<%@LANGUAGE="VBSCRIPT" CODEPAGE="874"%> การวิจัยดำเนินการ [ Operation Research ]
บทนำ
CPM/PERT
เกม
กำหนดการเชิงเส้น
ดูอัล
สินค้าคงเหลือ
ระบบแถวคอย
ปัญหาการขนส่ง
เมทริกซ์
 

Course Introduction
Course Syllabus
Lesson
Course Map
Webboard
E-mail
Course Team
 




                          เรื่องที่ 1.5 ชนิดของตัวแบบแทนระบบปัญหา

ชนิดของตัวแบบแทนระบบปัญหา
ตัวแบบแทนระบบปัญหาของการวิจัยดำเนินงานที่สำคัญและใช้กันอย่างแพร่หลาย มีดังต่อไปนี้
          1. ตัวแบบกำหนดการเชิงเส้น (Linear Programming Model)   เป็นตัวแบบแทนระบบปัญหาเกี่ยวกับ
การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และความสัมพันธ์ของตัวแบบต่าง ๆ เป็นแบบเชิงเส้นทั้งสิ้น 
การหาผลลัพธ์ของตัวแปรนี้มีหลายวิธี แต่ที่นิยมใช้กันมากคือ วิธีซิมเพลกซ์
       2. ตัวแบบกำหนดการแบบไม่เป็นเชิงเส้น (Nonlinear Programming Model) เป็นตัวแบบแทนระบบ
ปัญหาที่ความสัมพันธ์ไม่เป็นแบบเชิงเส้น
       3. ตัวแบบกำหนดการพลวัต (Dynamic Programming Model) เป็นตัวแบบแทนระบบปัญหาที่มีการ
ตัดสินใจติดต่อกันเป็นขั้นเป็นตอนหลาย ๆ ขั้นตอน สำหรับปัญหาขนาดใหญ่ที่มีความยุ่งยากซับซ้อน การแตกปัญหาออกเป็น
ขั้นตอนย่อย ๆ แล้วแก้ปัญหาแต่ละขั้นตอนย่อย ๆ นั้นจะง่ายกว่าการแก้ปัญหาขนาดใหญ่ 
       4. ตัวแบบปัญหาการขนส่ง (Transportation Model) เป็นตัวแบบแทนปัญหาการขนส่งทรัพยากร
ระหว่างแหล่งต่างๆ เช่นการจัดส่งสินค้าจากคลังสินค้าไปให้ลูกค้าในสถานที่ต่าง ๆ กัน หรือการขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิต
ไปยังคลังสินค้าต่าง ๆ โดยให้เสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่ำสุด หรือใช้เวลาในการขนส่งน้อยที่สุด โดยที่แต่ละคลังสินค้ารับ
สินค้าได้จำนวนต่าง ๆ กัน
       5. ตัวแบบแถวคอย (Queuing Model) เป็นตัวแบบแทนระบบปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการที่ไม่ต้องการ
ให้ลูกค้าเสียเวลารอคอยนานเกินไป โดยคำนึงถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตัวอย่างกิจการบริการ เช่น ธนาคาร รถเมล์ 
ห้างสรรพสินค้า โรงหนัง ปั๊มน้ำมัน โรงพยาบาล เป็นต้น
       6. ตัวแบบสินค้าคงคลัง (Inventory Model) เป็นตัวแบบแทนระบบปัญหาเกี่ยวกับการหาจำนวนสินค้า
ที่สั่งซื้อหรือผลิตในแต่ละครั้ง โดยมีเป้าหมายคือ ค่าใช้จ่ายรวมต่อปีต้องต่ำสุด ตัวแบบสินค้าคงคลังนี้แบ่งได้เป็น 2 ตัวแบบ
ใหญ่ ๆ คือ
                        ก. กำหนดจำนวนสินค้าที่สั่งซื้อหรือผลิตคงที่ เช่น สั่งซื่อหรือผลิตครั้งละ 1 ชิ้น กรณีนี้ช่วงระยะเวลา
                            ในการสั่งซื่อหรือการผลิตจะแตกต่างกัน
