<%@LANGUAGE="VBSCRIPT" CODEPAGE="874"%> การวิจัยดำเนินการ [ Operation Research ]
บทนำ
CPM/PERT
เกม
กำหนดการเชิงเส้น
ดูอัล
สินค้าคงเหลือ
ระบบแถวคอย
ปัญหาการขนส่ง
เมทริกซ์
 

Course Introduction
Course Syllabus
Lesson
Course Map
Webboard
E-mail
Course Team
 




                                เรื่องที่ 1.6 ขั้นตอนของการวิจัยดำเนินการ

ขั้นตอนของการวิจัยดำเนินการ
              ขั้นตอนที่สำคัญในการดำเนินงานของทีมนักวิจัยดำเนินการ ดังนี้
          1. การกำหนดปัญหา (Definition of the problem) 
              การกำหนดปัญหาโดยวิธีวิจัยการดำเนินงาน ประกอบด้วย 3 ลักษณะที่สำคัญ คือ
                          ก. กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
ข. กำหนดแนวทางเลือกที่เป็นไปได้ของระบบ
ค. กำหนดข้อจำกัด ขอบข่ายและสิ่งต่าง ๆ ของระบบ
2. การสร้างตัวแบบ (Construction of Model) การสร้างตัวแบบแทนระบบปัญหา ตัวแบบที่สร้างขึ้นมาจะขึ้นอยู่กับการกำหนดปัญหาและเป็นแบบเชิงปริมาณ ฟังก์ชันเป้าหมายและข้อจำกัดของปัญหาเขียนอยู่ในรูปตัวแปรตัดสินใจ 3. การหาผลลัพธ์ของตัวแบบ (Solution of the Model) การหาผลลัพธ์ของตัวแบบทางคณิตศาสตร์ จะใช้เทคนิคที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งกำหนดขึ้นมาอย่างดีสำหรับแต่ละตัวแบบ แบบ (Well-defined Optimization Techniques) ถ้าใช้ตัวแบบจำลองหรือตัวแบบฮิวรีสติค ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่เป็น ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด แต่จะเป็นผลลัพธ์โดยประมาณ เมื่อได้ผลลัพธ์เหมาะสมของระบบแล้ว จะต้องคำนึงถึงพฤติกรรมของผลลัพธ์ที่จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อพารามิเตอร์ มิเตอร์ของระบบเปลี่ยนแปลง นั่นคือจะต้องมีการวิเคราะห์ความไว (Sensitivity Analysis) ซึ่งการวิเคราะห์ความไว นี้มีความสำคัญมาก เพราะว่าถ้าพารามิเตอร์ของระบบที่ศึกษาไม่อาจประมาณค่าได้แน่นอน จะต้องหาผลลัพธ์ที่เหมาะสม จากค่าต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง 4. การวิเคราะห์ความถูกต้องของตัวแบบ (Validation of the Model) ตัวแบบที่สร้างขึ้นจะถือว่าเป็นตัวแบบที่ดีและถูกต้อง ถ้าหากให้ผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้สามารถทดสอบได้โดย การเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้ข้อมูลในอดีตกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ ตัวแบบแทนระบบปัญหาจะเป็นตัวแบบ ที่ถูกต้องถ้าภายใต้เงื่อนไขของข้อมูลที่คล้ายคลึงกัน ผลลัพธ์ที่ได้จากตัวแบบเป็นเช่นเดียวกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในอดีต อดีต สำหรับตัวแบบที่สร้างขึ้นจากข้อมูลในอดีต การเปรียบเทียบผลในปัจจุบันกับอดีตมักให้ผลที่น่าพอใจ แต่ก็ไม่มีอะไร ที่จะประกันว่าผลที่เกิดขึ้นในอนาคตจะเป็นเช่นเดียงกับอดีต อย่างไรก็ตามการทดสอบความถูกต้องของตัวแบบดังกล่าวข้างต้น จะไม่เหมาะสมกับปัญหาที่ไม่เคยเกิดมาก่อน เพราะไม่มีข้อมูลใดในอดีตที่จะนำมาเปรียบเทียบได้ ดังนั้น ถ้าปัญหาเดิมเดิมเคยใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์อย่างหนึ่ง หนึ่ง ต่อไปอาจจะสร้างตัวแบบจำลองจากข้อมูลอยู่แล้วเปรียบเทียบผล 5. การนำตัวแบบไปใช้ (Implementation of the Final Result) เมื่อได้ผลลัพธ์ของตัวแบบแล้ว ทีมนักิจัยดำเนินการจะทำการแปลผลที่ได้ให้ผู้ที่นำไปปฏิบัติเข้าใจได้ง่าย และจากการที่นักวิจัยการดำเนินงานและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติไดืช้มีการติดต่อประสานงานระหว่างกันนี้ จะช่วยให้การ นำตัวแบบไปใช้ได้ผลดี เพราะเมื่อมีข้อมูลเกี่ยวกับข้อบกพร่องจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ ทางฝ่ายทีมนักวิจัยดำเนินการ ก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ทันตามความต้องการ
เรื่องที่