<%@LANGUAGE="VBSCRIPT" CODEPAGE="874"%> การวิจัยดำเนินการ [ Operation Research ]
บทนำ
CPM/PERT
เกม
กำหนดการเชิงเส้น
ดูอัล
สินค้าคงเหลือ
ระบบแถวคอย
ปัญหาการขนส่ง
เมทริกซ์
 

Course Introduction
Course Syllabus
Lesson
Course Map
Webboard
E-mail
Course Team
 




               เรื่องที่ 7.3.1 การแจกแจงของการมารับบริการและเวลาให้บริการ

                 การเข้ามารับบริการมีรูปแบบการกระจายแบบปัวซอง  และเวลาให้บริการมีการแจกแจงแบบเอกซ์โพเนนเชียล  
การตั้งสมมุติฐานดังกล่าวพบว่าเป็นจริงในปัญหาการรอคอยที่พบเห็นในชีวิตประจำวันเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพราะว่าโดย
ทั่วไปแล้วการมารับบริการของลูกค้าเป็นไปอย่างสุ่มและเป็นอิสระต่อกัน  กล่าวคือ  การที่ลูกค้าคนต่อไปจะเข้ามารับบริการ
หรือไม่ และเข้ามารับบริการเมื่อเวลาใดจะไม่ขึ้นกับการมารับบริการของลูกค้าคนก่อน  ลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะการแจกแจง
แบบปัวซอง  นั่นคือ  จำนวนลูกค้าที่เข้ามารับบริการต่อหนึ่งหน่วยเวลาจะมีการแจกแจงแบบปัวซอง  การแจกแจงของการ
มารับบริการบางครั้งอาจกำหนดในรูปการแจกแจงของช่วงห่างของเวลาเข้ามารับบริการก็ได้  ช่วงห่างของการมารับบริการ
หมายถึงช่วงเวลาที่ต่างกันระหว่างเวลาที่มารับบริการขิงลูกค้าสองคนติดกัน  เช่น  นาย ก.  มารับบริการ เวลา 9.00 น.  
ต่อมานาย ข.  เข้ามารับบริการเมื่อ 9.05 น.  ช่วงห่างของเวลามารับบริการเท่ากับ 5 นาที  จากทฤษฎีความน่าจะเป็นเรา
ได้ว่า  ถ้าจำนวนลูกค้าที่เข้ามารับบริการแจกแจงแบบบปัวซองแล้วจะได้ว่าช่วงห่างของเวลามารับบริการจะมีการแจกแจง
แบบเอกซ์โพเนนเชียล  ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะการแจกแจงของการมารับบริการและเวลาให้บริการจาก
ข้อมูลที่รวบรวมได้  โดยเปรียบเทียบกับลักษณะการแจกแจงแบบเอกซ์โพเนนเชียล

ตัวอย่างที่ 3
         โรงงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศแห่งหนึ่ง  มีแผนกเบิกจ่ายอะไหล่ให้บริการแก่นายช่างของโรงาน
โดยใช้พนักงาน 1 คน  จากการเก็บข้อมูลที่แผนกเบิกจ่ายอะไหล่ 5 วัน  แต่ละวันจะสุ่มเลือกสังเกต 12 ช่วงเวลา
แต่ละช่วงกินเวลา 5 นาที  ข้อมูลจำนวนนายช่าง (ลูกค้า)  ที่มารับบริการใน 60 ช่วงเวลา  ( 12 * 5 = 60 )
ที่สังเกตแสดงไว้ในตารางที่ 12 – 4  สำหรับการแจกแจงของเวลาให้บริการแก่นายช่างที่สุ่มเลือกมา 80 คน  
แสดงในตารางที่ 12 – 3
เวลาให้บริการ ( นาที )
ค่าเฉลี่ย ( นาที )
จำนวนนายช่าง
ต่ำกว่า 5 นาที
2.5
61
5 – 10
7.5
16
10-15
12.5
1
15-20
17.5
2
รวม
80
                            ตารางที่ 3  จำนวนนายช่างมารับบริการในแต่ละช่วง ( 5 นาที )  ของแต่ละวัน
วันที่
ช่วงเวลาที่
  1    2    3    4    5    6    7    8    9    10    11   12
1
  1    0    1    3         0    2    0    2      0     1      0
2
  0    1    2    0    2    1   0    0    0     1     0      1
3
  1    1    1    0    0    1   0    4    2     0     2      1
4
  0    0    2    0    2    0   1    1    0     0     1       0
5
  3    0    0    1    0    1   0    0    2     0     0      2
                      ข้อมูลจากตารางที่ 3  นำมาสรุปเป็นตารางแจกแจงความถี่  ดังแสดงในตารางที่ 4