                        ข. กำหนดช่วงระยะเวลาในการสั่งซื้อหรือผลิตคงที่ เช่น กำหนดช่วงเวลาที่ต้องสั่งซื้อหรือผลิตทุก ๆ 6 เดือน
                           กรณีนี้จำนวนที่สั่งซื้อหรือผลิตแต่ละครั้งจะแตกต่างกัน
       7. ตัวแบบการแข่งขัน (Competitive Model) เป็นตัวแบบแทนระบบปัญหาที่ต้องมีการตัดสินใจในการ
ประกอบธุรกิจ เพราะว่าในการทำธุรกิจย่อมต้องมีการแข่งขันกัน จึงมีลักษณะคล้ายเล่นเกมส์ที่ต้องมีฝ่ายตรงข้าม และแต่ละ
ฝ่ายต่าง ๆ ก็มีแผนการที่จะเลือกใช้ต่าง ๆ กัน การหาผลลัพธ์ของตัวแบบนี้จะใช้ทฤษฎีเกม (Game Theory)
       8. ตัวแบบการทดแทนและการบำรุงรักษา (Replacement Maintenance and Reliability 
           Model) เป็นตัวแบบที่แทนระบบปัญหา เช่น ในวงการอุตสาหกรรมหรือในวงการอื่น ๆ ทั่วไป เมื่อมีการใช้เครื่องมือ
 เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่าง ๆ สิ่งขิงเหล่านี้ย่อมมีการชำรุดเสียหายได้ จึงต้องมีการบำรุงรักษา หรือเปลี่ยนของใหม่ทดแทนของ
เก่า เพราะถ้าไม่มีการบำรุงรักษาหรือเปลี่ยนแปลง เครื่องมือต่าง ๆ ก็จะเสียหายหรือมีประสิทธิภาพน้อยลงทำให้การใช้งานได
้ประโยชน์ไม่เต็มที่ จึงต้องมีการกำหนดช่วงเวลาที่เหมะสมเพื่อทำการบำรุงรักษาหรือเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
และมีความมั่นใจในอุปกรณ์เหล่านี้มากที่สุด
       9. ตัวแบบการจำลอง (Simulation Model) เป็นตัวแบบที่สามารถใช้แทนระบบปัญหาต่าง ๆ ได้มากมาย
เช่น ปัญหาแถวคอย ปัญหาการควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นต้น    การวิเคราะห์ตัวแบบการจำลองจะต้องอาศัย   เลขสุ่ม 
(Random Number)  
      10. ตัวแบบข่ายงานรวมทั้งเพอร์ทและซีพีเอ็ม (Network Models Including PERT and CPM)
เป็นตัวแบบที่ใช้ในปัญหาการควบคุมงานที่เป็นโครงการใหญ่ ๆ ให้เสร็จทันตามกำหนดเวลา โดยอาจแบ่งโครงการออกเป็นงาน
ย่อย ๆ แล้วควบคุมแต่ละงานย่อย ซึ่งงานย่อยบางงานถ้าเสรน็จล่าช้ากว่ากำหนดก็อาจจะไม่มีผลทำให้โครงการเสร็จล่าช้ากว่า
กำหนด  แต่งานย่อยบางงานถ้าเสร็จล่าช้ากว่ากำหนดจะมีผลทำให้โครงการเสร็จล้าช้ากว่ากำหนดด้วย  ดังนั้นงานย่อยบางงาน
จึงเสร็จล่าช้ากว่ากำหนดไม่ได้ ผู้ควบคุมจึงต้องเข้มงวดงานย่อยนั้น ๆ วิธีการควบคุมงานให้เสร็จตามกำหนดเวลา จะใช้เทคนิค
เทคนิคทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า PERT (Program Evalution and Review Techniques) ) และ CPM 
(Critical Path Method)
         นอกจากจะใช้ตัวแบบข่ายงานในการควบคุมงานให้เสร็จตามกำหนดเวลาแล้ว ยังสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับ
การวางท่อประปา การตัดถนน การเดินสายไฟฟ้า การเดินสายโทรศัพท์ และอื่น ๆ โดยมีเป้าหมายคือ เสียงบประมาณน้อยที่สุด
เรื่องที่