<%@LANGUAGE="VBSCRIPT" CODEPAGE="874"%> การวิจัยดำเนินการ [ Operation Research ]
บทนำ
CPM/PERT
เกม
กำหนดการเชิงเส้น
ดูอัล
สินค้าคงเหลือ
ระบบแถวคอย
ปัญหาการขนส่ง
เมทริกซ์
 

Course Introduction
Course Syllabus
Lesson
Course Map
Webboard
E-mail
Course Team
 




                                   เรื่องที่ 8.5.1 สเตปปิงสโตน

               เป็นวิธีที่ใช้กับตารางขนส่งที่มีจำนวนแถวบวกจำนวนสดมภ์ลบหนึ่ง เท่ากับจำนวนช่องคำตอบที่ได้ใส่ตัวเลขลงไป
               การปรับปรุงคำตอบเริ่มต้นวิธีนี้คือหาตัวแปรเข้าและตัวแปรออกโดยการสร้าง รูปบ่วงปิด ( Closed Loop ) 
โดยที่จุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายจะต้องเป็นตัวแปรไม่เป็นมูลฐานตัวเดียวกัน ในการสร้างบ่วงปิดจะลากเส้นตามแนวตั้งและ
แนวนอน จุดมุมของบ่วงปิดจะต้องเป็นตัวแปรมูลฐานเสมอ ( จุดมุมจะเป็นมุมฉาก )  ตัวอย่างการสร้างบ่วงปิดจากตารางที่ 
8-1 ซึ่งมีตัวแปรมูลฐาน m+n-1 ตัวพอดี ถ้าเริ่มจาก X31  ซึ่งไม่เป็นตัวแปรมูลฐานเมื่อลากเส้นตามแนวตั้งและแนวนอน
นอนโดยจุดมุมเป็นตัวแปรมูลฐาน จะลากดังนี้  X31 X11 X12 X22 X24 X34 X31 ถ้าเริ่ม
จาก  X32     จะสร้างบ่วงดังนี้ X32 X22 X24 X34 X32        ดังตารางที่ 8-2 ตัวแปรมูลฐานใด ที่ไม่ได้เป็น
จุดมุมจะถือว่าเป็นทางผ่านเท่านั้น
                                                            
                                                                                 ตารางที่ 8.1                          
                          
                                                                                ตารางที่ 8-2
                  เมื่อสร้างบ่วงปิดแล้วจะใช้บ่วงนี้ตรวจสอบว่าจะสามารถปรับปรุงคำตอบได้หรือไม่
                 การสร้างบ่วงปิดจะลากในทิศทวนเข็มหรือตามนาฬิกาก็ได้  จากตารางที่ 8-1 เมื่อสร้างบ่วงปิดโดยเริ่มจาก
ตัวแปรแปรไม่เป็นมูลฐานที่เหลือจะได้ดังนี้
                                                 
                  จากตารางที่ 8-2 ถ้าเพิ่มค่า X32  เท่ากับ  หน่วย จะต้องลด X22 ลง  หน่วย แล้วเพิ่ม X24 หน่วย และลดค่า 
X34 หน่วย ดังรูปที่ 8-1 ทั้งนี้เพื่อรักษาข้อจำกัดด้าน Si และ dj
                                                                           
                                                                                          รูปที่ 8-1
                 การเพิ่มค่าตัวแปรไม่เป็นมูลฐาน แสดงว่าหาตัวแปรมูลฐานเข้า จึงต้องหาตัวแปรมูลฐานออกเพื่อให้จำนวนตัวแปร
