<%@LANGUAGE="VBSCRIPT" CODEPAGE="874"%> การวิจัยดำเนินการ [ Operation Research ]
บทนำ
CPM/PERT
เกม
กำหนดการเชิงเส้น
ดูอัล
สินค้าคงเหลือ
ระบบแถวคอย
ปัญหาการขนส่ง
เมทริกซ์
 

Course Introduction
Course Syllabus
Lesson
Course Map
Webboard
E-mail
Course Team
 




                                        เรื่องที่ 6.6 สินค้าขาดมือ

สินค้าขาดมือ
          "สินค้าขาดมือ"  เป็นปัญหาที่เกิดจากฝ่ายจัดซื้อของกิจการไม่สามารถที่จะจัดหาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งให้ทันกับความ
ต้องการใช้  ซึ่งสินค้าขาดมือเกิดจาก
                    -   ความไม่แน่นอนในอัตราการใช้สินค้า
- ช่วงเวลาที่รอสินค้า
ผลที่เกิดขึ้น : เมื่อมีสินค้าขาดมือ ต้นทุนจะสูงมากขึ้น โดยต้นทุนแบ่งออกได้เป็น - ต้นทุนภายนอก เช่น สูญเสียยอดขาย และลูกค้าไม่พอใจบริษัท
- ต้นทุนภายใน เช่น มีเครื่องจักรว่าง และเสียค่าจ้างโดยไม่จำเป็น
การแก้ปัญหา : ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะ " การหาสินค้าสำรองเมื่อทราบต้นทุนสินค้าขาดมือ" สินค้าสำรอง หมายถึง สินค้าคงเหลือส่วนเกินที่ถือไว้เพื่อลดความเสี่ยงในการที่จะเกิดสินค้าขาดมือ การมีสินค้าสำรองจะมีผลกระทบถึงต้นทุนของกิจการสองตัว คือ - ทำให้ต้นทุนเมื่อสินค้าขาดมือลดลง
- แต่จะทำให้ต้นทุนในการรักษาสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น สินค้าสำรองที่เหมาะสมที่สุดนั้นกำหนดจากจุดมุ่งหมายสองประการ คือ 1. ทำให้ต้นทุนเมื่อสินค้าขาดมือน้อยที่สุด
2. ในขณะเดียวกันก็จะต้องทำให้ต้นทุนในการรักษาสินค้าคงเหลือเพื่อความปลอดภัยน้อยที่สุดด้วย
ภาพ 6-2 แสดงระดับสินค้าคงเหลือ เมื่อการใช้สินค้าเป็นไปอย่างคงที่ แต่ช่วงเวลาที่รอสินค้าถึงมือ (Lead time) นานกว่าปกติ (เมื่อไม่มีสินค้าสำรอง)
ตัวอย่าง6.8 การตัดสินใจของบริษัท คลีน จำกัดว่าจะดำรงสินค้าสำรองไว้เท่าใด โดยใช้วิธีการของความน่าจะเป็นซึ่งเป็นวิธีที่ ให้ผลน่าพอใจที่สุดในปัจจุบัน วิธีนี้มีข้อสมมุติให้ระยะเวลาที่รอสินค้าถึงมือคงที่ คือ สินค้าที่สั่งได้รับตรงเวลาทุก ครั้งจากข้อสมมุตินี้สินค้าคงเหลือขาดมือจะมีสาเหตุจากอัตราการใช้สินค้าเพิ่มขึ้นหลังจากถึงจุดสั่งซื้อแล้วเพียง สาเหตุเดียวและสาเหตุของสินค้าขาดมือคือการเพิ่มขึ้นในความต้องการหลังจากการสั่งซื้อสินค้าแล้วเท่านั้น จำนวนสั่งซื้อมอเตอร์ไฟฟ้าที่เหมาะสมที่สุดในการสั่งซื้อแต่ละครั่งของบริษัท คลีน จำกัด จากการคำนวณ โดยใช้สูตรขนาดคำสั่งซื้อที่ประหยัดจะต้องสั่งซื้อที่ประหยัดจะต้องสั่งซื้อครั้งละ 3,600 หน่วย อัตราการใช้ มอเตอร์ไฟฟ้า 50 อันต่อวัน ล่วงเวลาที่รอสินค้าตามปกติ 6 วัน บริษัทต้องการที่จะหาว่าบริษัทควรกำหนดสินค้า สำรองไว้มากน้อยเท่าใด ในขั้นแรกบริษัท คลีน จำกัดจะต้องวิเคราะห์ใบบันทึกสินค้าคงเหลือของมอเตอร์นี้ เพื่อดูถึงอัตราการใช้ มอเตอร์ไฟฟ้าหลังจากช่วงเวลาสั่งซื่อ แล้วแจกแจงอัตราการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในระดับต่างๆ ออกมาในรูปของ ความน่าจะเป็น ดังตารางข้างล่างนี้ ตาราง ความน่าจะเป้นของอัตราการใช้สินค้าในระดับต่างๆ ในช่วงหลังจากสั่งซื้อแล้ว ถ้าบริษัท คลีน จำกัดสั่งซื้อเมื่อระดับสินค้าคงเหลือตกลงถึง 300 หน่วย ในช่วงเวลารอสินค้า บริษัทจะปลอดภัยจากสินค้าขาด มือ 81 % (0.68 + 0.06 +0.04 +0.03) โดยที่โอกาสที่สินค้าขาดมือจะเป็น 19 % (0.09+ 0.07 + 0.03) ฝ่ายบริหารจะ ต้องตระหนักถึงโอกาสทีสินค้าขาดมือ 19 % นี้ เพื่อที่จะลดหรือหลีกเลี่ยงสินค้าขาดมือ บริษัทคลีนจำกัดต้องรักษาสินค้าคงเหลือไว้จำนวนหนึ่งนอกเหนือจากที่คงเหลืออยู่ ณ ระดับของจุดสั่งซื้อ ฝ่ายบริหารต้องพิจารณาสินค้าสำรองหลายๆ ระดับแล้วเลือกเอาระดับที่ทำให้ผลรรวมของต้นทุน เมื่อสินค้า ค้าขาดมือกับต้นทุนในการรักษาสินค้าคงเหลือของสินค้าสำรองต่ำที่สุด บริษัทคลีนจำกัดได้พิจารณาถึงระดับสินค้าสำรอง หลายระดับ คือ 1. ณ ระดับที่มีสินค้าสำรอง 50 หน่วย จะเพียงพอต่อการใช้ 350 หน่วยในช่วงหลังการสั่งซื้อ สินค้าขาดมือจะเกิดขึ้น เมื่อการใช้เป็น 400 หรือ 450 หน่วย หรือมีความน่าจะเป็นที่สินค้าจะขาดมือ = 0.07 + 0.03 + = 0.10 ในช่วงเวลาของการ สั่งซื้อ 2. ณ ระดับที่มีสินค้าสำรอง 100 หน่วย ถ้าการใช้ในช่วงเวลาของการสั่งซื้อเป็น 350 หรือ 400 หน่วย สินค้าจะไม ่ขาดมือ สินค้าจะขาดมือเมื่อการใช้เป็น 450 หน่วย หรือมีความน่าจะเป็น 0.03 ในช่วงเวลานั้น 3. ณ ระดับที่มีสินค้าสำรอง 150 หน่วย ถ้าการใช้ในช่วงเวลาการสั่งซื้อ เป็น 350, 400, หรือ 450 หน่วย สินค้าจะ ไม่ขาดมือเลย สมมุติต่อไปว่า บริษัทคลีนจำกัดมีต้นทุนเมื่อสินค้าขาดมือ 50 บาท ต่อหน่วย โอกาสที่ะเกิดสินค้าขาดมือนั้นเกิดขึ้นเมื่อ ระดับสินค้าคงเหลือลดลงเข้าใหล้จุดต่ำสุดหรือจุดสั่งซื้อ ดังนั้นบริษัทฯจะต้องพิจารณาช่วงเวลาที่จะทำการสั่งซื้ออยู่ตลอดปี สมมุติว่าจากสูตรขาดการสั่งซื้อที่ประหยัด ฝ่ายบริหารของบริษัทพบว่าจำนวนครั้งสั่งซื้อที่ดีที่สุด คือ 5 ครั้งต่อไป ดังนั้นบริษัทฯ บริษัทฯก็มีโอกาสที่มอเตอร์ไฟฟ้าจะขาดมือ 5 ครั้ง ในระหว่างปีนนั้น ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดจึงมีผลต่อจุดสั่งซื้อ ต้นทุนเมื่อเกิดสินค้าขาดมือสำหรับการเก็บสินค้าสำรอง 4 ระดับคือ 0 หน่วย, 50 หน่วย, 100 หน่วย และ 150 หน่วย แสดงไว้ในตารางข้างล่างนี้ ตาราง แสดงต้นทุนเมื่อสินค้าขาดมือ (Cost of being out stock)
       ***  ต้นทุนต่อปีที่คาดไว้ = จำนวนสินค้าขาดมือ x  ความน่าจะเป็นที่สินค้าจะขาดมือ x ต้นทุนเมื่อสินค้าขาดมือต่อหน่วย
                                                x จำนวนครั้งที่สั่งซื้อต่อปี
