์มาเป็นพื้นฐานกับการยอมรับการร้องขอสิ่งใหม่ๆ การที่เราแยกชื่อและมีขั้นตอนในการทำให้เป็นมาตราฐานของอินเตอร์เน็ตนั้นจะทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆขึ้นมาแทนที่สิ่งเก่า และการแยกชื่อนั้นก็ได้แสดงให้เห็นถึงสถานะของ

“retired” (ตกรุ่น) ของ Internet Standards ด้วย

4.1 Standards Track Maturity Levels

สำหรับอินเตอร์เน็ตนั้น ได้มีขั้นของการพัฒนา ทดสอบ และจนถึงการยอมรับ ภายในกระบวนการ Internet Standard ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้จะเรียกว่า “maturity levels” ซึ่งได้แก่

4.1.1 Proposed Standard

ระดับเริ่มต้นของ standard track คือ Proposed Standard IESG จะเป็นผู้ร้องขอให้ย้ายรายละเอียดไปยัง Standard track ที่ระดับ propose standard , propose standard นี้ จะมีลักษณะที่มั่นคง มีการแก้ปัญหาโดยมีตัวเลือกให้เลือก ได้รับรู้การวิจารณ์และจะมีการร่วมทำงานกับกลุ่มที่ให้ความสนใจเท่านั้น เพื่อที่จะได้ให้เห็นซึ่งคุณค่าของมัน อย่างไรก็ตามนอกจากนี้ประสบการณ์ก็อาจจะมีผลในการเปลี่ยนแปลงหรือแม้กระทั่งทำให้รายละเอียดทั้งหมดหายไปก่อนที่มันจะมีการพัฒนาขึ้นมาใหม่

โดยปกติแล้ว ถ้าไม่ใช่การดำเนินการก็จะเป็นประสบการณ์ในการจัดการที่จะร้องขอสำหรับการ

ออกแบบรายละเอียดของ Proposed Standard แต่อย่างไรก็ดีเพียงแค่ประสบการณ์ก็เพียงพอแล้ว

IESG อาจจะต้องใช้เครื่องมือหรือประสบการณ์การทำงาน อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างในการพิจารณารับรองสถานะของ Proposed Standard

IESG จะยอมเลื่อนสถานะของรายละเอียดขึ้นเป็น Proposed Standard เมื่อพิจารณาเห็นว่ามันมีประโยชน์และมีความจำเป็นในขณะนั้น ซึ่งเมื่อรายละเอียดได้รับการเลื่อนสถานะเป็น Proposed Standard แล้วก็ควรมีการบำรุงรักษาต่อไปอีก เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความมีเหตุผล, ทดสอบ, อธิบายรายละเอียดให้ชัดเจนขึ้นอย่างไรก็ดี เนื้อหาของ Proposed Standard อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าหากพบปัญหาหรือมีทางแก้ปัญหาอื่นที่ดีกว่า

4.1.2 Draft Standard

การเลื่อนสถานะไปเป็น Draft Standard เป็นการเลื่อนสถานะที่สำคัญอย่างหนึ่ง เป็นการแสดงให้เห็นว่ารายละเอียดนั้นมีความน่าเชื่อถือ มีความสมบูรณ์พร้อมและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

ประธาน Working group จะมีหน้าที่รับผิดชอบเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องถึงสถานะของ Draft Standard หรือ Internet Standard ซึ่งเอกสารจะเป็นข้อมูลเฉพาะ โดยเอกสารเหล่านี้จะนำเสนอต่อ Area Director ต่อไป

Draft Standard จะต้องมีความเข้าใจง่ายและมั่นคง ซึ่ง Draft Standard ยังต้องมีการเพิ่มเติม หรือต้องการประสบการณ์ในวงความรู้ที่แพร่หลายขึ้น

4.1.3 Internet Standard

เมื่อรายละเอียดได้รับการพัฒนาปรับปรุงแล้ว อาจเลื่อนระดับขึ้นเป็น Internet Standard ได้ ซึ่ง Internet Standard (อาจเรียกสั้นๆ ว่า Standard) เป็นการแสดงให้เห็นว่า รายละเอียดนั้นอยู่ในระดับสูง มีความสมบูรณ์เต็มที่ เชื่อถือได้ และมีประโยชน์ต่อ Internet Community