มูลฐานมี  m+n-1 ตัวคงเดิม  และการที่จะเลือกตัวแปรใดเป็นตัวแปรเข้า จะต้องทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้น ซึ่งตรวจสอบดังนี้
               ให้เครื่องหมาย Cij ของตัวแปรไม่เป็นมูลฐาน ที่เป็นจุดเริ่มต้นในบ่วงปิดเป็น + จุดมุมถัดไปของบ่วงปิดให้เครื่องหมาย  
Cij เป็น  –  และมุมถัดไปเป็น + , - สลับกันไปเรื่อยๆ จนครบบ่วงปิด 
               ให้       เป็นค่าใช้จ่ายรวมที่เปลี่ยนไปเมื่อเพิ่มค่า Xij ( ตัวแปรไม่เป็นมูลฐาน ) 1 หน่วย 
ค่า = ผลรวม Cij ที่จุดมุมทุกๆจุดในบ่วงปิด โดยคิดเครื่องหมาย Cij ตามที่กำหนดให้
ถ้าค่า เป็น + แสดงว่าเพิ่ม Xij 1 หน่วย ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
ถ้าค่า เป็น – แสดงว่าเพิ่ม Xij 1 หน่วย ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง
ตัวอย่างที่ 12 จากตารางที่ 8-1 ต้องการตรวจสอบว่าเมื่อเพิ่ม X32 1 หน่วย จะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหรือลดลง ทำได้โดยหา จากบ่วงปิด X32 X22 X24 X34 X32 ดังนี้
ใช้ทำเครื่องหมาย C32 เป็น +, C22 เป็น - , C24 + , C34 -
หา C32 โดยรวม Cij ทั้งหมดในบ่วงปิดนี้ จะได้
= +14-7+20-18 = 9
ค่า C32 เป็นบวก แสดงว่าการเพิ่มค่า X32 1 หน่วย จะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 9 บาท
ในกรณีนี้ จึงไม่ควรเพิ่มค่า X32 เพราะว่า เป้าหมายขณะนี้คือค่าใช้จ่ายต่ำสุด
ต่อไปพิจารณาว่าควรเพิ่มค่า X31 หรือไม่ โดยการหา C31 จากบ่วงปิด
X31
X11 X12 X22 X24 X34 X31 ให้เครื่องหมาย C31 เป็น + , C11 - , C12 + , C22 -, C24 + , C34 - จะได้
= + 0 – 10 + 0 – 7 + 20 – 18 = –15
ค่า C31 = -15 แสดงว่าถ้าเพิ่มค่า X31 1 หน่วย จะทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง 15 บาท ใน กรณีนี้ควรเพิ่มค่า X31 ให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้โดยที่ยังสอดคล้องกับ Si และ dj จะได้ว่า X31 เพิ่มได้มากที่สุดเท่ากับ 5 ( เพิ่มภายในบ่วงปิดนั้นๆ ) ได้ตัวแปร มูลฐานใหม่ดังตารางที่ 8-3 ตารางที่ 8-3 ค่าใช้ใหม่ที่ได้นี้ จะลดจากเดิม = 5(15) = 75 บาท นั่นคือ ค่าใช้จ่ายใหม่ = 410 – 75 = 335 บาท หมายเหตุ การเพิ่ม Xij ( ตัวแปรไม่เป็นมูลฐาน ) จะเพิ่มให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เพื่อให้ถึงเป้าหมายเร็วที่สุด โดยที่ยัง สอดคล้อง คล้อง Si กับ dj และ ค่า Xij ที่เพิ่มขึ้น จึงเลือกจากค่าต่ำสุดของตัวแปรมูลฐานที่กำหนดค่า Cij เป็น – ภายในบ่วงปิด เช่นจากตารางที่ 8-2 จะเพิ่มค่า X31 โดยที่ X31 พิจารณาได้จากบ่วงปิด
