<%@LANGUAGE="VBSCRIPT" CODEPAGE="874"%> การวิจัยดำเนินการ [ Operation Research ]
บทนำ
CPM/PERT
เกม
กำหนดการเชิงเส้น
ดูอัล
สินค้าคงเหลือ
ระบบแถวคอย
ปัญหาการขนส่ง
เมทริกซ์
 

Course Introduction
Course Syllabus
Lesson
Course Map
Webboard
E-mail
Course Team
 




                              เรื่องที่ 7.2.1 ต้นทุนของระบบแถวคอย 

ต้นทุนของระบบแถวคอย 
              ค่าใช้จ่ายในระบบแถวคอยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  คือ
1. ค่าใช้จ่ายในการให้บริการ
2. ค่าใช้จ่ายในการรอคอย
ค่าใช้จ่ายในการให้บริการ หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เช่น ค่าจ้างคนทำหน้าที่ให้บริการ หรือค่าใช้จ่ายในการเช่าหรือซื้ออุปกรณ์ให้บริการและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายในการให้บริการคำนวณ ได้ง่ายเพราะเป็นจำนวนเงินที่จ่ายจริง สำหรับค่าใช้จ่ายในการรอคอย เป็นค่าใช้จ่ายอันเป็นผลมาจากการที่ลูกค้าต้องเสียเวลารอคอยเพื่อรับบริการ ค่าใช้จ่ายในการรอคอยประเมินได้ยากกว่าเพราะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างของระบบแถวคอย เป็นต้นว่า อาชีพ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและความอดทนของลูกค้า เป็นที่ทราบดีว่าการเพิ่มค่าระดับการบริการให้มากขึ้น เช่น เพิ่มอุปกรณ์การให้บริการ เพิ่มพนักงานให้บริการ จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการให้บริการสูงขึ้นไปด้วย ดังภาพที่ 9
  ค่าใช้จ่ายของการ
บริการต่อลูกค้า
1 คน
 
จำนวนผู้ให้บริการ
                  ภาพที่ 9  ความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่ายในการบริการและระดับการบริการ ( จำนวนผู้ให้บริการ )

              ในทางตรงกันข้ามถ้าระดับการให้บริการยิ่งสูงขึ้นเท่าใด  เวลารอคอยจะลดลงมากยิ่งขึ้นดังภาพที่ 10  
 
เวลารอคอย
โดยเฉลี่ย
ต่อลูกค้า
1 คน
 
 
จำนวนผู้ให้บริการ
                      ภาพที่ 10  ความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่ายในการรอคอยและระดับการบริการ ( จำนวนผู้ให้บริการ )

                 จากภาพที่ 9 และภาพที่ 10 จะเห็นได้ว่าปัญหาที่ผู้บริหารต้องตัดสินใจ คือ “ ระดับการบริการ ” ว่าจะจัดให้แค่ไหน
เพราะว่าถ้าเราจัดระดับการให้บริการในปริมาณที่มากจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการบริการสูงแต่ลูกค้าจะลดเวลารอคอยลงซึ่ง
เป็นสิ่งที่ลูกค้าพอใจ  ในทางกลับกันลดระดับการให้บริการลงจะทำให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายในการบริการ แต่ขณะเดียวกัน
ก็จะทำให้ลูกค้าเสียเวลารอคอยนานขึ้น  ในการวิเคราะห์ต้นทุนของระบบแถวคอยจะต้องประเมินค่าเสียหายที่เกิดจากการรอคอย
คิดออกมาเป็นจำนวนเงินซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายในการรอคอย  จะพบว่าค่าใช้จ่ายในการให้บริการจะสวนทางกับค่าใช้จ่ายในการ
รอคอย คอย  คือ  ถ้าค่าใช้จ่ายในการรอคอยลดลงค่าใช้จ่ายในการให้บริการจะสูงขึ้นตามระดับการให้บริการที่สูงขึ้นดัง
ภาพที่  11
 
เวลารอคอย
โดยเฉลี่ย
ต่อลูกค้า
1 คน
ค่าใช้จ่ายรวมโดยเฉลี่ย

ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการให้บริการ
 




ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรอคอย
จำนวนผู้ให้บริการ
                 ภาพที่ 11  ความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่ายของระบบแถวคอยและระดับการบริการ ( จำนวนผู้ให้บริการ )