รายละเอียดที่ได้รับสถานะ Standard แล้ว จะได้รับการกำหนดเลขที่ ใน STD series และต้องเก็บหมายเลข RFC ของตนไว้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5. THE INTERNET STANDARDS PROCESS

กลไกของกระบวนการ Internet Standard เป็นการตัดสินของ IESG ในเรื่องเกี่ยวกับการเลื่อนสถานะของรายละเอียดต่างๆ (ความเคลื่อนไหวภายใน standard track) ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนระดับไปยัง standard track หรือ เลื่อนสถานะที่อยู่ในระดับหนึ่งไปอีกระดับหนึ่ง หรือการถอนสถานะออกจาก standard track ทั้งนี้ไม่มีกฏเกณฑ์หรือวิธีการที่แน่นอนในการพิจารณาเลื่อนระดับสถานะดังกล่าว แต่ IESG จะใช้ประสบการณ์ที่ได้สะสมมาใช้ในการตัดสิน

5.1 Standards Actions

การนำรายละเอียดเข้าสู่, เลื่อนระดับภายใน หรือถอนออกจาก standard track จะต้องได้รับการรับรองโดย IESG

5.1.1 Initiation of Action

รายละเอียดที่ต้องการเข้าสู่ standard track หรือเลื่อนสถานะภายใน standard track นั้น จะต้องเริ่มมีสถานะเป็น Internet-Draft ก่อน (ยกเว้นเอกสารที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง เช่น RFC) และมันจะคงอยู่ในสถานะนี้เป็นช่วงระยะหนึ่ง คือไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ และมันจะได้รับการตรวจสอบต่อไป

ขั้นตอนการทำงานเริ่มจาก IETF รับรายละเอียดเข้ามาและแบ่งงานให้กับ Area Director แล้วก๊อปปี้ให้กับกองเลขาธิการของ IETF ในกรณีที่รายละเอียดนั้นไม่ได้ร่วมทำงานกับ Working group และส่วนที่เหลือถูกจัดให้ IESG

5.1.2 IESG Review and Approval

การพิจารณาของ IESG จะยอมรับหรือรับรองสถานะของรายละเอียดหรือไม่นั้นจะพิจารณาดูจากว่ารายละเอียดนั้นมีคุณภาพและมีความชัดเจนพอและเข้าเกณฑ์ที่จะอยู่ในระดับขั้นที่ร้องขอมาได้หรือไม่

IESG จะทำการไตร่ตรองอย่างรอบคอบและมีอิสระในการพิจารณาตรวจสอบงานส่วนที่ได้รับมอบหมาย

ในระหว่างการพิจารณาตรวจสอบนี้ IESG จะทำการรายงานต่อ IETF ซึ่งรายงานนี้มีชื่อเรียกว่า “Last-Call” โดย Last-Call นี้จะส่งผ่านทางอีเมล์ไปยัง IETF Announce mailing list.

ช่วงระยะเวลาของ Last-Call จะอยู่ในช่วงไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ (ยกเว้นในกรณีที่ Proposed standards action ไม่ได้เริ่มมาจาก IETF จะอยู่ในช่วงไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์)และถ้า IESG นำเสนอต่อกลุ่มให้พิจารณาได้แล้ว ก็อาจใช้เวลานานกว่านี้หรือสามารถทราบช่วงระยะเวลาที่แน่นอนได้

IESG อาจจะตัดสินพิจารณาให้รายละเอียดนั้นได้รับระดับชั้นสถานะอื่นที่ไม่ใช่ตามที่ร้องขอมา และถ้า IESG ทำการตัดสินไปก่อนที่จะมี Last-Call ออกมา เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะต้องนำ Last-Call กลับไปพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่ง แล้ว IESG ก็จะตัดสินระดับชั้นให้ใหม่ ซึ่งอาจจะได้ระดับชั้นที่สูงกว่าเดิม

เมื่อ Last-Call ถูกใช้ไปแล้ว Last-Call ใหม่ก็จะถูกออกโดย IESG ซึ่ง IESG อาจจะใช้ Working group ใหม่เพื่อทำงานในกรณีที่ Last-Call เดิมไม่ได้เกิดจาก IETF

เมื่อผ่านช่วงเวลาของ Last-Call แล้ว IESG ก็จะได้ข้อตัดสินว่าจะรับรอง standard action นั้นหรือไม่ แล้วแจ้งไปยัง IETF โดยผ่านทางอีเมล์ไปยัง IETF Announce mailing list.