X31
X11 X12 X22 X24 X34 X31
ค่า Cij ที่ถูกกำหนดเครื่องหมายเป็นลบ คือ C11 ,C22 ,C34 ค่าตัวแปรมูลฐาน
X11 = 5, X22 = 5 , X34 = 5 จะได้
X31 มากที่สุด = min { X11 , X22 , X34 } = 5 ต่อไปพิจารณาตารางที่ 8-3 โดยนับจำนวนตัวแปรมูลฐานใหม่ให้ครบ m+n-1 ตัว เริ่มสร้างบ่วงปิดแล้วคำนวณ
ของ Xij ซึ่งไม่เป็นตัวแปรมูลฐาน จะได้ค่า Cij อยู่มุมล่างในแต่ละช่องของตารางที่ 8-4 จากตารางที่ 8-3 ได้ค่า = -2 และ = -5 แสดงว่าตัวแปรไม่เป็นมูลฐานที่เพิ่มค่า แล้วทำให้ค่าใช้จ่าย ลดลงมี 2 ตัว คือ X14 และ X21 ตาราง ที่ 8-4 ถ้าเพิ่ม X14 1 หน่วย จะทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง 2 บาท
ถ้าเพิ่ม X21 1 หน่วย จะทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง 5 บาท
ดังนั้นจึงควรเพิ่มค่า X21 เพราะลดค่าใช้จ่ายได้เร็วกว่า ปรากฏว่า เพิ่ม X21 ได้ 0 หน่วย = min{ 0,0 }
ดังตารางที่ 8-35 ซึ่งการเพิ่ม X
21 0 หน่วย ค่าใช้จ่ายยังคงเดิมเพียงแต่เปลี่ยนตัวแปรมูลฐานจาก X11 เป็น X21 ตารางที่ 8-5 จากตารางที่ 8-5 นับจำนวนตัวแปรมูลฐานให้ได้ m+n-1 ตัวแล้วสร้างบ่วงปิดใหม่และคำนวณ ใหม่ ได้ค่า ได้ค่า C14 = -2 ขณะที่ค่า ของตัวแปรไม่เป็นมูลฐานอื่นๆ เป็นบวก แสดงว่า ถ้าเพิ่ม X14 1 หน่วย จะทำให้ค่าใช้จ่าย ลดลง 2 บาท จึงเพิ่มค่า X14 มากที่สุด ได้ = min{ X24 ,X12 } = min{ 10 ,15 } = 10 หน่วย ตัวแปรมูลฐานใหม่ ดังตารางที่ 8-6 คำนวณ ใหม่โดยสร้างบ่วงปิดใหม่ ปรากฏว่าได้ เป็น + ทั้งหมด แสดงว่าไม่สามารถเพิ่มค่า ตัวแปรเพื่อลดค่าใช้จ่ายได้อีก นั่นคือได้ค่าใช้จ่ายต่ำสุดเท่ากับ 335+10(-2) = 315 = 5*0+10*11+0*12+10*7+15*9+5*0 ตารางที่ 8-6 หมายเหตุ กรณีเป้าหมายหาค่าต่ำสุด ถ้า ของตัวแปรไม่เป็นมูลฐานเป็น + ทั้งหมดแสดงว่าได้คำตอบเหมาะสมกับ ปัญหาแล้ว ถ้ามี บางตัวของตัวแปรไม่เป็นมูลฐานมีค่า = 0 ขณะที่ อื่นๆ ของตัวแปรไม่เป็นมูลฐานเป็น + ทั้งหมด แสดงว่าปัญหานั้นมีคำตอบต่ำสุดได้มากกว่า 1 คำตอบ เพราะเมื่อเพิ่มค่า Xij ที่มี = 0 จะได้คำตอบต่ำสุดเท่าเดิม
กรณีเป้าหมายหาค่าสูงสุด ถ้า
ของตัวแปรไม่เป็นมูลฐานเป็น – ทั้งหมด แสดงว่าได้คำตอบเหมาะสม ของปัญหาแล้ว ถ้ามี บางตัวของตัวแปรไม่เป็นมูลฐาน = 0 ขณะที่ อื่นๆเป็น – แสดงว่าปัญหานั้นมีคำตอบ เหมาะสมมากกว่า 1 คำตอบ
ตัวอย่างที่ 13 สมมติว่า เราจะเลือกคำตอบเบื้องต้นจากวิธี north to south row rule ซึ่งมีลักษณะดังนี้ คำตอบที่เป็นไปได้เบื้องต้นจากวิธี north to south row rule
                                                                                       ตาราง ก 