                ปัญหาการตัดสินใจเกี่ยวกับระบบแถวคอย  คือ  การพยายามทำให้เกิดความสมดุล ระหว่างค่าใช้จ่ายทั้งสองด้านคือ  
ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรอคอยและค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการให้บริการ  ดังนั้น  วัตถุประสงค์ของผู้ตัดสินใจ  คือ  การกำหนดระดับ
บริการที่ทำให้ค่าใช้จ่ายรวมโดยเฉลี่ยมีค่าต่ำสุด  ค่าใช้จ่ายรวมโดยเฉลี่ยคำนวณได้ดังนี้
ค่าใช้จ่ายรวมโดยเฉลี่ย = ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรอคอย + ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการให้การบริการ
                ภาพที่ 11  จะเห็นได้ว่าจุดที่เหมาะสมอยู่ที่จุดที่ให้ค่าใช้จ่ายรวมโดยเฉลี่ยต่ำสุด
               โดยส่วนใหญ่แล้วปัญหาพื้นฐานของการรอคอยจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในสิ่งต่อไปนี้
1. จำนวนผู้ให้บริการที่หน่วยบริการ
2. ประสิทธิภาพของผู้ให้บริการ
3. จำนวนหน่วยให้บริการ
ตัวแปรในระบบแถวคอยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการตัดสินใจใน 3 ประการข้างต้น คือ
S = จำนวนผู้ให้บริการในแต่ละหน่วยบริการ
= อัตราการให้บริการเฉลี่ย ( จำนวนลูกค้าต่อ 1 หน่วยเวลา )
= อัตราการมารับบริการในแต่ละหน่วยบริการ ( จำนวนลูกค้าต่อ 1 หน่วยเวลา )
กล่าวโดยสรุปวิธีการหนึ่งในการเลือกระบบแถวคอยที่เหมาะสมมีขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดทางเลือกของระบบแถวคอย
2. ประเมินทางเลือกแต่ละทาง
3. เลือกทางเลือกที่ดีที่สุด
ตัวอย่างที่ 1 โรงงานซ่อมเครื่องจักรแห่งหนึ่งมีแผนกเบิกจ่ายอะไหล่บริการแก่นายช่างของโรงงาน จากข้อมูลของโรงงาน ปรากฏว่าจะมีนายช่างมาเบิกของประมาณ 100 คนในช่วง 8 ชั่วโมงทำงานในหนึ่งวัน ผู้จัดการต้องตัดสินใจว่าควรจะจัด พนักงาน 1 คน 2 คน 3 คน หรือ 4 คนเพื่อให้บริการจ่ายอะไหล่ให้แก่นายช่าง ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลและวิธีการคำนวณ ค่าใช้จ่ายสำหรับทางเลือกต่างๆดังนี้ ตารางที่ 1 แสดงค่าใช้จ่ายระบบเบิกจ่ายอะไหล่สำหรับทางเลือกต่างๆ
  
จำนวนพนักงานจ่ายอะไหล่
1
2
3
4
จำนวนนายช่างมารับบริการในช่วง 1 วัน ( 8 ชั่วโมงทำงาน )
100
100
100
100
จำนวนเวลาโดยเฉลี่ยที่นายช่างแต่ละคนต้องรอ ( นาที )
10
6
4
2
เวลาเฉลี่ยที่สูญเสียไปในการรอคอยทั้งหมดในช่วง 1 วัน ( นาที )
1000
600
400
200
อัตราค่าจ้าง/ชม. ของนายช่าง ( บาท )
30
30
30
30
ประเมินค่าเสียหายในการรอคอย ( บาท )
500
300
200
100
อัตราค่าจ้าง/ชม. ของพนักงานจ่ายอะไหล่ ( บาท )
15
15
15
15
ค่าจ้างต่อวันสำหรับพนักงานจ่ายอะไหล่ ( ทำงาน 8 ชม./วัน )
120
240
360
480
ค่าเสียหายในการรอคอย + ค่าจ้างพนักงานจ่ายอะไหล่ ( บาท )
620
540
560
580
                                                                                                                          ค่าใช้จ่ายต่ำสุด
               ค่าเสียหายในการรอคอยคำนวณได้ดังนี้
ค่าเสียหายในการรอคอย = เวลาที่เสียในการรอคอย * อัตราค่าจ้างของนายช่าง
              ในกรณีมีพนักงานเบิกจ่ายของ 1 คน  นายช่างจะเสียเวลารอคอยรวมทั้งสิ้น 1000 นาที  ซึ่งเท่ากับ  1000/60 ชั่วโมง
อัตราค่าจ้างนายช่างเท่ากับ 30 บาท/ชม.  ฉะนั้นค่าเสียหายในการรอคอยเท่ากับ 500 บาท ((1000/60) *30)
              จากตารางที่ 1   ได้ว่าการจ้างพนักงานจ่ายอะไหล่จำนวน 2  คน  ทำให้เสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันต่ำสุดซึ่งมีค่าเท่ากับ
540 บาท
เรื่องที่