5.1.3 Publication

เมื่อ standard action ได้รับการรับรองแล้ว คำแจ้งนี้ก็จะถูกส่งไปยัง RFC Editor และ IETF จะสั่งให้ตีพิมพ์ Internet-Drafts เป็น RFC และรอจนกว่าจะได้รับจดหมาย Internet Society’s newletter. และตั้งขึ้นเป็น Publication of record

5.2 Advancing in the Standards Track

ระดับขั้น Proposed Standard จะคงอยู่ในช่วงไม่เกิน 6 เดือน และระดับขั้น Draft Standard จะคงอยู่ในช่วงไม่เกิน 4 เดือน หรือ จนกว่าจะมีการประชุมของ IETF ขึ้น

การกำหนดช่วงเวลานี้ก็เพื่อเปิดโอกาสให้มีเวลาในการพิจารณาอย่างพอเพียง เพื่อไม่ให้เป็นการเคร่งเครียดจนเกินไป ซึ่งระยะช่วงเวลานี้จะวัดจากวันที่ได้ตีพิมพ์ของ RFC หรือวันที่ IESG ได้ทำการประกาศรับรอง

รายละเอียดอาจจะได้รับการพิจารณาแก้ไขใหม่เมื่ออยู่ในขั้นใดๆ ของ standard track ซึ่งในแต่ละขั้น IESG จะกำหนดขอบเขตที่สามารถแก้ไขได้เมื่อเห็นว่ามีความจำเป็นและเหมาะสม การแก้ไขใหม่อาจจะเพียงเล็กน้อยแต่มันก็ช่วยให้มีประสบการณ์เพิ่มขึ้นกว่าเก่า ในที่สุดแล้ว IESG อาจจะนำเอกสารใหม่นี้เข้าสู่ standard track ตั้งแต่เริ่มใหม่อีกครั้ง

สำหรับรายละเอียดที่ยังไม่ได้เลื่อนระดับขั้นไปถึง Internet Standard นั้น จะสามารถคงอยู่ในสถานะเดิมได้เป็นเวลา 24 เดือน และทุกๆ 12 เดือนหลังจากที่มีการเปลี่ยนสถานะ IESG จะทำการตรวจสอบมาตรฐานว่ารายละเอียดนี้ยังมีประโยชน์อยู่หรือไม่ ซึ่งในการตรวจสอบนี้ IESG จะต้องตัดสินที่จะยืนยันสถานะเดิมหรือย้ายมันไปอยู่ในสถานะ Historic status ซึ่งการตัดสินนี้จะต้องแจ้งต่อ IETF โดยผ่านทางอีเมล์ไปยัง IETF Announce mailing list

5.3 Revising a Standard

Internet Standard มีการเปลี่ยนเวอร์ชันอยู่เรื่อยๆ โดยเมื่อมีตัวใหม่ที่สมบูรณ์กว่าและได้รับสถานะที่เป็น standard แล้ว เวอร์ชันใหม่ก็จะถูกนำมาแทนที่ และเวอร์ชันเก่าก็เปลี่ยนสถานะเป็น Historic status อย่างไรก็ดี มีในบางกรณีที่ทั้งเวอร์ชันเก่าและเวอร์ชันใหม่ต่างก็ยังคงมีสถานะเป็น Internet Standard ด้วยกันทั้งคู่ เนื่องจากเวอร์ชันทั้งสองมีความสำคัญและทั้งคู่มีความสัมพันธ์ต่อกัน

5.4 Retiring a Standard

ดังเช่นเทคโนโลยีที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง สำหรับ standard ก็เช่นเดียวกันย่อมเป็นไปได้ที่จะมี standard ตัวใหม่ที่มีคุณสมบัติเหนือกว่าของเดิมเกิดขึ้นและมีเหตุผลที่จะทำให้ตัวเก่าถูกปลด IESG ก็จะทำการพิจารณาเปลี่ยนสถานะ standard ตัวเก่าให้อยู่ในสถานะ Historic ซึ่งการร้องขอให้ปลดสถานะ standard นี้ สามารถยื่นร้องเรียนได้โดย Working group, Area director หรือ กลุ่มคณะทำงานใดๆที่มีความสนใจ