               ถ้าต้นทุนในการรักษาสินค้าคงเหลือของบริษัทคลีนจำกัดเท่ากับ 10 บาทต่อหน่วย / ต่อปี บริษัทฯก็สามารถคำนวณหา
ต้นทุนรวมต่อปีได้ในแต่ละระดับของสินค้าสำรอง โดยการรวมต้นทุนเมื่อในค้าขาดมือกับต้นทุนในการรักษาสินค้าคงเหลือ
ดังแสดงในตารางต่อไปนี้
                                                           ตาราง  ต้นทุนรวมของสินค้าสำรอง
                      *  1,375 บาท  เป็นต้นทุนรวมต่อปีที่ต่ำที่สุด  ดังนั้นสินค้าสำรองที่ดีที่สุดคือ 100 หน่วย
                  	เมื่อบริษัทฯนำเอานโยบายสินค้าสำรองมาใช้จะทำให้จุดสั่งซื้อเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น 
ถ้าเก็บมอเตอร์ไฟฟ้าไว้เพื่อเป็นสินค้าสำรอง 100 หน่วย จุดสั่งซื้อจะเป็น
                      จุดสั่งซื้อ  =  (การใช้สินค้าต่อวัน x  เวลารอสินค้าเป็นวัน) + สินค้าสำรอง
                                     =  (50 * 6) + 100
= 400 หน่วย
กิจกรรม 6.7 บริษัท ซีนิค จำกัด กำหนดปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่ประหยัดที่สุด เท่ากับ 1,000 หน่วย ทุกๆ 30 วัน นอกจากนั้น บริษัททราบได้อย่างแน่นอนว่า เวลาที่ใช้ในการสั่งซื้อเท่ากับ 4 วัน บริษัทประมาณว่าในแต่ละเดือนจะใช้สินค้าดังแสดงในตาราง ข้างล่าง ปริมาณการใช้ (หน่วย) 900 950 100 1050 1100 1150 1200 1250 ความน่าจะเป็น 0.06 0.14 0.30 0.16 0.13 0.10 0.07 0.04
สมมุติว่าต้นทุนเมื่อสินค้าขาดมือเท่ากับ 10 บาท ต่อหน่วยและต้นทุนในการรักษาสินค้าคงเหลือเท่ากับ 1 บาทต่อหน่วย ให้คำนวณหาระดับสินค้าสำรองที่เหมาะสมที่สุด แนวตอบ
คำนวณหาต้นทุนเมื่อสินค้าขาดมือ 
สินค้าสำรอง
จำนวนสินค้าขาดมือ
ต้นทุน
( @ 10) บาท
ความน่าจะเป็น
ต้นทุน คาดหมาย(บาท)
 

250
200
150

100


50



0

0
50
100
50
150
100
50
200
150
100
50
250
200
150
100
50
0

500
1,000
500
1,500
1,000
500
2,000
1,500
1,000
500
2,500
2,000
1,500
1,000
50

0
0.04
0.04
0.07
0.04

0.07
0.10
0.04

0.07
0.10
0.13
0.04
0.07
0.10
0.13
0.16

0
20
40
35
60
70
50
80
105
100
65
100
140
150
130
80

0

20

75


180



350




600

                  คำนวณหาต้นทุนรวม            ต้นทุนเมื่อสินค้า                  ต้นทุนในการเก็บสินค้า                ต้นทุนรวม
                        สินค้าสำรอง                          ขาดมือ                           คงเหลือ ( @ 10 )
                                 0                                    600                                             0                               600
50 350 50 400
100 180 100 280
150 75 150 225
* 200 20 200 220
250 0 250 250
จากการคำนวณจะเห็นว่า บริษัทควรจะรักษาระดับสินค้าคงเหลือเพื่อความปลอดภัยไว้ 200 หน่วย เพราะทำให้เกิดต้นทุนรวมต่ำที่สุด

เรื่องที่