                 จากคำตอบที่เป็นไปได้เบื้องต้นดังกล่าว เราจะใช้เป็นพื้นฐานในการหาความแตกต่างของต้นทุนค่าขนส่งเรียกชื่อว่า 
dij โดยคำนวณเฉพาะช่องที่ไม่มีคำตอบอยู่เท่านั้น
                การคำนวณหา dij นั้นให้ทำโดยเพิ่มค่าเข้าไปในช่องที่ต้องการคำนวณเท่ากับ  a แล้วไล่ไป จนครบวงจรดังนี้ คือ
                                             d12 =  0.8+0.4+0.5-0     =  +0.9
d14 = 0.7+0.1+0.8-0.4 = +1.0
d21 = 0.9+0.1+0.4-0.5 = +0.7
d24 = 0.7+0.1+0.8-0.5 = +0.9
d31 = 0.3+0.8+0.4-0.1 = -0.2
d32 = 0.6+0.8+0.5-0 = +0.3
เมื่อคำนวณความแตกต่างของต้นทุนค่าขนส่ง dij จนครบทุกช่องที่ว่างอยู่แล้ว ให้ตรวจสอบว่ามีค่า dij ที่ติดลบอยู่ หรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าคำตอบที่เป็นไปได้เบื้องต้นนั้นยังไม่ถึงจุดที่ค่าขนส่งรวมต่ำที่สุด และ Xij หรือปริมาณการขนส่งควรจะ มีค่าในช่องที่ dij เป็นลบ และมีค่าสมบูรณ์มากที่สุด ในที่นี้ dij เป็นลบที่ d31 เราจะเพิ่มค่า X31 เข้าไปในตารางคำตอบที่เป็นไปได้เบื้องต้น ซึ่งค่าที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด คือ X31 เท่ากับ 50 การเพิ่มค่าดังกล่าวจะทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงจร ซึ่งเมื่อบวกและลบออกไป จนครบวงจรแล้วจะได้คำตอบดังนี้ คำตอบที่ 1 ของวิธี stepping stone
                การเพิ่มค่า X31  =  50 นั้น จะทำให้ X33 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 50 อยู่เดิมหายไป ในขณะเดียวกันในแถวตั้งที่ 1  จะทำให้ 
X11 มีค่าลดลงเท่ากับ 50 ในขณะที่ X13 มีค่าเพิ่มขึ้น 50 ซึ่งนับว่าครบวงจรพอดี คำตอบใหม่นี้จะให้ค่าต้นทุนค่าขนส่งรวม
ต่ำลงคือ
                                 ค่าขนส่ง  =  50*0.1+150*0.4+250*0+50*0.3+350*0.1  = 115 บาท
               อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าต้นทุนค่าขนส่งรวมจะต่ำลง เราก็ยังไม่แน่ใจว่า คำตอบที่ได้นี้ เป็นต้นทุนที่ต่ำที่สุดแล้วหรือไม่
วิธีการตรวจสอบก็คือ ใช้คำตอบที่ 1 ที่ได้นี้เป็นพื้นฐานในการคำนวณหาความแตกต่างของต้นทุน dij สำหรับช่องที่ว่างอยู่
ซึ่งนักศึกษาที่ฝึกฝนมาดีแล้วคงอยากจะทำงานใน ส่วนนี้เพื่อทดสอบความสามารถ และเมื่อคำนวณ dij สำหรับช่องที่ว่าง
อยู่จนครบแล้วจะเห็นว่า ไม่มี dij ที่มีค่าติดลบอีก คำตอบที่ 1 ที่ได้นี้จึงเป็นคำตอบที่ให้ค่าต้นทุนขนส่งรวมต่ำที่สุดแล้ว
                                  คำตอบก็คือ    X11     =   50      ขวด       X13      = 150  ขวด
X22 = 250 ขวด
X31 = 50 ขวด X34 = 350 ขวด