5.5 Conflict Resolution and Appeals

เป็นไปได้ที่จะเกิดการขัดแย้งขึ้นในระหว่างขั้นตอนของกระบวนการการทำงาน และการจะหาทางประนีประนอมเพื่อหาข้อยุติที่เป็นเอกฉันท์จะต้องเปิดกว้างและเป็นกลาง ซึ่งอาจจะต้องใช้วิธีการพิจารณาตรวจสอบหรือนำขึ้นมาพูดโต้แย้งกัน

5.5.1 Working Group Disputes

การที่ใครจะไม่เห็นชอบกับการทำงานของ Working Group อาจด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งใน 2 กรณีนี้ คือ (a) มุมมองของเขาหรือเธอไม่ได้รับการพิจารณาอย่างเพียงพอจาก Working Group หรือ (b) Working Group ใช้เทคนิควิธีการที่ไม่ถูกต้อง เหตุข้อแรกนั้นเป็นอุปสรรคในกระบวนการทำงานของ Working Group ส่วนข้อหลังนั้นเป็นการผิดพลาดทางเทคนิค ซึ่งความไม่เห็นชอบทั้งสองแบบนี้แตกต่างกันมาก แต่มีวิธีการจัดการแก้ได้ด้วยวิธีเดียวกัน

ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับ Working Group สามารถนำข้อขัดแย้งเข้าถกเถียงต่อประธาน Working Group ซึ่งอาจจะนำไปร่วมถกเถียงกับสมาชิกคนอื่นใน Working Group ต่อไป(หรืออาจจะทั้ง Working Group เลยก็ได้)

ถ้าข้อขัดแย้งอันนี้ไม่สามารถหาข้อยุติได้ กลุ่มคณะทำงานก็จะนำเรื่องยื่นเสนอต่อ Area Director ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อ Working Group นั้นๆ แล้ว Area Director ก็จะทำการหาข้อยุติให้

ถ้าข้อขัดแย้งนี้ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ คณะทำงานก็จะนำเรื่องร้องเรียนต่อ IESG แล้ว IESG จะทำการพิจารณาข้อขัดแย้งนี้และพยายามหาข้อยุติด้วยหลักวิธีการที่เหมาะสม

ถ้าข้อขัดแย้งนี้ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้อีก คณะทำงานก็จะนำเรื่องร้องเรียนต่อ IAB แล้ว IAB ก็จะทำการพิจารณาข้อขัดแย้งนี้และพยายามหาข้อยุติด้วยหลักวิธีการที่เหมาะสม

การตัดสินของ IAB ถือว่าเป็นข้อยุติของข้อขัดแย้ง ซึ่งจะต้องยึดถือและปฏิบัติตามข้อยุตินี้

5.5.2 Process Failures

ถ้าผู้ใดไม่เห็นด้วยกับการทำงานของ IESG ก็สามารถนำเรื่องเข้าถกเถียงกับประธาน IESG ถ้าประธานไม่สามารถแก้ไขความข้องใจแล้ว IESG จะต้องทำการตรวจพิจารณาใหม่ และ IESG จะต้องรายงานการตรวจสอบนี้ให้ IEFT ทราบด้วย

ถ้า IESG ไม่สามารถหาข้อยุติได้ก็จะต้องร้องเรียนต่อ IAB โดย IAB จะพิจารณาและพยายามหาข้อยุติด้วยหลักวิธีการของตนประกอบกับรายงานที่ได้จาก IETF

IAB สามารถสั่งยกเลิกการตัดสินใจของ IESG ได้ และ IAB อาจจะแนะนำการทำงานให้กับ IESG ได้

การตัดสินของ IAB ถือเป็นข้อยุติปัญหาทุกอย่าง

5.5.3 Appeals Procedure

ในคำร้องเรียนจะต้องประกอบด้วยรายละเอียดและคำอธิบายถึงข้อขัดแย้งที่เป็นจริง

ทุกขั้นตอนในการร้องเรียน ผู้/กลุ่มที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินนั้น จะต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบทุกขั้นตอน

 

 

 

6. DEFINITIONS OF TERMS

IETF Area – ส่วนการทำงานภายใน IETF ซึ่ง 1 Area จะต้องประกอบด้วย Working Group ที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น โดย 1 Area จะถูกจัดการโดย Area Director 1หรือ 2 คน

Area Director – ผู้จัดการของ Area Area Director จะทำงานร่วมกับประธาน IETF และ IESG

