<%@LANGUAGE="VBSCRIPT" CODEPAGE="874"%> การวิจัยดำเนินการ [ Operation Research ]
บทนำ
CPM/PERT
เกม
กำหนดการเชิงเส้น
ดูอัล
สินค้าคงเหลือ
ระบบแถวคอย
ปัญหาการขนส่ง
เมทริกซ์
 

Course Introduction
Course Syllabus
Lesson
Course Map
Webboard
E-mail
Course Team
 




                             เรื่องที่ 9.2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเมทริกซ์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเมทริกซ์
             ชนิดของเมทริกซ์ ในที่นี้จะกล่าวถึง
9.2.1 เมทริกซ์จัตุรัส
9.2.2 เมทริกซ์เอกลักษณ์
9.2.3 เมทริกซ์ศูนย์
9.2.4 เมทริกซ์ทแยงมุม
9.2.5 เมทริกซ์สเกลาร์
9.2.6 เมทริกซ์สลับเปลี่ยน
9.2.1 เมทริกซ์จัตุรัส เป็นเมทริกซ์ที่มีจำนวนแถวและจำนวนสดมภ์เท่ากัน เช่น A = เป็นเมทริกซ์จัตุรัสมิติ 2x2 ที่มีจำนวนแถว 2 แถวและจำนวนสดมภ์ 2 สดมภ์ B = เป็นเมทริกซ์จัตุรัสมิติ 3x3 ที่มีจำนวนแถว 3 แถวและจำนวนสดมภ์ 3 สดมภ์ 9.2.2 เมทริกซ์เอกลักษณ์ เป็นเมทริกซ์จัตุรัสที่สมาชิกในตำแหน่งแถวเท่ากับตำแหน่งสดมภ์จะมีสมาชิกมีค่าเป็น 1 และในทางกลับกันสมาชิก ในตำแหน่งแถวไม่เท่ากับตำแหน่งสดมภ์ จะมีสมาชิกมีค่าเป็น 0 ตัวอย่าง 9.2 เป็นตัวอย่างของเมทริกซ์เอกลักษณ์มิติ 2x2
             เป็นเมทริกซ์เอกลักษณ์มิติ 2x2  ตำแหน่งแถวเท่ากับตำแหน่งสดมภ์ มีสมาชิกในตำแหน่งแถวที่ 1 สดมภ์ที่ 1 
และสมาชิกที่อยู่ตำแหน่งแถวที่ 2 สดมภ์ที่ 2 มีค่าสมาชิกเป็น  1  ตำแหน่งแถวไม่เท่ากับตำแหน่งสดมภ์  สมาชิกที่อยู่
ในตำแหน่งแถวที่ 1 สดมภ์ที่ 2 และ สมาชิกที่อยู่ในตำแหน่งแถวที่ 2  สดมภ์ที่ 1 มีค่าเป็น  0

ตัวอย่าง 9.3  แสดงเมทริกซ์เอกลักษณ์มิติ 3x3
                                                       B  =   

              B เป็นเมทริกซ์เอกลักษณ์มิติ 3x3  ที่มีสมาชิกที่อยู่ในตำแหน่งแถวที่ 1 สดมภ์ที่ 1, ตำแหน่งแถวที่ 2 สดมภ์ที่ 2 
และ ตำแหน่งแถวที่ 3 สดมภ์ที่ 3 เป็น 1 เพราะตำแหน่งแถวเท่ากับตำแหน่งสดมภ์  ที่เหลือของสมาชิกมีค่าเป็น 0
เพราะตำแหน่งแถวไม่เท่ากับตำแหน่งสดมภ์

              ดังนั้นสามารถเขียนสมาชิกของเมทริกซ์เอกลักษณ์เป็นรูปทั่วไปได้ดังนี้
aij =
     , i เท่ากับ j
     , i ไม่เท่ากับ j
             เมื่อ  i    เป็นตำแหน่งแถว และ  j เป็นตำแหน่งสดมภ์
a
ij เป็นสมาชิกของตำแหน่งแถวที่ i และตำแหน่งสดมภ์ที่ j
9.2.3 เมทริกซ์ศูนย์ เป็นเมทริกซ์ที่มีสมาชิกทุกตัวเป็นศูนย์ ตัวอย่าง 9.4 แสดงเมทริกซ์ที่มีสมาชิกเป็นศูนย์ทั้งที่เป็นไม่ใช่เมทริกซ์จัตุรัสและเมทริกซ์จัตุรัส
จะเห็นว่าเมทริกซ์ทางซ้าย ตอนกลาง เป็นเมทริกซ์ที่ไม่ใช่จัตุรัส แต่ที่สมาชิกเป็นศูนย์ ส่วนเมทริกซ์ขวาสุด เป็นเมทริกซ์จัตุรัส ที่มีสมาชิกทุกตัวเป็นศูนย์
9.2.4 เมทริกซ์ทแยงมุม เป็นเมทริกซ์จัตุรัสที่มีสมาชิกที่อยู่เหนือและใต้ทแยงมุมเป็นศูนย์ ตัวอย่าง 9.5 แสดงเมทริกซ์ทแยงมุมที่มีมิติ 2x2, 3x3 ข้อสังเกต สมาชิกที่อยู่ในแนวทแยงมุมมีค่าไม่เท่ากัน แต่สมาชิกที่อยู่เหนือหรือใต้เส้นทแยงมุมเป็นศูนย์
9.2.5 เมทริกซ์สเกลาร์ เป็นเมทริกซ์จัตุรัส ที่มีสมาชิกที่อยู่ในแนวทแยงมุมเท่ากัน และสมาชิกที่อยู่เหนือ, ใต้ทแยงมุมเป็นศูนย์
ตัวอย่าง 9.6 แสดงเมทริกซ์สเกลาร์มิติ 2x2, 3x3 จะเห็นว่าสมาชิกในแนวทแยงมีค่าเท่ากันแต่สมาชิกที่อยู่เหนือทแยงมุมและใต้ทแยงมุมเป็นศูนย์ 9.2.6 เมทริกซ์สลับเปลี่ยน เป็นเมทริกซ์ที่มีสมาชิกที่อยู่ในแนวแถวมาจากสมาชิกในแนวสดมภ์หรือสมาชิกที่อยู่ในแนวสมาชิกที่อยู่ในแนวสดมภ์ เป็นสมาชิกในแนวแถว
ซึ่งมีสัญลักษณ์ เป็น AT หรือ At
ตัวอย่าง 9.7 ให้ A เป็นเมทริกซ์มิติ 2x2 และ B เป็นเมทริกซ์มิติ 2x3 A = , B = 2 x 2 2 x 3 จงหาเมทริกซ์สลับเปลี่ยน AT, BT วิธีทำ AT = , BT = 2 x 2 3 x 2 ข้อสังเกตุ มิติของเมทริกซ์สลับเปลี่ยน จะสลับที่กับมิติของเมทริกซ์เดิม
เรื่องที่