ต้นทุนค่าขนส่งรวมคือ 115 บาท
ตัวอย่างที่14 กำหนดให้ตารางการขนส่งที่ตัวเลขภายในตารางที่อยู่ในวงกลมเป็นปริมาณสินค้า และตัวเลขที่อยู่ภายในตาราง ที่ไม่ได้อยู่ในวงกลมเป็นค่าขนส่ง จงใช้วิธีสเตปปิงสโตน วิธีทำ
จำนวนช่องที่ใส่ตัวเลขซึ่งเป็นสโตนเซลล์ = 5 ช่อง จำนวนช่องที่ไม่ได้ใส่ตัวเลขซึ่งเป็นวอเตอร์เซลล์ = 4 ช่อง
คือ ช่อง ( 1,3 ) ช่อง ( 2,1 ) ช่อง ( 2,3 ) ช่อง ( 3,1 )
จำนวนแถวบวกจำนวนสดมภ์ลบหนึ่ง = 3+3-1
= 5 ช่อง
= จำนวนสโตนเซลล์
ดังนั้นใช้วิธีสเตปปิงสโตน
สร้างเส้นทางแสดงการเปลี่ยนแปลง และใส่เครื่องหมายโดยเริ่มจากวอเตอร์เซลล์แต่ละช่อง เริ่มจากช่อง ( 1,3 ) ดัชนีการพัฒนา = ค่าขนส่งของช่อง ( 1,3 ) - ช่อง ( 1,2 ) + ช่อง ( 3,2 ) – ช่อง ( 3,3 )
= 4-2+6-3 = 5 เริ่มจากช่อง ( 2,1 ) ดัชนีการพัฒนา = ค่าขนส่งของช่อง ( 2,1 ) - ช่อง ( 2,2 ) + ช่อง ( 1,2 ) – ช่อง ( 1,1 )
= 1-5+2-3 = -5
เริ่มจากช่อง ( 2,3 )
ดัชนีการพัฒนา = ค่าขนส่งของช่อง ( 2,3 ) - ช่อง ( 2,2 ) + ช่อง ( 3,2 ) – ช่อง ( 3,3 )
= 2-5+6-3 = 0 เริ่มจากช่อง ( 3,1 ) ดัชนีการพัฒนา = ค่าขนส่งของช่อง ( 3,1 ) - ช่อง ( 3,2 ) + ช่อง ( 1,2 ) – ช่อง ( 1,1 )
= 4-6+2-3 = -3
จากการคำนวณค่าดัชนีการพัฒนา เลือกค่าที่น้อยที่สุด คือ –5 ซึ่งจะเริ่มจาก ช่อง ( 2,1 ) คือ พบว่าค่าที่เป็นลบ มี 2 ช่อง คือ 50 หน่วย , 75 หน่วย ดังนั้นเลือกค่าที่น้อยที่สุด คือ เลือก 50 หน่วย และเติม เติม 50 หน่วย ลงในช่อง ( 2,1 ) พร้อมทั้งปรับค่าอื่นๆ ดังนี้ หมายเหตุ ***ปรับครั้งที่ 1
** ปรับครั้งที่ 2
* ปรับครั้งที่ 3
หลังจากนั้นตรวจสอบวอเตอร์เซลล์ จากผลลัพธ์ที่พัฒนาไปแล้ว ได้แก่ช่อง ( 1,2 ) , ช่อง ( 1,3 ) ช่อง ( 2,3 ) ช่อง ( 3,1 )
เริ่มช่อง ( 1,1 ) ดัชนีพัฒนาคำตอบ = 3-1+5-2 = 5
เริ่มช่อง ( 1,3 ) ดัชนีพัฒนาคำตอบ = 4-2+6-3 = 5
เริ่มช่อง ( 2,3 )

ดัชนีพัฒนาคำตอบ = 4-2+6-3 = 5 เริ่มช่อง ( 3,1 ) ดัชนีพัฒนาคำตอบ = 4-6+5-1 = 2 จากการคำนวณดัชนีพัฒนาคำตอบที่ได้เป็น 5,5,0,2 ซึ่งมีค่าเป็นบวก ถือว่าคำตอบที่ได้เป็นคำตอบที่ดีที่สุด ดังนั้นคำนวณต้นทุน การขนส่ง ได้ดังนี้ ต้นทุนการขนส่ง = 2(100 ) +1(50)+5(25)+6(45)+3(80)
= 200+50+125+270+240 = 885 และถ้าในทางกลับกันดัชนีพัฒนาคำตอบที่ได้ มีค่าเป็นศูนย์ แสดงว่ามีเส้นทางและปริมาณการขนส่งแบบอื่นที่ก่อให้เกิดต้นทุน การขนส่งเท่ากับต้นทุนการขนส่งต่ำสุด จากตารางมีค่าเป็นลบ 2 ช่อง คือ 25,80 ดังนั้นเลือกค่าที่น้อยที่สุด คือ 25 จึงใส่ที่ช่อง ( 2,3 ) คำนวณต้นทุนการขนส่ง = 2(100)+50(1)+25(2)+70(6)+55(3)
= 885
พบว่าต้นทุนการขนส่งเท่ากัน
เรื่องที่