File Transfer Protocol (FTP) – เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้สำหรับการส่งผ่านไฟล์บนเน็ทเวิร์ค

Gopher – เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในการเลือกเพื่อที่จะใช้โต้ตอบและดึงไฟล์ข้อมูลในระบบเครือข่าย TCP/IP

Internet Architecture Board (IAB) – กลุ่มที่ช่วยในการทำงานในกระบวนการการทำงานของ IETF

Internet Engineering Steering Group(IESG) – กลุ่มซึ่งประกอบด้วย IETF Area Director และ ประธาน IETF มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการต่างๆ ร่วมกับ IAB, IETF และคณะกรรมการ IETF

Interoperable – ความสามารถในการทำงานร่วมกัน

Last-Call – เอกสารซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาช่วงเวลาที่รอการพิจารณาสถานะ

Online – ความสัมพันธ์ของสารสนเทศต่างๆ บนอินเตอร์เน็ท ซึ่งเมื่อมีการ online จะสามารถดึงข้อมูลระหว่างกันโดยไม่มีข้อจำกัดและไม่เสียค่าใช้จ่ายที่เกินควรในการทำกิรจกรรมใดๆเช่น anonymous FTP, gopher หรือ WWW.

Working Group – กลุ่มคณะทำงานที่ได้รับอนุญาติโดย IESG และ IAB เพื่อทำงานเกี่ยวกับเอกสารและรายละเอียดต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ท

 

 

 

Internet Society

The Internet Society (ISOC) เป็นกลุ่มของสมาชิกผู้มีความเชี่ยวชาญมากกว่า 175 องค์กรและมีสมาชิกถึง 8,600 คน มากกว่า 170 ประเทศ ซึ่งการดำเนินงานของ Internet Society มุ่งประเด็นไปที่ 4 อย่างคือ

  1. Standards

หรือย่อว่า ISOC ซึ่งประกอบไปด้วย

ชึ่งการดำเนินงานของกลุ่มเหล่านี้ประกอบไปด้วยการสนับสนุนการทำงานของ RFC Editor ใน IETF

  1. Public Policy
  2. เป็นที่ซึ่งสามารถวางประเด็นให้มีการแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจ ซึ่งจะมีผลต่อความก้าวหน้า

    ของอินเตอร์เน็ต ขอบข่ายและหน้าที่ของ ISOC เช่น สามารถออกความคิดเห็นหรือติชมได้อย่างอิสระ (censorship/freedom of expression), เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี (taxation), เกี่ยวกับกระบวนการและอำนาจในการปกครอง (governance), เป็นงานชึ่งต้องใช้เหตุผล และคนชึ่งมีสติปัญญาดี

  3. Education & Training
  4. ISOC ช่วยอบรมให้กับผู้นำด้านข่าวสารเทคโนโลยีทั่วโลกและในปัจจุบันนี้ กิจกรรมเหล่านี้ยังคงได้

    ปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่องในรูปแบบต่างๆ เช่น ในรูปของ “ Network Training Workshops (NTW)”

    “Sustainable Internet Training Centers (SITCs)” and sponsorship of the ”Internet Fiesta”

     

     

  5. Membership

กิจกรรมของสมาชิกจะประกอบไปด้วยข้อกำหนดกฎเกณฑ์ของการให้บริการสำหรับองค์กรและ

สมาชิก สนับสนุน ISOC ทั่วโลกและองค์กรต่างๆ เช่น Internet Societal Task Force(ISTF)

 

 

 

Overview of IETF

 

IETF ถือเป็นเครื่อข่าย Internet Community ขนาดใหญ่สำหรับ นักออกแบบ (designers), พนักงานรับโทรศัพท์ (operators), พ่อค้า (vendors) และนักค้นคว้า (researchers) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมและการปฏิบัติงานที่ให้เป็นไปอย่างราบเรียบของอินเตอร์เน็ต มันถูกเปิดขึ้นสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจ

การทำงานของ IETF มีลักษณะการทำงานเป็นกลุ่ม ซึ่งจะถูกสร้างให้เป็นระบบเข้าไปยังพื้นที่ต่างๆ (โดยการใช้ routing, transport, security,etc) งานส่วนใหญ่จะถูกดำเนินการโดยผ่านทาง mailng lists โดยที่ IETF จะมีการประชุม 3 ครั้งต่อปี