                              ตารางที่ 4  ตารางแจกแจงจำนวนนายช่างที่เข้ามารับบริการในช่วง 5 นาที
จำนวนนายช่างที่เข้ามา
รับบริการในช่วง 5 นาที
ความถี่
( จำนวนช่วงเวลา )
0
29
1
18
2
10
3
2
4
1
รวม
60
                      จากตารางที่ 4  คำนวณหาอัตราการเข้ารับบริการในช่วง 5 นาที  ได้ดังนี้
อัตราการเข้ารับบริการ ()  = 
                                          =    =  0.80 คน/ช่วง 5 นาที

                     ค่าคาดหมายของ  x  ซึ่งเป็นจำนวนลูกค้าที่เข้ามารับบริการ โดยสมมุติว่า X  มีการแจกแจงแบบปัวซองมีค่าเฉลี่ย
( )  =  0.80  คำนวณได้จากสูตรดังนี้
                                    ค่าคาดหมายของ   x   =    P ( x ) n1
                                                                     =  
                       โดยที่  n1  =  จำนวนข้อมูลที่สังเกต  ( จำนวนช่วงเวลา 5 นาที )  ดังนั้น  ค่าความถี่ของช่วงเวลาที่ไม่มีคน
เข้ามารับบริการ ( x = 0 )  คำนวณได้ดังนี้
                       จำนวนช่วงเวลาที่ไม่มีคนเข้ามารับบริการ   =   
                                                                                          
                                                                                      =    
                                                                                      
                                                                                      =   26.958
                      ตารางที่ 5   ต่อไปนี้แสดงค่าคาดหมายของจำนวนลูกค้าที่เข้ามารับบริการที่เป็นไปตามการแจกแจงแบบปัวซอง 
โดยมีค่าเฉลี่ย ()  =  0.8

                            ตารางที่ 5 ตารางแสดงค่าคาดหมายตามทฤษฎีของจำนวนลูกค้าที่เข้ามารับบริการ
จำนวนลูกค้าที่เข้ามารับบริการ
( x )
ค่าคาดหมายทางทฤษฎี
( ตามการแจกแจงของปัวซองซึ่งมีค่าเฉลี่ย = 0.8 )
0
1
2
3
4
5
6
7
26.958
21.570
8.628
2.298
0.462
0.072
0.012
0.000
                     นำค่าความถี่ที่ได้จากการสังเกตข้อมูลซึ่งอยู่ในตารางที่ 4 และค่าคาดหมายทางทฤษฎี จากตารางที่ 5 
ไปสร้างเป็นรูปฮิสโตแกรมดังภาพที่ 15
ความถี่
__________ ความถี่จากการสังเกต
- - - - - - - - - - ความถี่จากทฤษฎี
(การแจกแจงบัวซองซึ่งมีค่าเฉลี่ย = 0.8)
จำนวนลูกค้า
                                         ภาพที่ 15 ฮิสโตแกรมแสดงการแจกแจงของจำนวนลูกค้า

