<%@LANGUAGE="VBSCRIPT" CODEPAGE="874"%> การวิจัยดำเนินการ [ Operation Research ]
บทนำ
CPM/PERT
เกม
กำหนดการเชิงเส้น
ดูอัล
สินค้าคงเหลือ
ระบบแถวคอย
ปัญหาการขนส่ง
เมทริกซ์
 

Course Introduction
Course Syllabus
Lesson
Course Map
Webboard
E-mail
Course Team
 




                                 เรื่องที่ 6.3 การคำนวณสินค้าคงเหลือ

การคำนวณสินค้าคงเหลือ
       คิดเฉลี่ยเพียงปีละครั้งโดยคำนวณได้ดังนี้
                          -  การใช้สินค้าคงที่
- การใช้สินค้าไม่คงที่ นั่นคือ ถ้าบริษัทแห่งหนึ่งซื้อสินค้าเพียงปีละครั้งในตอนต้นปี การใช้สินค้านั้นคงที่และถ้าสินค้าหน่วยสุดท้ายถูกใช้หมดไปใน วันสิ้นปีพอดี จะทำให้สินค้าคงเหลือเฉลี่ยของบริษัทเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนสินค้าที่ซื้อเมื่อตอนต้นปี
ตัวอย่าง 6.1 สมมุติให้มีการใช้สินค้าคงที่ จงหาสินค้าคงเหลือเฉลี่ยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 31 ธ.ค. สินค้าคงเหลือ
1 ม.ค. 10,000
1 ก.พ. 9,167
1 มี.ค. 8,335
1 เม.ย. 7,499
1 พ.ค. 6,667
1 มิ.ย. 5,833
1 ก.ค. 4,999
1 ส.ค. 4,167
1 ก.ย. 3,333
1 ต.ค. 2,500
1 พ.ย. 1,667
1 ธ.ค. 833
31 ธ.ค. 0
65,000 สินค้าคงเหลือเฉลี่ย = 65,000/13 = 5,000 หน่วย
= 1/2 ของสินค้าต้นปี
ในกรณีที่การใช้สินค้าไม่คงที่ คิดคำนวณมากกว่าหรือน้อยกว่าน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสินค้าคงเหลือเมื่อต้นปี หรือคำนวณจาก
1. ครึ่งหนึ่งของผลบวกของสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 1 ม.ค. กับวันที่ 31 ธ.ค.
2. ผลรวมของสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 1 ม.ค. กับวันที่ 1 ก.ค. และ 31 ธ.ค. แล้วหารด้วย 3 หรือหาผลรวมของสินค้าคงเหลือต้นเดือนของทุกเดือนรวมกับสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นปี แล้วหารด้วย 13
ตัวอย่าง6.2 สมมติใช้สินค้าไม่คงที่ จงหาสินค้าคงเหลือตั้งเเต่วันที่ 1ม.ค. ถึง 1 ธ.ค. สินค้าคงเหลือ
1 ม.ค. 10,000
1 ก.พ. 9,000
1 มี.ค. 8,000
1 เม.ย. 6,600
1 พ.ค. 5,000
1 มิ.ย. 3,000
1 ก.ค. 1,600
1 ส.ค. 1,200
1 ก.ย. 1,000
1 ต.ค. 750
1 พ.ย. 500
1 ธ.ค. 400
31 ธ.ค. 0
47,050
สินค้าคงเหลือเฉลี่ย = 47,050/13 = 3,619 หน่วย
เรื่องที่