กลุ่มทำงานของ IETF จะมีการ group กลุ่มกันตามพื้นที่ต่างๆ และถูกควบคุมจัดการโดยผู้อำนวยการ (Area Director-Ads) ของพื้นที่นั้นๆ โดยที่ Ads จะเป็นสมาชิกของ IESG ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ IAB โดยIAB จะทำหน้าที่เป็นผู้วินิจฉัยยื่นคำร้องเมื่อมีคนฟ้องร้องหรือร้องเรียนว่าการทำงานของ IESG นั้นล้มเหลว ทั้งIAB และ IESG เป็นกลุ่มซึ่งได้รับอนุญาตให้มีขึ้นอย่างถูกต้องตามระเบียบของISOC ทั้งนี้ก็เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวข้างต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Overview of IAB

 

IAB เป็นกลุ่มซึ่งคอยให้คำปรึกษาด้านเทคนิคของ ISOC มีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้

    1. IESG Selection :เป็นผู้ที่ทำหน้าที่แต่งตั้งผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งให้กับ IETF และรวมทั้งผู้สมัครหรือเข้าสอบคนอื่นๆ ของ IESG โดยเลือกจากรายชื่อซึ่งคณะกรรมการที่ทำการเสนอชื่อของ IETF ได้เตรียมเอาไว้ให้
    2. Architectural Oversight :IAB จะเป็นผู้ดูแลจัดหาสถาปัตยกรรมอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ สำหรับโปรโตคอล และ procedure ที่จะต้องใช้สำหรับ Internet
    3. Standards Process Oversight and Appeal :IAB จะเป็นผู้ดูแลและควบคุมเกี่ยวกับขบวนการสร้าง Internet Standards ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และทำหน้าที่เสมือนเป็นคณะกรรมการคอยวินิจฉัยยื่นคำร้องเมื่อมีการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้องสำหรับขบวนการ Standards Process
    4. RFC Series and IANA :ทำหน้าที่รับผิดชอบจัดการเกี่ยวกับบทบรรณาธิการและการตีพิมพ์ของ RFC document และรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารของสมาชิกชาว Internet
    5. External Liaison :IAB จะดำเนินการเหมือนกับเป็นตัวแทนของ Internet Society ในการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตราฐานทางเทคนิค และปัญหาต่างๆของโลกอินเตอร์เน็ต
    6. Advice to ISOC :IAB จะคอยเป็นที่ปรึกษาและให้การแนะนำแก่คณะกรรมการและพนักงานของ Internet Society ไม่ว่าจะเป็นในด้านของเทคนิค สถาปัตยกรรม procedure และเกี่ยวกับนโยบายต่างๆที่มีการกำหนดขึ้น

 

 

 

 

 

Overview of IRTF

IRTF เป็นกลุ่มเล็กๆ ของสมาชิกที่เรียกว่า Research Groups ซึ่งมารวมกันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

Research Groups จะทำงานเกี่ยวกับเรื่องของ protocols, application, architecture and technology โดยที่ Research Groups ได้รับการคาดหวังว่าจะคงมีสถานภาพที่มั่นคงเพื่อที่จะได้มีการสนับสนุนพัฒนาการทำงานของกลุ่ม ในการที่จะสำรวจวินิจฉัยถึงประเด็นสำคัญต่างๆ ซึ่งผู้เข้ามามีส่วนร่วมส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจ มากกว่าที่จะเป็นตัวแทนขององค์กรต่างๆ

การบริหารงานของ IRTF จะมี ตำแหน่งที่เรียกว่า IRTF Chair ในการประชุมเพื่อปรึกษาหารือกันกับ IRSG ซึ่งสมาชิก IRSG จะต้องมี IRTF Chair หลายตำแหน่งสำหรับ Reseach Groups และบุคคลอื่นๆจาก Research community

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Overview of the IESG

IESG รับผิดชอบในส่วนของการจัดการด้านเทคนิคของกิจกรมต่างๆของ IETF และของขบวนการ Internet Standards process ซึ่งมีการดำเนินการบริหารตามกฏและ procedures ที่ได้รับการอนุมัติจาก ISOC แล้ว ซึ่ง IESG มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการที่จะเข้ามาเป็นสมาชิก และ การเคลื่อนไหวต่างๆ ของ internet standards track ที่ได้มีการอนุมัติและระบุว่าให้เป็น Internet Standards