                        จากภาพที่ 15 จะพบว่า ค่าความถี่ที่ได้จากทฤษฎีมีค่าใกล้เคียงสอดคล้องกับความถี่ที่ได้จากการสังเกตข้อมูล 
ฉะนั้น เราสรุปได้ว่ารูปแบบการมารับบริการของนายช่างในช่วงเวลา 5 นาที มีการแจกแจงแบบปัวซอง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.8
                       จากตารางที่ 2 คำนวณหาเวลาเฉลี่ยที่ให้บริการนายช่าง 1 คน ได้ดังนี้
เวลาเฉลี่ยที่ให้บริการต่อคน =
= = 4 นาที อัตราการให้บริการต่อนาที = 1 = 0.25 คน/นาที จากทฤษฎีความน่าจะเป็น ฟังก์ชันการแจกแจงของเวลาให้บริการ t ซึ่งมีการแจกแจงแบบเอกซ์โพเนนเชียล มีอัตราการให้บริการต่อหน่วยเวลาเป็น จะเป็นดังน f( t ) = , t >= 0 และความน่าจะเป็นที่เวลาให้บริการจะมีค่าน้อยกว่า t ซึ่งมีค่าน้อยกว่า T จะเป็นดังนี้
F( T ) = ความน่าจะเป็นที่เวลาให้บริการมีค่าน้อยกว่า T =
ดังนั้นความน่าจะเป็นมีเวลาให้บริการจะอยู่ในช่วงเวลา T1 และ T2 คำนวณได้จากสูตรดังนี้
P(T1 <= t <= T2) = ความน่าจะเป็นที่เวลาให้บริการจะอยู่ในช่วงเวลา T1 และ T2
= ความน่าจะเป็นที่เวลาให้บริการมีค่าน้อยกว่า T2 – ความน่าจะเป็นที่เวลาการ ให้บริการมีค่าน้อยกว่า T1 = =
ค่าคาดหมายของ t ในช่วงเวลา T1 และ T2 โดยสมมุติว่าเวลาบริการ t มีการแจกแจงแบบเอกซ์โพเนนเชียล ที่มีอัตราการบริการ ( ) = 0.25 คำนวณได้จากสูตรดังนี้ ค่าคาดหมายของ t ในช่วงเวลา T1 และ T2 = ในที่นี้ n2 = จำนวนข้อมูลที่สังเกต ( จำนวนนายช่าง )
ดังนั้นค่าคาดหมายของจำนวนนายช่างที่ใช้เวลาบริการไม่เกิน 5 นาที คำนวณได้ดังนี้
จำนวนนายช่างที่ใช้เวลาบริการไม่เกิน 5 นาที = = 57.1 คน
ในทำนองเดียวกันจะคำนวณหาค่าคาดหมายของเวลาให้บริการในช่วงเวลาต่างๆได้ดังแสดงในตารางที่ 6 ดังนี้ ตารางที่ 6 ตารางแสดงค่าคาดหมายตามทฤษฎีของเวลาให้บริการในช่วงเวลาต่างๆ
เวลาให้บริการ
( นาที )
ค่าคาดหมายตามทฤษฎี
( จำนวนคน )
ต่ำกว่า 5 นาที
5 – 10
10 – 15
15 – 20
มากกว่า 20 นาที
57.1
16.4
4.7
1.3
0.5
รวม
80
                   ภาพที่ 16 ต่อไปนี้แสดงการเปรียบเทียบการแจกแจงของเวลาให้บริการจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกตในตารางที่ 2
และเวลาให้บริการที่มีการแจกแจงแบบเอกซ์โพเนนเชียลจากตารางที่ 15 ผลจากการเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่าการแจกแจงทั้งสอง
มีรูปลักษณะสอดคล้องกัน ฉะนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า เวลาให้บริการเบิกจ่ายอะไหล่มีการแจกแจงประมาณได้ด้วยการแจกแจง
แบบเอกซ์โพเนนเชียลซึ่งมีอัตราการให้บริการในช่วงเวลา 5 นาที เท่ากับ 1.25 คน ( 5 * 0.25  =  1.25 )










                                                                  ภาพที่ 16 การแจกแจงเวลาให้บริการ

                      จากภาพที่ 16 แสดงให้เห็นว่าถ้าการแจกแจงของเวลาให้บริการมีรูปแบบเป็นแบบเอกซ์โพเนนเชียลแล้วความน่าจะเป็น
ที่เวลาให้บริการเป็นเวลายาวนานจะมีค่าค่อนข้างต่ำ
หมายเหตุ    วัตถุประสงค์ของการแสดงตัวอย่างที่ 3 เพื่อเป็นการยืนยันให้เห็นว่ารูปแบบการแจกแจงแบบปัวซองและ
เอกซ์โพเนนเชียลเป็นรูปแบบการแจกแจงที่พบเห็นได้ในปัญหาการรอคอยในชีวิตประจำวัน  นอกจากนี้ยังแสดงถึงข้อมูล
ที่ได้จากการสังเกตจริงเพื่อแสดงถึงรูปแบบการเข้ารับบริการและเวลาให้บริการและวิธีการเปรียบเทียบอย่างคร่าวๆ ว่าข้อมูล
ที่เก็บรวบรวมมาได้นั้นมีการแจกแจงสอดคล้องกับการแจกแจงที่สมมุติไว้หรือไม่  วัตถุประสงค์ของหัวเรื่องไม่ต้องการ
เน้นวิธีการคำนวณสูตรต่างๆแต่ต้องการให้นักศึกษาเข้าใจหลักการและแนวความคิดเกี่ยวกับลักษณะการกระจายของการ
มารับบริการและเวลาให้บริการเป็นสำคัญ
เรื่องที่